• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2013-12-01 ฉบับที่ 49

เมื่อเข้าเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า หรือช่วง 4 สัปดาห์ก่อนฉลองพระคริสต์สมภพ (25 ธันวาคม) บางแห่งนิยมหา พวงหรีด สีเขียว พร้อมเทียน 4 ต้น มาประดับในบ้าน ในโรงเรียน หรือในวัด

สมัยก่อนเราไม่มีธรรมเนียมเช่นนี้ หรีดเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าได้กำเนิดไม่กี่ร้อยปีนี่เอง ในประเทศเยอรมันภาคตะวันออก โดยธรรมเนียมชาวบ้าน ตอนปลายพฤศจิกายน และต้นธันวาคม มีการเผาไฟ ชาวคริสต์ในสมัยกลางคงรักษาสัญลักษณ์สืบทอดกันมาเป็นประเพณี

คนสมัยศตวรรษที่ 16 มีคนเกิดความคิดว่าเอาไฟมาใช้เป็นสัญลักษณ์ ในศาสนาถึงการเตรียมฉลองพระคริสต์สมภพ (คริสต์ มาส) ในบ้านของชาวคริสต์ คนทั่วไปก็ชอบความคิดนี้ คือ พี่น้องคริสเตียน และคาทอลิก ในส่วนต่างๆของประเทศเยอรมันประดับไฟ

หรีดเตรียมฉลองพระคริสตสมภพมาจาก หรีดของต้นสน (Fir laurel) ไม้ที่เขียวตลอดปี ทำเป็นขนาดต่างๆ โดยเอามาใช้แขวนเพดาน ตามเสา ตามหน้าต่าง หรือวางโต๊ะ หรือแท่นพระที่สมาชิกในครอบครัวใช้ภาวนาด้วยกัน (ธรรมเนียมชาวยุโรป จะภาวนาด้วยกัน เช่นก่อนทานอาหาร ก่อนนอน)

นอกจากหรีดของต้นสนแล้ว ยังมีเทียน 4 ต้น ตั้งตรง ห่างเท่าๆกัน เทียนทั้ง 4 เป็นสัญลักษณ์หมายถึง 4 สัปดาห์ก่อนฉลองคริสต์มาส

แต่ละวันตอนเย็น ครอบครัวจะอธิษฐานพร้อมกันสั้นๆ ในวันอาทิตย์ จะจุดเทียนเพิ่มขึ้นที่ละต้น จนครบ 4 ต้น ในสัปดาห์ที่ 4 แสงเทียนจะส่องสว่างไสว หมายถึงเรายินดีฉลองวันสมภพของพระเยซูเจ้า ก่อนภาวนาเขาจะดับไฟในห้องนั้น แล้วจุดเทียนให้ส่องสว่างขับไล่ความมืดออกไป ปรกติเราใช้เทียนสีม่วง ยกเว้นต้นที่ สาม ใช้สีกุหลาบ หรือ สีม่วง ก็ได้ ตามอาภรณ์ของพระสงฆ์ในพิธีกรรมที่วัด ที่ใช้สีกุหลาบเพราะแสดงว่าใกล้คริสต์มาสแล้ว เรายิ่งดีใจ

หรีดเตรียมฉลองปีคริสตสมภพไม่มีความสัมพันธ์ใดกับพิธีกรรมในพระศาสนจักร ไม่ใช่สิ่งคล้ายศีล (Sacramental) ไม่เคยมีการประกาศเป็นทางการในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี การภาวนาที่เหมาะสมกับโอกาสย่อมช่วยเราให้ได้รับพระพร

สัญลักษณ์การใช้หรีดเตรียมฉลองคริสต์มาสนี้ เตือนใจเราให้คิดถึงผู้ซื่อสัตย์ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม “เพื่อส่องสว่างแก่ ทุกคนที่อยู่ในความมืด และในเงามืดแห่งความตาย” (อสย.9:1,42:7ลก.1:79) ประกาศกประกาศถึงพระผู้ไถ่ เมื่อใจของคนศรัทธาจะลุกร้อนดุจเปลวไฟปรารถนาพระผู้ไถ่ (พระเมสสิยาห์) หรีดนี้จึงเป็นเครื่องหมายถึงเวลาที่พระคริสตเจ้าเสด็จมาบังเกิด (หรีดเน้นสัญลักษณ์ในสมัยโบราณ หมายถึงชัยชนะ และเกียรติยศ)

หลังจากภาวนาขอพระพรเพื่อเตรียมฉลองพระคริสต์สมภพสมาชิกในบ้านจะร้องเพลงเตรียมรับพระคริสตเจ้า หรือเพลงเทิดเกียรติพระนางมารีย์ บางแห่งในยุโรปเป็นธรรมเนียมให้คนที่ชื่อ ยอห์น (ผู้ชาย) หรือโจแอน (ผู้หญิง) เป็นผู้จุดเทียน เพราะยอห์น เป็นผู้เขียนพระวรสารที่บอกว่า พระคริสตเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่องในความมืด (บทที่ 1:5) และยอห์นบัปติสต์ เป็นคนแรกที่เห็นแสงสว่างนั้น เวลาประกอบพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน

เด็กๆมักจดจำประสบการณ์ วันฉลองในวัยของเขาเสมอ เป็นต้นในช่วงคริสต์มาส นอกจากนั้น การภาวนาพร้อมกันในครอบครัวก็เป็นการปฏิบัติตามที่พระเยซูเจ้ากล่าวว่า “ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั้นท่ามกลางพวกเขา” (มธ.18:20)

นี่เป็นความจริงที่น่าสนใจ หากลองตามประเพณีเรียบๆนี้ให้มีความหมาย

เรียบเรียงจาก “The year of the lord in the Christian Home”

โดยคุณพ่อ ฟรังซิส ไวย์เซอร์ SJ ., The liturgical Press, Minnesota, 1964, หน้า 58-60

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube