• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-06-29 ฉบับที่ 27

สมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล  อัครธรรมทูต

การสมโภชในวันนี้เป็นการเฉลิมฉลองที่เก่าแก่ที่สุดวันหนึ่งและที่จริงเป็นการฉลองที่มีมาก่อนการฉลองพระเยซูเจ้าทรงบังเกิดเสียอีกตั้งแต่ศตวรรษที่4 แล้วที่ในวันฉลองนี้มีการถวายบูชามิสซา3 มิสซาด้วยกันคือที่พระวิหารนักบุญเปโตรในรัฐวาติกันมิสซาหนึ่งที่พระวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพงเมืองอีกมิสซาหนึ่งและมิสซาที่สามที่คาตากอมบ์นักบุญเซบาสเตียนซึ่งเชื่อว่าศพของท่านนักบุญอัครธรรมทูตผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านคงจะถูกซ่อนไว้ณที่นี้เป็นระยะเวลาหนึ่ง

นักบุญเปโตรซีมอนเป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุมนักบุญอันเดรน้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซูเจ้าและอาจเป็นนักบุญยอห์นแบปติสต์ที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับองค์พระเยซูเจ้า และพระเยซูเจ้าได้ทรงเปลี่ยนชื่อท่านและทรงเรียกท่านด้วยชื่อใหม่ว่า“เปโตร”เพื่อทำหน้าที่เป็นศิลาพื้นฐานในตัวบุคคลของท่านเอง นักบุญเปโตรเป็นพยานบุคคลแรกๆผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์และได้รับการประจักษ์มาขององค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพหลังจากที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จขึ้นสวรรค์แล้วท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชนได้กล่าวสรุปข่าวดีและท่านเองเป็นคนแรกที่ได้แลเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดพระศาสนจักรไปสู่พวกคนต่างชาติภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่างๆทางอารมณ์ก็หาไม่นักบุญเปาโลเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองอันติโอกเพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่านักบุญเปโตรยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิวต่อเมื่อนักบุญเปโตรได้มาที่กรุงโรมเมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครธรรมทูตของทุกๆคนและได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น“ศิลาหัวมุม” ของพระศาสนจักรของพระเยซูเจ้าโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกันและท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์

นักบุญเปาโลหลังจากที่ได้กลับใจในระหว่างทางที่มุ่งไปสู่กรุงดามัสกัสแล้วก็ได้เดินทางในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นจำนวน3 ครั้งด้วยกันที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญการเดินทางครั้งแรกของท่านนั้นมีนักบุญบาร์นาบัสร่วมเดินทางไปด้วยโดยออกเดินทางจากเมืองอันติโอกหยุดพักที่เกาะไซปรัสแล้วก็เดินทางผ่านประเทศตุรกีในปัจจุบันนี้ หลังจากการประชุมของบรรดาอัครธรรมทูตที่กรุงเยรูซาเลมแล้ว  ท่านก็ได้เริ่มการเดินทางครั้งที่2 ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ได้รับการขอร้องจากบรรดาอัครธรรมทูตทั้ง12 อย่างเป็นทางการท่านได้เดินทางผ่านดินแดนตุรกี ได้ประกาศพระวรสารในแคว้นฟรีเจียและกาลาเทียซึ่งท่านได้ล้มเจ็บลงจากนั้นก็ได้เดินทางเข้าสู่ยุโรปพร้อมกับนักบุญลูกาและได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นที่แคว้นฟิลิปปี(ประเทศกรีก) ที่แคว้นนี้ท่านได้ถูกจับขังคุกเป็นระยะหนึ่งแต่หลังจากนั้นเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้วก็เริ่มประกาศพระวรสารใหม่อีกที่กรุงเอเธนส์ภารกิจของท่านต้องหยุดชะงักลงต่อหน้าบรรดานักปรัชญาชาวกรีกแต่ที่เมืองโครินธ์ท่านได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นซึ่งภายหลังได้ทำให้ท่านต้องหนักใจมากกว่าที่อื่นๆจากนั้นก็กลับเข้าสู่เมืองอันติโอก สำหรับการเดินทางครั้งที่3นั้นท่านได้เดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนต่างๆที่ท่านได้ตั้งขึ้น(ประเทศตุรกี) เป็นต้นกลุ่มคริสตชนที่เมืองเอเฟซัสจากนั้นก็มุ่งสู่ประเทศกรีกไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนที่เมืองโครินธ์แล้วข้ามไปเมืองมิเลตุสพลางได้แจ้งให้บรรดาสมณทั้งหลายได้ทราบถึงการทดลองต่างๆที่ท่านกำลังจะได้รับและก็เป็นเช่นนั้นจริงคือหลังจากที่ท่านได้กลับมาที่กรุงเยรูซาเลมได้ไม่นานท่านก็ถูกพวกชาวยิวจับและถูกขังคุกแต่เนื่องจากว่าท่านถือสิทธิ์เป็นพลเมืองโรมันจึงได้อุทธรณ์ไปที่กรุงโรม และดังนี้ก็เป็นการเริ่มต้นการเดินทางต่อมา  ของท่านแต่ว่าไม่เหมือนครั้งก่อนๆเพราะไม่มีอิสรภาพในการเดินทางถูกจับกุมตัวท่านได้ไปถึงกรุงโรมในราวปี60 หรือ61 และได้ถูกขังอยู่ในคุกจนถึงปี63 แม้ว่าอยู่ในคุกท่านได้รับความสะดวกสบายหลายประการและสามารถติดต่อกับบรรดาคริสตชนที่กรุงโรมได้ท่านได้เขียนจดหมายจากคุกและต่อมาในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้เป็นอิสระอาจจะเป็นไปได้ที่ในช่วงนี้ท่านได้เดินทางเป็นครั้งสุดท้ายไปประเทศสเปนหรืออาจจะเดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนที่ทิโมธีและติตัสปกครองอยู่นักบุญเปาโลเองได้เขียนจดหมายถึงท่านทั้งสองนี้โดยบอกเป็นนัยๆว่าวาระสุดท้ายของท่านกำลังใกล้เข้ามาแล้วและท่านได้ถูกจับขังคุกอีกครั้งนักบุญเปาโลได้เป็นมรณสักขีประมาณปี67 ด้วยการถูกตัดศีรษะ

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube