• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2013-10-20 ความเข้าใจแบบเพี้ยนๆเรื่องการภาวนา

ความเข้าใจแบบเพี้ยนๆเรื่องการภาวนา

 

          “….จำเป็นต้องอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย” ประโยคนี้น่าจะเป็นประโยคสำคัญสำหรับการพินิจรำพึงของเราในวันนี้

          “จำเป็นต้องอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย” ด้วยประโยคดังกล่าวหลายคนก็ใช้เวลาหลายๆชั่วโมงในวัด และ “ท่องบ่น” บทสวดที่จำได้ซ้ำไปซ้ำมาเหมือนนกแก้ว และเป็นต้นคำภาวนาเหล่านั้นมีจุดประสงค์มุ่งเพียงอย่างเดียวคือ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ

          การภาวนาจริงๆแล้ว เป็นอะไร? และการอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย จริงๆแล้วคืออะไร?

          ความหมายแท้ๆของการภาวนาก็คือ กระบวนการเชื่อมต่อจิตวิญญาณของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับจิตวิญญาณของพระเจ้า

          การภาวนาคือการทำให้ จิตวิญญาณ 2 ดวง เกิดการสัมผัสประสานจนเป็นหนึ่งเดียวกัน พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การภาวนาเปรียบเหมือนการนำสายไฟของพัดลมเสียบเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าซึ่งได้แก่ ปลั๊กไฟ เพื่อรับพลังงานจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ทำให้พัดลมหมุนไปมาให้ความเย็นได้

          การภาวนาจึงเป็นกระบวนการทางจิตล้วนๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับ เสียงที่ออกมาจากลำคอแม้แต่น้อย เสียงจากลำคอ อาจจะเข้ามามีบทบาทในการสวดภาวนาบ้าง แต่มีความสำคัญเพียงแค่น้อยนิดเดียว หัวใจของการภาวนา คือ การเชื่อมต่อของจิตวิญญาณ 2 ดวง ให้แนบสนิทเป็นหนึ่งเดียวกัน

          ประการที่ 2 ที่สำคัญ และต้องทำความเข้าใจให้ได้ก็คือ จิตวิญญาณทั้ง 2 ดวงนั้นได้แก่จิตวิญญาณของตัวเราเอง และจิตวิญญาณของพระเป็นเจ้า ซึ่งจิตวิญญาณของพระเป็นเจ้าก็ไม่ใช่จิตวิญญาณที่อยู่ภายนอกตัวเรา หรือ อยู่ที่ใดที่หนึ่งที่สูงๆแต่ จิตวิญญาณของพระเจ้าเป็นจิตวิญญาณที่สถิตประทับอยู่ในชีวิตของเรา

          สำหรับเราพระเป็นเจ้าไม่ใช่เอเลี่ยน (Alien) หรือ มนุษย์ต่างดาว ที่อยู่นอกตัวเราพระองค์ประทับอยู่ในชีวิตและในตัวเรา ดังนั้นการคุกเข่าหรือนั่งพนมมือ แต้ ตามองดูท้องฟ้า จึงเป็นภาพที่น่าขำเป็นอย่างยิ่ง

          พระเป็นเจ้าประทับอยู่ในตัวเราจึงไม่จำเป็นต้องไปเสาะแสวงหาพระองค์จากที่อื่น หรือ ต้องเฉพาะเจาะจงในวัด พระองค์อยู่ในเราและในทุกที่ในจักรวาล เพียงแต่เราต้องพยายามเชื่อมโยงจิตวิญญาณของเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับจิตวิญญาณของพระเป็นเจ้าให้ได้

เชื่อมจิต 2 จิตให้เป็นหนึ่งเดียวทำไม? ก็เพื่อให้จิตทั้ง 2 ประสานสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่จิตทั้ง 2 ยังไม่ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน การภาวนาก็ไม่เกิดผล

เราจะเห็นความหมายในการประสานสัมพันธ์จิต 2 จิตเข้าด้วยกัน ในการภาวนาของพระเยซูเจ้าในสวนเกทเสมนี ในมัทธิว บทที่ 26 ข้อ 36 ถึง 46 ซึ่งเป็นตัวอย่างของ การอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอ โดยไม่ย่อท้อ จนในที่สุดทั้ง 2 จิตรวมหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างลงตัว

ในสวนเกทเสมนีนั้น พระเยซูทรงลุกเข้าออกถึง 3 ครั้ง และทรงสวดภาวนาด้วยคำพูดเดียวกัน ถึง 3 ครั้ง “พระบิดาเจ้าข้า ถ้าเป็นไปได้ ขอให้ถ้วยนี้พ้นข้าพเจ้าไปเถิด ถ้าเป็นไปไม่ได้ ก็ขออย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด” เป็นการพยายามรวมจิตของพระองค์ กับจิตของพระบิดาให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะในขณะนั้นจิตของพระเยซูเจ้าในส่วนที่เป็นมนุษย์ กำลังขัดสู้และต่อสู้กับจิตของพระบิดาอย่างรุนแรง ในลักษณะที่ไม่อยากน้อมรับสิ่งที่พระบิดาทรงกำหนด ดังนั้นจึงมีประโยค 2 ประโยคเกิดขึ้นในบทภาวนานั้นคือ “ถ้าเป็นไปได้ และถ้าเป็นไปไม่ได้” สุดท้าย การขัดสู้นั้นก็จบลงด้วยการที่ พระเยซูเจ้าตัดใจ (†) ยอมต่อพระบิดา และนี่คือสัมฤทธิ์ผลของการภาวนา จิตของมนุษย์ยอมต่อจิตของพระเจ้า

ดังนั้น การอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย จึงไม่ได้แปลว่าสวดเพื่อให้พระเป็นเจ้าฟังเรา แต่ต้องสวดเพื่อให้เรารู้จักฟังและยอมพระเป็นเจ้า พระเยซูทรงยอมต่อพระบิดา และ แผนงานไถ่กู้ก็จึงสามารถเดินหน้าต่อไปได้ การสวดภาวนาก็คือ กระบวนการฟังพระเป็นเจ้าและยอมปฏิบัติตามสิ่งที่พระเป็นเจ้าต้องการ ไม่ใช่ให้พระฟังเราและให้พระยอมตามที่เราต้องการ

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube