• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2013-10-13 สำนึก

สวัสดีครับ

สัปดาห์ละครั้ง อาทิตย์ที่ 13 ต.ค. 2013

“สำนึก”เป็นคำที่มีความหมายมากกว่าคำว่า“รู้สึก”หรือบางครั้งเราอาจได้ยินคำว่า“รู้สำนึก”ซึ่งหมายถึงท่าทีของบุคคลที่“คิดได้”ด้วยจิตของตนพร้อมทั้งยอมรับในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตามเช่นสำนึกในพระคุณของผู้ที่มีบุญคุณกับตนคือรับทราบและรู้ว่าตนได้รับความช่วยเหลือได้รับความรักและเมตตาจากผู้อื่น… พร้อมทั้งมีใจที่อยากจะทดแทนคุณนั้นด้วย

หรือบางครั้งก็“รู้สำนึก”ในความผิดพลาดจากการกระทำของตนที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือทำความเสียหายให้แก่ผู้อื่นและยอมรับในบทลงโทษที่ตามมาและตั้งใจด้วยใจจริงที่จะแก้ไขข้อบกพร่องหรือความผิดนั้น

การรู้สำนึกเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องแท้จริงในการแก้ไขปรับเปลี่ยนชีวิตของตนเองให้พ้นจากความผิดพลาดบกพร่องต่างๆเหมือนกับคนป่วยที่ต้องการจะรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยของตนเองประการแรกต้องรู้และยอมรับเสียก่อนว่าตัวเองป่วยพร้อมทั้งตั้งใจที่จะรับการรักษาจากคุณหมอให้หายจากอาการเจ็บป่วยนั้นและสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ตามมาก็คือต้องร่วมมือกับคุณหมอในการรักษาคือต้องบอกอาการเจ็บป่วยของตนอย่างละเอียดเพื่อคุณหมอจะวินิจฉัยโรคและทำการรักษาได้อย่างถูกต้องให้เกิดผลดีที่สุด… นอกนั้นยังต้องปฏิบัติตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัดด้วย… และเมื่อหายจากโรคภัยไข้เจ็บแล้วเขาก็จะมีความรู้สึกที่ดีกับคุณหมอรู้สึกขอบคุณที่คุณหมอช่วยรักษาเขาถึงแม้เขาจะต้องจ่ายค่ารักษาด้วยก็ตาม

ปัจจุบันคนเราขาด“จิตสำนึก”คือไม่ค่อยจะคิดถึงความถูก-ผิดดี-ไม่ดีต่างคนต่างคิดต่างทำเพื่อตัวเอง(และพวกของตัว)เป็นหลักไม่ค่อยจะรู้บุญรู้คุณกันมากนักตัวอย่างเช่นเด็กนักเรียนสมัยนี้มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สู้จะคิดถึงพระคุณของครูบาอาจารย์แม้จะมีพิธีไหว้ครูกับทุกปีก็ตามมองครูเป็นเพียงเรือจ้างจริงๆคือถือว่าฉัน(พ่อ-แม่)จ่ายค่าเรียนค่าสอนไปแล้วก็จบเหมือนการไปช้อปปิ้งซื้อของมาจ่ายเงินไปไม่เห็นจะต้องมีบุญคุณอะไรกันกับคนขายเลย…

จากความรู้สึกนึกคิดทำนองนี้จึงทำให้มีคำถามว่า“ทำไม่เป็นอย่างนี้”ถ้าจะให้ผมตอบก็น่าจะมาจากสภาพของสังคมที่จิตนิยมถูกแทนด้วยวัตถุนิยมจนขาดสมดุลหลายครั้งครูบาอาจารย์สมัยนี้ก็เปลี่ยนไปเห็นแก่เงินแก่ได้จนรู้ได้ด้วยพฤติกรรมที่แสดงออกหรือเด็กนักเรียนและผู้ปกครองก็ตีค่าของการเรียนการสอนเพียงแค่การซื้อขายสินค้าอย่างไรก็ดีความสำนึกในบุญคุณการรู้จักตอบแทนพระคุณยังมีคุณค่าเสมอสำหรับชีวิตความเป็นมนุษย์ของเราและจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป… สวัสดีครับ.

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube