• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

เรื่องของคิม ฟุค

 

 

 

    

 

 

คิม ฟุค  คือเด็กหญิงชาวเวียดนามใต้คนนั้นซึ่งช่างภาพอเมริกันได้ถ่ายไว้ขณะที่เธอและเพื่อนบ้านกำลังแตกตื่นหนีภัย  แม้เธอจะรอดตายจากระเบิดนาปาล์มที่ทิ้งลงหมู่บ้านของเธอแต่ไฟก็ได้เผาลวกผิวหนัง ของเธอถึง 65 เปอร์เซ็นต์  เธอต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง 14 เดือน  และผ่านการผ่าตัดถึง 17 ครั้งกว่าจะหายเป็นปรกติ

เธอยังโชคดีเมื่อเทียบกับลูกพี่ลูกน้องอีก 2 คน  ซึ่งตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหวนั่นคือเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในปี 2515 เมื่อเวียดนามกลายเป็นคอมมิวนิสต์ 3 ปี ต่อมา  ก็ไม่มีข่าวคราวของเธอปรากฏสู่โลกภายนอกอีกเลย

แต่แล้ววันหนึ่งในปี 2539 คิม ฟุคก็ได้มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าชาวอเมริกันซึ่งเคยผ่านสมรภูมิเวียดนามเธอได้รับเชิญให้มาพูดเนื่องในโอกาสวันทหารผ่านศึก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.การได้มาเผชิญหน้ากับกลุ่ม คนซึ่งครั้งหนึ่งเคยมาทำลายบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ  ทำให้ญาติพี่น้องของเธอต้องตาย และเกือบฆ่า เธอให้ตายไปด้วยนั้น  ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำใจได้ง่ายนักแต่เธอมาก็เพื่อจะบอกให้พวกเรารู้ว่าสงครามนั้นได้ก่อความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนอย่างไรบ้าง
หลังจากที่เล่าถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดของเธอแล้ว  เธอก็ได้เผยความในใจว่า  มีเรื่องหนึ่งที่เธออยากจะบอกต่อหน้านักบินที่ทิ้งระเบิดใส่หมู่บ้านของเธอพูดมาถึงตรงนี้ก็มีคนส่งข้อความมาบอกว่า  คนที่เธอต้องการพบกำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมนี้ เธอจึงเผย ความในใจออกมาว่า”ฉันอยากบอกเขาว่า เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้แต่เราควร พยายามทำสิ่งดี ๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

เมื่อเธอบรรยายเสร็จ ลงมาจากเวทีอดีตนักบินที่เกือบฆ่าเธอก็มายืนอยู่เบื้องหน้าเธอเขามิใช่ทหารอีกต่อไปแล้วแต่เป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์แห่งหนึ่งเขาพูดด้วยสีหน้าเจ็บปวดว่า”ผมขอโทษ ผมขอโทษจริงๆ”  คิมเข้าไปโอบกอดเขาแล้วตอบว่า”ไม่เป็นไร ฉันให้อภัยฉันให้อภัย”

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะให้อภัย โดยเฉพาะกับคนที่ทำร้ายเราปางตายคิม ฟุค เล่าว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความทุกข์ทรมานแก่เธอทั้งกายและใจจนเธอเองก็ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไรแต่แล้วเธอก็พบว่าสิ่งที่ทำร้ายเธอจริง ๆ มิใช่ใครที่ไหน หากได้แก่ความเกลียดที่ฝังแน่นในใจเธอนั่นเอง
“ฉันพบว่าการบ่มเพาะความเกลียดเอาไว้สามารถฆ่าฉันได้”
เธอพยายามสวดมนต์และแผ่เมตตาให้ศัตรู และแก่คนที่ก่อความทุกข์ให้เธอแล้วเธอก็พบว่า
“หัวใจฉันมีความอ่อนโยนมากขึ้น เรื่อย ๆเดี๋ยวนี้ฉันสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเกลียด”

เราไม่อาจควบคุมกำกับผู้คนให้ทำดี หรือไม่ทำชั่วกับเราได้  แต่เราสามารถควบคุมกำกับจิตใจของเรา ได้เราไม่อาจเลือกได้ว่ารอบตัวเราต้องมีแต่คนน่ารักพูดจาอ่อนหวานแต่เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำใจ อย่างไรเมื่อประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา คิม ฟุคได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่า”ฉันน่าจะโกรธแต่ฉันเลือกอีกทางหนึ่ง แล้วชีวิตของฉันก็ดีขึ้น”

บทเรียนของ คิม ฟุค คือในเมื่อเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เราจึงไม่ควรปักใจอยู่กับอดีต แต่เราสามารถเรียนรู้จากอดีตเพื่อทำปัจจุบันและอนาคตให้ดีขึ้นได้บทเรียนจากอดีตอย่างหนึ่งที่เธอได้เรียนรู้มา ก็คือ  “การอยู่กับความโกรธ เกลียด และความขมขื่นนั้นทำให้ฉันเห็นคุณค่าของการให้อภัย”

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube