• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-01-19 ผู้รับใช้และลูกแกะของพระเจ้า (Thalya-ทัลย่า)

ผู้รับใช้และลูกแกะของพระเจ้า (Thalya-ทัลย่า)

                   คำว่า “ผู้รับใช้” เป็นคำที่ประกาศกอิสยาห์ใช้เรียกพระผู้ไถ่ที่จะเสด็จมาในอนาคต ประกาศกอิสยาห์ใช้คำนี้ในหนังสือของท่าน บทที่ 42 ถึง 53 ประกาศกพูดถึงพระผู้ไถ่ หรือ พระเยซูคริสตเจ้าที่จะเสด็จมาว่าพระองค์จะทรงทำหน้าที่ที่ได้รับมอบมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า โดยจะทรงปฏิบัติหน้าที่เหล่านั้นอย่างสัตย์ซื่อ และด้วยความพากเพียรอดทน แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักเพียงใดพระองค์ก็จะไม่ทรงย่อท้อ ดังนั้นบางครั้งอิสยาห์ก็จะเรียกชื่อพระองค์อีกชื่อหนึ่งว่า “ผู้รับใช้ที่ทนทุกข์”

          ส่วนในพระวรสารวันนี้ ยอห์นผู้ทำพิธีล้างเรียกพระเยซูเจ้าด้วยชื่ออีกชื่อหนึ่งคือ “ลูกแกะของพระเจ้า” ท่านอ้างอิงถึงลูกแกะในพระธรรมเก่า ในสมัยที่พวกยิวต้องอพยพออกจากอียิปต์ เพื่อให้พ้นจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ ในคืนก่อนการอพยพลูกแกะนั้นถูกฆ่าและเอาเลือดทาไว้ที่กรอบประตูบ้าน เพื่อให้ลูกชายหัวปีรอดพ้นจากการถูกสังหารจากเทวทูตที่ผ่านหน้าบ้านของตนในเวลากลางคืน ดังนั้นลูกแกะที่ถูกฆ่านั้นจึงเป็น “ลูกแกะที่ช่วยให้รอดพ้นจากความตาย” และยังเป็น “ลูกแกะแห่งการเฉลิมฉลองอิสรภาพ” ที่ตนจะได้รับในวันรุ่งขึ้น

ดังนั้นพระเยซูเจ้าจึงทรงเป็นทั้งผู้รับใช้และเป็นลูกแกะของพระเจ้าตามความหมายของอิสยาห์และยอห์นผู้ทำพิธีล้าง

คำว่า ผู้รับใช้ และ ลูกแกะ ในภาษาอาราเมอิก (ภาษาที่ใช้พูดกันในสมัยของพระเยซูเจ้า) เรียกโดยใช้คำๆเดียวกัน คือคำว่า Thalya-ทัลย่า แต่ทั้ง ผู้รับใช้ และ ลูกแกะ ในพระธรรมเก่ามีชะตากรรมอันเดียวกัน คือ ความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวด และแม้กระทั่งความตาย ถึงกระนั้นทั้ง ผู้รับใช้และลูกแกะก็พร้อมที่จะทนรับ ด้วยความเต็มใจ และด้วยความสัตย์ซื่อ เพราะนั่นเป็นพระประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่องานไถ่กู้จะได้ดำเนินไป และสัมฤทธิผล

ชีวิตของ “ผู้รับใช้ และ ลูกแกะ” คือ ชีวิตของพระเยซูคริสตเจ้า และชีวิตของพระเยซูคริสตเจ้า หรือ ชีวิตของผู้รับใช้และลูกแกะ ถูกถ่ายเทมายังชีวิตของคริสตชนแต่ละคนผ่านทางศีลล้างบาป เราแต่ละคนที่ได้รับศีลล้างบาปชีวิตของเราได้ถูกเปลี่ยนเป็นชีวิตของพระเยซูคริสตเจ้า และ ดังนั้น ชีวิตคริสตชนของเราจึงต้องมีธรรมชาติของ “ผู้รับใช้และลูกแกะ” คือ พร้อมที่จะยอมรับความทุกข์ยากลำบาก หรือยอมมีชีวิตที่ไม่สะดวกสบาย เพื่อบริการรับใช้และช่วยเหลือผู้อื่น สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้เคยกล่าวไว้ว่า “ชีวิตคริสตชนที่ไม่มีความทุกข์ยากลำบาก และมีแต่ความสะดวกสบาย และมีความสุขชีวิตคริสตชนนั้นมีบางอย่างที่ผิดปกติ”

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube