• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-03-16 “บทเรียนจากคันเบ็ด”

สวัสดีครับ

สัปดาห์ละครั้ง 16 มี.ค. 2014

“บทเรียนจากคันเบ็ด”

เคยได้ยินคำสอนของผู้หลักผู้ใหญ่ที่ให้ข้อคิดสมัยที่ยังเป็นวัยรุ่น (อันหมายถึงหลายสิบปีมาแล้ว) ว่า “ให้รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา” กับการดำเนินชีวิตในแต่ละวันที่จะต้องพบกับเรื่องราวต่างๆ มากมายทั้งดีและร้าย

ตอนนั้นก็มิได้คิดอะไรมากมาย เข้าใจความหมายได้ดีพอสมควรว่าหมายถึงอะไร มาเมื่อเร็วๆ นี้ ขับรถผ่านไปบริเวณชานเมืองแห่งหนึ่ง ผ่าน “บ่อตกปลา” ที่จำได้ว่าสมัยเมื่อกว่ายี่สิบปีมาแล้ว เคยแวะมาใช้บริการอยู่บ่อยๆ ในวันว่าง ภาพในสมองก็เลยปรากฏบรรยากาศเก่าๆ ที่เคยเขวี้ยงเบ็ดออกไปจากคันเบ็ด ตัวเบ็ดและสายเบ็ดวิ่งออกจากคันเบ็ด โค้งไปในอากาศและตกลงไปยังบริเวณเป้าหมายที่ต้องการ

หลังจากนั้นก็ นั่งจ้องมองดูสายเบ็ดหรือทุ่นที่ลอยอยู่ ว่ามีปลามากินเหยื่อหรือยัง หรือบางครั้งก็ใช้วิธีปล่อยรอกให้อ่อนๆ ไม่ต้องจ้องสายเบ็ดหรือทุ่น เพียงรอฟังเสียงรอกที่ดังขึ้นเมื่อมีปลาลากสายเบ็ด… บางครั้งรอนานเป็นครึ่งชั่วโมงเป็นชั่วโมงก็มี และเมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว… คราวนี้เองที่การต่อสู้อันเดิมพันด้วยชีวิต(ของปลา) กับเราผู้ซึ่งถือว่าได้เปรียบราวฟ้ากับเหว มีการดึงกันไปดึงกันมา ตรงนี้เองจึงรู้ว่าเขาทำคันเบ็ดให้ปลายคันอ่อนตัวได้นั้นก็เพื่อประโยชน์ของการ “ผ่อนหนักผ่อนเบา” นี้เอง วิธีการก็คือ ต้องให้สายเบ็ดตึงไว้อย่าให้หย่อน เพราะถ้าสายเบ็ดหย่อนปลาจะหลุดจากเบ็ดได้ มันจึงต้องอาศัยเทคนิคอยู่มากเหมือนกัน ลักษณะเช่นนี้นักตกปลาเค้าเรียกกันว่า “เย่อ” ซึ่งมาจากคำว่า “ชักเย่อ” นั่นแหละ

หลายครั้งสายตึงเกินไปปลาจะสะบัดหลุดได้ หรือถ้าไม่หลุดสายเบ็ดก็จะขาด ดังนั้นนักตกปลาจึงต้องพยายามใช้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นว่าควรจะผ่อนเมื่อไหร่ ควรจะดึงเมื่อไหร่ หลักการง่ายๆ ก็คือ เมื่อปลาดึงเราต้องผ่อน เมื่อปลาหยุดเราก็ดึง สู้กันอย่างนี้ไปเรื่อยๆ บางครั้งก็เร็วไม่กี่นาที บางครั้งอาจจะเป็นชั่วโมงก็มี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนก็จะเป็นผู้ชนะ มีเหมือนกันที่คนแพ้คือปลาหลุดไปได้

ที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมดนี้ ก็ต้องการเปรียบเทียบว่า การดำเนินชีวิตด้วยหลักการ “ผ่อนหนักผ่อนเบา” นี้มันเหมือนกับเกมตกปลานี้แหละ ต้องรู้จังหวะจะโคน มีทั้งรุกและรับ ต้องมีสมาธิ ใส่ใจกับชีวิต คิดและเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด มิใช่ดันทุรังไปแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่ฟังเสียงนกเสียงกา ขาดความรอบคอบ มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องพบกับความพ่ายแพ้ล้มเหลวได้…

ปัจจุบันนี้ผมไม่เคยตกปลาอีกเลย เพราะมโนธรรมติเตียนว่า เราไปทรมานปลาทำให้มันเจ็บ เราใจร้ายมากทีเดียว… สาธุ… สวัสดีครับ.

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube