• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2012-11-11 พลานุภาพของสภาวะจิตวิญญาณที่ยากจน

พลานุภาพของสภาวะจิตวิญญาณที่ยากจน

                   เราได้รับฟังบุญลาภ แปด ประการในวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ถ้าเราใช้ความสังเกตเกี่ยวกับ บุญลาภทั้ง 8 พระเยซูเจ้าทรงเริ่มต้นด้วย

          “ผู้มีใจยากจน ย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา” (มัทธิว บทที่ 5 ข้อ 3)

ในบรรดาบุญลาภทั้ง 8 ข้อ ความยากจนมาเป็นอันดับ 1

ทำไมต้องเป็นความยากจน? ทำไมถึงไม่เป็นความเมตตา หรือ ความบริสุทธิ์?

เพราะความยากจนเป็นฤทธิ์กุศลที่สำคัญ

ในคราวที่ คุณแม่เทเรซา แห่ง อาวีลา ได้รับเรียกจากพระเยซูเจ้า ให้ทำการปฏิรูป คณะคาร์แมล หรือ ปฏิรูปวิถีชีวิต ของ ซิสเตอร์คาร์เมไลต์ หรือ ที่เราเรียกกันติดปากในปัจจุบันว่า ชีลับ

พระเยซูเจ้าทรงเน้นฤทธิ์กุศลอันแรก ที่ซิสเตอร์ทุกคนจะต้องถือปฏิบัติ และต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเป็นอันดับแรกคือ “ความยากจน”

เพราะเมื่อสามารถปฏิบัติฤทธิ์กุศลแห่งความยากจนได้แล้ว ฤทธิ์กุศลอื่นๆ จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น ในบุญลาภ 8 ประการ ความยากจนจึงมาอยู่ในอันดับต้นของฤทธิ์กุศลอีก 7 ประการ

และถ้าเราจะมองดูชีวิตของพระเยซูเจ้า เราจะเห็นความยากจน เป็นส่วนสำคัญของชีวิตของพระองค์ตั้งแต่เกิดจนตาย

พระเยซูเจ้าทรงใช้ความยากจนเป็นจุดเริ่มต้นของงานไถ่กู้ของพระองค์

พระองค์ทรงเลือกเกิดจาก บิดามารดา ที่ยากจน ทรงเกิดอย่างยากจน ในถ้ำเลี้ยงสัตว์ โดยมีผ้าผืนเดียวพันกาย เจริญชีวิตอย่างช่างไม้ยากจน ออกเทศนาอย่างยากจน โดยไม่มีที่พักเป็นหลักเป็นแหล่ง ทรงเดินทางไปเรื่อยๆ อาศัยนอนกับชาวบ้าน หรือคนรู้จัก สุดท้ายก็ตายอย่างยากจน โดยมีผ้าพันกายเพียงผืนเดียว

ขออธิบายความหมายของความยากจนอย่างสั้นๆ พอที่จะเข้าใจง่ายๆ คือ ความยากจน ไม่ได้มีความหมายแคบๆ เพียงแค่ ไม่มีเงิน ไม่มีบ้าน ไม่มีทรัพย์สินสมบัติเป็นของตัวเอง แต่ความยากจนในความหมายของพระเยซูเจ้า คือ สภาวะของชีวิตและจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ ชีวิตของผู้ที่ปฏิบัติความยากจนเป็นสภาวะของการปล่อยวางตัวตน จากเกียรติยศ ชื่อเสียง ศักดิ์ศรี เงินทอง ข้าวของ และแม้กระทั่งชีวิตครอบครัว รวมทั้งความผูกพันส่วนบุคคล ความยากจนคือ การมีสภาวะจิตที่ไม่ครอบครอง สิ่งใดเลย ไม่แม้แต่มีความปรารถนาที่จะครอบครอง ความยากจนจะทำให้ผู้นั้น ไม่ยึดตัวตนเป็นที่ตั้ง ไม่ทำตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ดังนั้นคนที่ปฏิบัติความยากจน จะสามารถนบนอบเชื่อฟังได้ง่ายๆ เพราะเขาจะไม่ยึดเอาน้ำใจ หรือ ความอยาก ความปรารถนาของตัวเองเป็นที่ตั้ง พร้อมจะปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ที่เหนือกว่าตน ใครบอกอะไร แนะนำอะไรก็พร้อมที่จะทำ อ่านฟิลิปปี บทที่ 2 ข้อ 5-8

“จงมีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับที่พระคริสตเยซูทรงมีเถิด แม้ว่าพระองค์ทรงมีธรรมชาติพระเจ้า พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่า ศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้น เป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับสภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดุจเรา ทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์ทรงถ่อมพระองค์ลงจนถึงกับทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน”

นั่นคือความหมายแท้ๆของความยากจน

หญิงม่ายยากจนในหนังสือพงษ์กษัตริย์ วันนี้ ยอมปฏิบัติตามคำขอร้องที่เอลียาห์สั่ง นั่นคือความเชื่อฟัง

หญิงม่ายยากจนอีกคนหนึ่งในพระวรสารยอมให้ แม้ 2 เหรียญสุดท้ายที่จะใช้ยังชีพ นั่นคือความเมตตา ความใจกว้าง

จิตวิญญาณที่ยากจน จะเป็นอย่างผู้หญิงทั้ง 2 คนนี้

และที่พระเยซูเจ้าบอกว่า “ยากจริงหนอที่คนมั่งมีจะเข้าสวรรค์” อย่าไปเข้าใจว่าคนมีเงินจะเข้าสวรรค์ไม่ได้ แต่ที่พระเยซูเจ้าต้องการจะบอกก็คือ คนที่มั่งมี หรือมีใจมั่งมี ยึดเกาะอยู่กับทรัพย์สมบัติเกียรติยศชื่อเสียง จะปฏิบัติบทบัญญัติในข้ออื่นๆ ให้ครบสมบูรณ์ได้ยากยิ่ง และการไม่ปฏิบัติ หรือ ไม่สามารถปฏิบัติบทบัญญัติอื่นๆได้อย่างครบถ้วนนั่นแหละ คือ อุปสรรคของการเข้าสวรรค์ ไม่ใช่เพราะเงิน หรือ ทรัพย์สมบัติที่ตนมี เป็นต้นเหตุ เวลาที่คนคนหนึ่งไม่สามารถปล่อยวาง เงินทอง ทรัพย์สมบัติที่ตนมี เขาก็จะปล่อยวางสิ่งอื่นๆได้ยาก

สวัสดี…พ่อสานิจ

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube