• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2013-03-10 ไม่มีใครดีกว่ากัน

 

ไม่มีใครดีกว่ากัน

 

                   เรามักจะเรียกลูกคนเล็กในพระวรสารของนักบุญลูกาวันนี้ว่า “ลูกล้างผลาญ” เพราะเขา “ผลาญทรัพย์สมบัติของพ่อจนหมด” ตามคำกล่าวของลูกชายคนโต

          ลูกคนเล็ก ด้วยความมีอายุยังน้อย รักสนุก อยากเป็นอิสระ อ่อนด้อยทางความคิดและด้วยอีกหลายๆเหตุผล ได้ขอแบ่งสมบัติจากพ่อในส่วนที่เป็นของตนเอง ตามความจริง “สมบัติส่วนที่เป็นของตัว” นั้นลูกคนเล็กมีสิทธิ์จะรับได้อย่างถูกต้องก็ต่อเมื่อ บิดาเสียชีวิตลงแล้วเท่านั้น แต่การทวงสมบัติส่วนของตัวขณะที่บิดายังคงมีชีวิตอยู่แสดงถึงท่าทีอันเลวร้ายของลูกคนเล็กที่มีต่อบิดาในทำนองว่า “เมื่อไรจะตายเสียทีฉันจะได้เอาสมบัติส่วนของฉัน” ดังนั้นการทวงขอสมบัติขณะที่บิดายังปกติดี ก็เหมือนกับเป็นการ แช่งบิดาให้ตายเร็วๆ นี่เป็นความเลวร้ายอันแรกในตัวของลูกคนเล็ก จากนั้นการออกไปแล้วใช้ชีวิตเสเพล เหลวไหล ผลาญเงินผลาญทองจนหมดสิ้นก็ไม่ต้องอธิบาย เพราะถือเป็นความเลวร้ายที่เรารับรู้ รับทราบกันเป็นความชั่วความเลวที่ปรากฏชัด

          แต่สิ่งที่เป็นจุดที่ดีของลูกคนเล็กก็คือ “การสำนึกรู้ตัว และขอโอกาสเปลี่ยนแปลงชีวิต”

          ส่วนลูกคนโต ดูเหมือนเป็นลูกที่ดี อยู่กับบ้านทำงานรับใช้บิดาอย่างซื่อสัตย์ แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่ดีอย่างที่ปรากฏ เพราะเมื่อน้องคนเล็กกลับมาและบิดาจัดงานต้อนรับอย่างใหญ่โต

o  บุตรคนโตก็โกรธ

o  ไม่ยอมเข้าบ้าน

มิหนำซ้ำคำพูดที่ออกมาจากปาก บ่งบอกให้เราได้รับรู้ถึงสิ่งที่อยู่ภายใน “ลูกรับใช้พ่อมานานหลายปีแล้ว ไม่เคยฝ่าฝืนคำสั่งของพ่อเลย พ่อก็ไม่เคยให้ลูกแพะแม้แต่ตัวเดียวแก่ลูกเพื่อเลี้ยงฉลองกับเพื่อนๆ”

          ทำงานหวังผลประโยชน์ตอบแทนชัดๆ ไม่ได้ทำงานเพราะความรักภักดีต่อบิดา

          เราทำงานรับใช้พระเป็นเจ้า ในพระศาสนจักรเราหวังอะไรจากพระเป็นเจ้าในทำนองนี้บ้างไหม? อยากให้พระเป็นเจ้าอวยพรให้เราร่ำรวยขึ้น? อยากจะประสบผลสำเร็จในเรื่องนู้นเรื่องนี้? อยากให้ใครต่อใคร นับหน้าถือตาเราอยากให้เขาชมว่าเราเป็นคนดี คนสำคัญ? ฯลฯ

          แต่ที่ร้ายที่สุด คือ ฟังจากประโยคนี้ “แต่พอลูกคนนี้ของพ่อกลับมา” ย้ำ ลูกคนนี้ของพ่อสำเนียงพูด คือ ไม่ยอมรับว่าลูกคนนี้คือ น้องของตัวเองที่มีสายเลือดเดียวกัน เป็นพี่เป็นน้องคลานตามกันมา แต่เป็นเพียงลูกของพ่อ เท่านั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับฉัน

          แต่เหตุผลเบื้องหลังที่น่าจะเป็นไปได้ ที่บิดารักลูกคนเล็กมากกว่าตัวพี่ชาย ก็เพราะบิดาคงจะตามใจลูกคนเล็กมากกว่าพี่ชาย ความอิจฉาจึงคุกรุ่นอยู่ภายใน ความอิจฉาพัฒนากลายเป็นความเกลียดชังซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใน

          ในพระศาสนจักร มีกรณีอย่างนี้อยู่อย่างไม่ต้องสงสัย

          สรุปแล้วทั้งลูกคนเล็ก ลูกคนโต ทำให้พ่อไม่สบายใจ ทั้ง 2 คน ทั้งลูกคนเล็กและลูกคนโตต้องการการกลับใจและเปลี่ยนแปลงชีวิตเท่าๆกัน

          และคงต้องพูดอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจเลยว่า ในพระศาสนจักร ไม่มีใครดีกว่าใคร ทุกคนต้องกลับใจเหมือนๆกันหมด เพราะฐานะที่แท้จริงของเราแต่ละคนต่อหน้าพระเป็นเจ้าก็คือ “คนบาป” ดังนั้นเราไม่มีสิทธิว่ากล่าวประณามว่า คนนี้เลว คนนั้นชั่ว และแม้ความเลวความชั่วปรากฏออกมาอย่างชัดเจนก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่า เรามีสิทธิ์ตัดสินความเลว ความชั่ว ที่ปรากฏนั้น สิทธิ์อันเดียวที่เราต้องมีคือ ความสงสารและความเห็นอกเห็นใจ ความพยายามที่จะต้องช่วย พี่น้องในพระคริสตเจ้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเอง และจะต้องเป็นการช่วยแบบพี่แบบน้อง จริงๆเพราะศีลล้างบาปทำให้เราทุกคนมีสายเลือดของพระคริสตเจ้าอยู่ในตัวเหมือนๆกัน

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube