• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-06-08 คริสตชน (ต่อ)

สวัสดีครับ

สัปดาห์ละครั้ง 8  มิถุนายน  2014

 

(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)

ประการที่ห้า           “น้ำ”มีความหมายโดยทั่วๆ  ไปคือเป็นความชุ่มชื้นเป็นสิ่งที่จะให้ชีวิตเช่นให้ชีวิตกับต้นไม้พืชพันธุ์ต่างๆ  และดับความหิวกระหายนอกจากนั้นยังเป็นสิ่งที่ใช้ชำระล้างความสกปรกคือเป็นวัตถุสำคัญที่ทำให้สิ่งต่างๆ  สะอาด

สำหรับการเสด็จลงในแม่น้ำจอร์แดนของพระเยซูนั้นมิใช่น้ำที่ชำระพระเยซูเจ้าเพราะพระองค์ไม่มีมลทินใดๆ  แต่ตรงกันข้ามเป็นพระองค์เองที่เสด็จลงไปในน้ำนั้นทำให้น้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อชำระบาปมลทินของมนุษยชาติ

ด้วยเหตุนี้ในพิธีกรรมศีลอภัยบาปจึงมีการนำน้ำที่รับการเสกแล้วมาเทลงบนศีรษะของผู้รับเป็นเครื่องหมายของการชำระล้างบาปนั่นเอง

ประการที่หก           เมื่อพูดถึงพิธีล้างในแม่น้ำจอร์แดนของพระเยซูคริสตเจ้าพระศาสนจักรยังเชื้อเชิญเราให้คิดถึงศีลล้างบาปที่เราได้รับคิดถึงความเชื่อที่เรามี

เมื่อเรากล่าวถึงศีลล้างบาปสิ่งที่ต้องกล่าวถึงควบคู่กันด้วยเพราะเป็นสิ่งที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของผู้ที่จะรับศีลล้างบาปนั่นคือ“ความเชื่อ”เพราะถ้าปราศจากความเชื่อศีลล้างบาปจะไม่มีความหมายอะไรสำหรับผู้นั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้จึงมีเรื่องที่ควรคำนึงอยู่เหมือนกันเพราะจากประสบการณ์มีการรับศีลล้างบาปแบบไม่มีความเชื่อให้เห็นอยู่บ่อยๆ  เช่นรับศีลล้างบาปแบบไม่เต็มใจเช่นล้างบาปเพื่อจะได้แต่งงานถ้าไม่ล้างบาปพ่อแม่ปู่ย่าตายายผู้ใหญ่เขาจะไม่ยอมให้แต่งงานเขาจะไม่ยกลูกสาวให้หรือเขาจะไม่ยอมรับเป็นลูกสะใภ้…อะไรทำนองนี้ดังนั้นจึงต้องระวังดีๆ  อย่าไปบังคับใครให้ล้างบาปเพราะความเชื่อเป็นเรื่องระหว่างเขากับพระเจ้าเรามีหน้าที่เพียงอธิบายแนะนำและที่สำคัญเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เขา

สำหรับเราที่ได้รับศีลล้างบาปเป็นคริสตชนคนของพระคริสตเจ้ามานานแล้วไม่ว่าจะเป็นมาตั้งแต่เกิดหรือตอนโตก็ตามต้องหันมาทบทวนพิจารณาดูชีวิตของเรากันบ้างก็ดีเหมือนกันว่าเราเป็นคริสตชนที่ดีมากน้อยเพียงไรมีอะไรที่จะต้องเพิ่มเติมเสริมแต่งหรือปรับปรุงแก้ไข…

 

เราต้องเลียนแบบอย่างเกี่ยวกับการรับพิธีล้างขององค์พระเยซูคริสตเจ้าอย่างไร?

 

ประการที่หนึ่ง         ต้องมีสำนึกในการเป็นผู้รับใช้เพื่อนมนุษย์มีความสุภาพและชัดเจนด้วยการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน

ในประเด็นนี้หากเป็นพระสงฆ์เป็นนักบวชก็อาจจะเปรียบได้กับการตัดสินใจด้วยอิสระเสรีที่จะเลือกชีวิตสงฆ์หรือชีวิตนักบวชโดยต้องตระหนักและยินดีรับด้วยความเต็มใจในสิ่งที่จะตามมาในชีวิตสงฆ์และนักบวชเป็นชีวิตของการนอบน้อมเชื่อฟังผู้ใหญ่ชีวิตของการมีความเป็นอยู่เรียบง่ายไม่หรูหราฟุ่มเฟือยหรือการอุทิศทั้งชีวิตเพื่อเป็นเครื่องมือของพระเป็นเจ้าจะถือโสดตลอดไป

ดังนี้เองสงฆ์หรือนักบวชที่ดำเนินชีวิตผิดไปจากนี้ก็จะเป็นที่สะดุดเป็นการกระทำผิดไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง…

 (ต่อสัปดาห์หน้า… สวัสดีครับ)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube