• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2013-11-24 ฉบับที่่ 48

สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล

ถ้าเราต้องบรรยายว่าพระเยซูคริสตเจ้าหมายถึงอะไรสำหรับคริสตชน เราคงจะทำได้ด้วยการใช้คำที่คุ้นเคยกับที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็น “ผู้นำ” ของประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นฐานะทรงเป็น “เจ้าแผ่นดิน” “จอมทัพ” หรือ “องค์พระประมุข” ในพระคัมภีร์บรรยายถึงพระเยซูเจ้าในฐานะที่เป็นกษัตริย์เป็นบุคคลเดียวกันในพระคัมภีร์ ชาวฮีบรูรู้เรื่องของกษัตริย์ซาโลมอน การอุทิศตนแบบวีรชนและความกล้าหาญของ “บิดาผู้ก่อตั้ง” คือกษัตริย์ดาวิด และความยิ่งใหญ่และอำนาจของกษัตริย์แห่งอียิปต์และบาบิโลน ดังนั้นพวกเขาจึงได้ใช้ภาพพจน์ที่คุ้นเคยเหล่านี้เพื่อบรรยายถึงความสัมพันธ์ของพระเยซูเจ้ากับประชากร “ที่พระองค์ได้ทรงพลีชีวิตของพระองค์เพื่อพวกเรา” (ฮบ 13:12)

            นักบุญเปาโลสอนว่า การปกครองของพระเยซูเจ้าในฐานะกษัตริย์ที่เริ่มขึ้นพร้อมกับการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระองค์จะคงอยู่ต่อไปจนถึงการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระองค์ในวันนั้น พระองค์จะทรงมอบอาณาจักรแด่พระบิดา เวลานี้พระเจ้าทรงปฏิบัติต่อโลก โดยผ่านทางพระเยซูคริสตเจ้าพระเจ้าของเราในวาระสุดท้ายของโลกความสัมพันธ์โดยตรง ในระหว่างนี้อาณาจักรของพระเยซูเจ้ากำลังอยู่ในระหว่างทำสงครามกับความชั่ว พระคริสตเจ้า “จะต้องครองราชย์จนกว่าจะทรงปราบศัตรูทั้งสิ้นของพระองค์ให้อยู่ใต้พระบาท” (1 คร 15:25)

การเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูเจ้าในความรุ่งโรจน์นั้น พระเยซูเจ้าผู้ทรงได้รับการแนะนำว่าทรงเป็นกษัตริย์ และผู้พิพากษา ทรงแสดงพระองค์เป็นหนึ่งเดียวกับผู้ด้อยโอกาส และผู้ถูกเหยียบย่ำของสังคม และกฎหมายสูงสุดของความรักจะเป็นมาตรการที่ใช้วัดบาปบุญคุณโทษในวันพิพากษา การพิพากษาครั้งสุดท้ายจะไม่เป็นการจบสิ้นแต่เป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับผู้ที่ได้ติดตามการเป็นผู้นำของพระเยซูเจ้า และฟังพระบัญชาเรื่องบทบัญญัติแห่งความรักของพระองค์ “เมื่อมนุษย์จะเสด็จมา และฟังพระบัญชาเรื่องบทบัญญัติแห่งความรักของพระองค์ “เมื่อบุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จมาพร้อมด้วยมหิธานุภาพ มีขบวนนิกรเทวดาห้อมล้อม พระองค์จะประทับเหนือพระบัลลังก์อันรุ่งโรจน์ บรรดาประชาชาติจะมาชุมนุมกันเฉพาะพระพักตร์ แล้วพระองค์ก็จะทรงแบ่งพวกเขาออกเป็นสองพวก ดังคนเลี้ยงแกะแยะแกะออกจากแพะ ให้แกะอยู่เบื้องขวา ส่วนแพะอยู่เบื้องซ้าย” (มธ 25:31-32)

บทภาวนา

            “ข้าแต่พระบิดาเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ สถิตนิรันดร พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ พระองค์ทรงเจิมพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรแต่องค์เดียวให้เป็นสงฆ์นิรันดรและเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล องค์พระบุตรได้ทรงถวายพระชนม์บนพระแท่น คือไม้กางเขนเป็นบูชาบริสุทธิ์ นำศานติเป็นกิจกอบกู้มนุษยชาติในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงรวบรวมสิ่งสร้างทั้งหลายไว้ใต้อำนาจ นำขึ้นทูลเกล้าถวายแด่พระองค์ ผู้เป็นพระบิดาทรงสรรพานุภาพซึ่งพระอาณาจักรสากลดำรงอยู่นิรันดร อาณาจักรที่ประสาทความจริงและชีวิต อาณาจักรที่ประสาทความศักดิ์สิทธิ์และพระหรรษทาน อาณาจักรแห่งความยุติธรรม ความรักและศานติ”

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube