• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2013-08-18 ชีวิตที่ทำให้ผู้อื่นมีความสุข

ชีวิตที่ทำให้ผู้อื่นมีความสุข

 

                        “เมื่อฉันได้ยินคำทักทายของเธอ ลูกในครรภ์ของฉันก็ดิ้นด้วยความยินดี”

   เป็นข้อความจากพระวรสารนักบุญลูกาวันนี้เป็นคำพูดของนางเอลีซาเบธ เมื่อได้ยินคำทักทายของแม่พระ

การเสด็จเยี่ยมท่านเอลีซาเบธ ของแม่พระเป็นกิจการที่ถือว่าเป็นธรรมชาติที่สุด ของบุคคลที่มีพระเยซูเจ้าประทับอยู่ในชีวิต

พระแม่มารีย์เป็นบุคคลที่พร้อมรับน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าตลอดชีวิตของพระแม่ ไม่ว่าพระจะสั่งให้พระแม่ทำอะไร พระนางพร้อมที่จะทำทุกอย่าง แม้กระทั่งทำสิ่งที่ขัดต่อความตั้งใจของพระนางเองในการที่จะเป็นพรหมจารีรับใช้พระเจ้าตลอดชีวิตของพระนาง

พระนางมารีย์พร้อมที่จะให้น้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าขัดหรือตัดน้ำใจของพระนางเอง (†)

เมื่อพระนางยอมปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า และพระวาจาของพระเจ้า พระวจนาตถ์ก็ทรงรับเอากาย (Verbum Caro Factum Est) หรือทรงรับสภาพมนุษย์ในตัวของพระนาง

พระวจนาตถ์พระบุคคลที่ 2 ในพระตรีเอกภาพเสด็จลงมาประทับอยู่ในตัวของแม่พระทันทีที่พระนางรับที่จะปฏิบัติตามพระวาจาและพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า

เกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า ที่เรารับศีลมหาสนิทอยู่ทุกวัน หรือ เกือบทุกวัน พระเยซูเจ้าได้สถิตประทับในตัวของเราจริงๆหรือไม่?

มีตัวบ่งชี้อะไรบ้างว่าพระเยซูเจ้าได้ประทับอยู่ในชีวิตของเราจริงๆ?

สำหรับแม่พระตัวบ่งชี้ชัดเจนมาก

ทันทีที่แม่พระยอมรับปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า พระวจนาตถ์พระบุคคลที่ 2 ได้เสด็จมาสถิตประทับในตัวของพระนางในทันที ไม่ใช่เฉพาะพระบุคคลที่ 2 เท่านั้น แด่พระบิดา และพระจิตก็เสด็จมาประทับอยู่ในตัวของพระนางด้วย ดังนั้น

“พระนางมารีย์จึงเปี่ยมด้วยพระหรรษทาน”

พระหรรษทานคือ ชีวิตพระ พระหรรษทานไม่ใช่พร หรือ น้ำทิพย์ที่ถูกเทลงมาจากสวรรค์ เมื่อเราขอ แต่พระหรรษทานคือชีวิตพระ ที่สถิตประทับอยู่ในตัวของคนๆหนึ่ง เมื่อคนคนนั้น ยอมปฏิบัติตามพระประสงค์และพระวาจาของพระเป็นเจ้า และสิ่งนี้ก็พิสูจน์ คำพูดที่พระเยซูเจ้ากล่าวไว้ในพระวรสารยอห์นบทที่ 14 ข้อ 23

“ผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะปฏิบัติตามวาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จพร้อมกับเรามาหาเขา จะทรงพำนักอยู่กับเขา” (ยอห์น 14:23)

เมื่อพระอยู่ในตัวของใครคนใดคนหนึ่ง ความรักก็เต็มเปี่ยมอยู่ในตัวของผู้นั้น เพราะพระเป็นเจ้าคือองค์ความรัก

ความรักนี้จะผลักดันให้ผู้นั้นไม่อยู่นิ่งเฉย แต่จะต้องปฏิบัติกิจการแห่งความรัก โดยธรรมชาติ

ดังนั้นพระวรสารวันนี้ “พระนางมารีย์ทรงรีบออกเดินทางไปยังเมืองหนึ่ง……เข้าไปในบ้านของเศคาริยาห์และทรงทักทายนางเอลีซาเบธ”

แม่พระถูกผลักดันด้วยองค์ความรักที่อยู่ในตัวของพระนาง ทำให้พระนางต้องรีบออกไปพบญาติผู้ใหญ่

กิจการด้านสังคมสงเคราะห์ กิจการด้านศาสนสัมพันธ์ หรือ คริสตศาสนจักรสัมพันธ์ รวมทั้งงานเมตตากิจอื่นๆ ที่ตัวผู้ปฏิบัติต้องออกไป จะต้องอยู่บนพื้นฐาน แบบฉบับชีวิตของแม่พระผู้มีพระเจ้าประทับอยู่ในชีวิตของพระนางอย่างเต็มเปี่ยม จึงจะทำให้งานเหล่านั้น เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นงานที่เกิดจากการต้องสร้างต้องวางแผนขึ้นมา

งานเมตตากิจต้องเป็นธรรมชาติของการสถิตประทับอยู่ขององค์พระเจ้าในชีวิต

การเสด็จเยี่ยมของแม่พระ คือ ภาพอีกภาพหนึ่งของ BEC มันเป็นธรรมชาติเช่นเดียวกัน

การเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้าน การไปหาเพื่อนบ้าน การไปรวมตัวกับเพื่อนบ้าน ต้องเริ่มต้นจากพื้นฐานของการสถิตประทับของพระเจ้าในบุคคลผู้นั้น จึงจะเป็นธรรมชาติ

แต่ก็อีกนั่นแหละ บุคคลผู้นั้นต้องพร้อมปฏิบัติพระวาจา พร้อมที่จะนอบน้อมต่อพระวาจา หรือ พร้อมที่จะดำเนินชีวิตไม้กางเขน † เช่นแม่พระ

สุดท้ายจากการประทับอยู่ของพระเจ้าในคนคนนั้น และ เมื่อคนๆนั้นไปพบใคร หรือ ผู้ใด สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็จะคล้ายๆกับสิ่งที่เกิดกับครอบครัวของท่าน เศคาริยาห์ เอลีซาเบธ และลูกน้อยยอห์นที่อยู่ในครรภ์ของเอลีซาเบธ

“ทุกคนเปี่ยมไปด้วยความยินดี”

ยินดีที่พระนางมารีย์พาพระเยซูเจ้าไปหาพวกเขา ให้พวกเขาได้พบได้สัมผัสพระองค์ผ่านทางชีวิตของพระนาง และนี่คือความหมายแท้ๆของสิ่งที่เราเรียกว่า งานแพร่ธรรม งานแพร่ธรรมคืองานที่จะต้องทำให้ผู้อื่นสัมผัสกับชีวิตของพระเยซูเจ้าในตัวของผู้แพร่ธรรม

การ “ฟื้นฟูชีวิตการเป็นศิษย์พระคริสต์” เป็นกระบวนการดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของแม่พระและแบบอย่างของแม่พระคือ แบบอย่างแห่งความนอบน้อมเชื่อฟัง หรือ ชีวิตแห่งไม้กางเขน ซึ่งชีวิตแห่งไม้กางเขนก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจาก ชีวิตแห่งความนอบน้อมเชื่อฟัง นั่นเอง

และเพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างนี้ก็จะต้องมีการกลับใจ และจะต้องเป็นการกลับใจอย่างต่อเนื่อง และการกลับใจอย่างต่อเนื่องก็คือ การมุ่งดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงตัวเองมุ่งเชื่อฟังนอบน้อม ต่อพระวาจาและคำสอนของพระเป็นเจ้าอย่างไม่หยุดยั้งและ เป็นการนอบน้อมเชื่อฟังต่อพระวาจาในทุกตัวอักษร โดยไม่ให้ขาดไป แม้แต่ตัวอักษรหรือขีดเดียว

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube