…สวัสดีครับสัปดาห์ละครั้ง…
สัปดาห์นี้ขอพูดเรื่องใกล้ตัวเห็นๆกันอยู่สักหน่อยนั่นคืออยากจะพูดเรื่องการปรับปรุงซ่อมอาสนวิหารของเราเชื่อว่าหลายท่านคงอยากจะทราบว่าทำอะไรกันบ้างผมจึงพยายามหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์จากหลายๆท่านทำให้ได้ข้อมูลมาพอสมควร
ประการแรก สาเหตุที่ต้องทำการบูรณะซ่อมแซมก็เพราะตัวอาคารมีการชำรุดทรุดโทรมหลายแห่งทั้งหลังคาผนังสีระบบไฟระบบเสียงฯลฯเนื่องจากเป็นอาคารเก่าแก่และประกอบกับจะมีอายุครบ100 ปีในปี2019 คืออีก6 ปีข้างหน้า(นับจากวันเสกคือ15 สิงหาคมค.ศ. 1919) อัครสังฆมณฑลฯจึงเห็นสมควรให้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่
ประการที่2 ทำอะไรบ้าง?เป็นอีกคำถามหนึ่งที่เชื่อว่าทุกคนอยากทราบจากข้อมูลที่ได้มาทราบว่ามีทั้งการบูรณะซ่อมแซมของเดิมและการปรับปรุงเพิ่มเติมของใหม่จึงขออธิบายดังนี้
ก. การบูรณะซ่อมแซมคือการซ่อมแซมหลังคาที่มีรอยแตกร้าวเปลี่ยนกระเบื้องบางส่วนมีการซ่อมรอยรั่วซึมของน้ำฝนเนื่องจากมีรอยร้าวรอยชำรุดของรางน้ำบางส่วนทำสีของตัวอาคารทั้งหมดรวมทั้งซ่อมแซมอิฐผนังด้านนอกที่ชำรุดผุกร่อนปรับขอบวงกบของหน้าต่างกระจกสีชั้นบนเพื่อความแข็งแรงปิดทองทำสีลวดลายของเสาผนังรวมทั้งเพดานซึ่งเป็นงานศิลป์ที่ต้องอาศัยช่างฝีมือ
ข. การปรับปรุงต่อเติมที่ทราบมาก็มีการปรับปรุงชั้นใต้พระแท่นซึ่งเป็นที่บรรจุศพของพระสังฆราชพระสงฆ์และบราเดอร์บางท่านให้เป็นวัดน้อยสามารถประกอบพิธีมิสซาได้ด้วยการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดและติดแอร์คอนดิชั่นพร้อมทั้งทำระบบกันน้ำท่วมซึ่งในอนาคตอาจจะใช้เป็นวัดน้อยสำหรับพิธีมิสซาวันธรรมดาก็ได้
จะมีการเปลี่ยนหน้าต่างชั้นล่างทั้งหมดเป็นกระจกสีรูปเรื่องราวต่างๆในพระคัมภีร์เช่นเดียวกับชั้นบน
บริเวณพระแท่นและที่นั่งของพระสงฆ์จะกระทำใหม่ทั้งหมดรวมทั้งพระแท่นและที่นั่งของพระสังฆราชพระสงฆ์ที่อ่านพระวาจาฯลฯ
ระบบแสงและเสียงมีการติดตั้งใหม่ทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพและความสวยงามเข้ากับตัวอาคาร
บริเวณชั้น2 จะทำการปรับปรุงที่นั่งให้เหมาะสมสำหรับการร่วมพิธีของสัตบุรุษที่บางครั้งอาจจะต้องใช้งานด้วยรวมทั้งที่นั่งของนักขับร้องด้านชั้นบนของวัด
อีกสิ่งหนึ่งที่จะเพิ่มเติมก็คือจะติดแอร์คอนดิชั่นภายในวัดทั้งหมดเพื่อความสงบและร่วมพิธีได้อย่างมีสมาธิยิ่งขึ้น
จะมีระฆัง12 ใบที่สามารถตีเป็นเพลงได้เหมือนกับวัดหลายๆแห่งในต่างประเทศโดยจะติดตั้งไว้บนหอของตัววัด
นี่เป็นข้อมูลที่ผมได้มาจึงนำมาบอกต่อและถ้ามีอะไรเพิ่มเติมจะพยายามนำมาบอกให้อีกแน่นอนว่าเมื่อเราได้รู้ข้อมูลส่วนหนึ่งแล้วก็จะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมต้องใช้เวลาบูรณะซ่อมแซมนานเกือบ3 ปีเพราะต้องถือว่าเป็นงานศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากจึงต้องใช้เวลาพอสมควร
ประการที่3 หลายคนคงอยากทราบว่าใช้งบประมาณเท่าไหร่ข้อมูลที่ได้ยังไม่แน่นอนเพราะเมื่อทำการบูรณะซ่อมแซมก็จะมีเรื่องที่จะต้องเข้ามาเพิ่มเติมอยู่เสมอเนื่องจากมีบางอย่างที่อยู่เหนือการคาดเดาถ้าจะให้บอกก็บอกได้กว้างๆว่าคงจะเป็นสิบล้านอยู่เหมือนกันอัครสังฆมณฑลฯเห็นคุณค่าและถือว่าอาสนวิหารอัสสัมชัญเป็นมรดกล้ำค่าของเราและที่สำคัญที่สุดคือเป็นวิหารของพระเจ้าที่พวกเราทุกคนต้องหวงแหนและร่วมกันดูแลให้ดี
ผมเชื่อว่าต่อไปทางอัครสังฆมณฑลฯคงจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะเพื่อเราจะร่วมแรงร่วมใจกันในการทำให้ทุกอย่างสำเร็จด้วยดีและที่สำคัญที่ลืมไม่ได้ก็คือเราจะต้องทำการบูรณะซ่อมแซม“วัดในตัวเรา”คือชีวิตจิตใจของเราให้สวยสดงดงามเป็นลูกที่ดีของพระตลอดไปด้วยเช่นกัน… สวัสดีครับ