• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-09-14 จิตวิญญาณแห่งไม้กางเขน

จิตวิญญาณแห่งไม้กางเขน

                   วันนี้เป็นวันฉลองเทิดทูนไม้กางเขน ทุกสายตาต่างก็จับจ้องไปที่ไม้กางเขน ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายแห่งความรอดและเวลาที่เราพูดถึงความตายบนไม้กางเขน เราต่างก็คิดไปถึงภาพของพระเยซูคริสตเจ้าที่ถูกตรึงอยู่บนไม้สองท่อนนั้น ที่ถูกปักอยู่บนภูเขาแห่งนั้น นอกกรุงเยรูซาเล็ม นอกจากนั้นคริสตชนที่มีความศรัทธาต่อไม้กางเขนมากๆ ต่างก็จะเสาะแสวงหาพระธาตุไม้กางเขน โดยมุ่งไปที่พระธาตุที่นำมาจากไม้กางเขนจริงๆ ที่พระเยซูเจ้าถูกตรึง และถ้ามั่นใจแล้วว่าพระธาตุไม้กางเขนที่ตนมีอยู่นั้นเป็นของแท้ๆ ต่างก็จะเก็บรักษาไว้อย่างหวงแหน เฝ้าจูบแล้วจูบอีก ดังนี้เป็นต้น

          ในหนังสือกันดารวิถี งูโลหะถูกทำขึ้นและนำไป ติดไว้บนเสา เพื่อช่วยชีวิตของผู้ที่ถูกงูกัด

ในพระวรสารพระเยซูเจ้า ตรัสถึงบุตรแห่งมนุษย์ที่ถูกยกขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความเชื่อในพระองค์จะได้มีชีวิตนิรันดร

          เสาไม้ในหนังสือกันดารวิถี เป็นสัญลักษณ์ของไม้กางเขนในอนาคต ส่วนงู คือตัวแทนของปีศาจ และบาป ความหมายน่าจะเป็น ปีศาจ และบาป จะถูกทำลายได้ก็โดยการถูกตอกตรึงกับไม้กางเขน

ส่วนในพระวรสาร บุตรแห่งมนุษย์คือ ตัวของพระเยซูเจ้าเอง พระองค์ผู้ทรงรับแบกบาปของมวลมนุษยชาติทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ไว้ในตัวของพระองค์ และพระองค์ก็ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขน ก็มีความหมายเดียวกันกับในหนังสือกันดารวิถีว่าบาปนั้นจะถูกทำลาย และปีศาจจะถูกกำจัดได้ก็โดยอาศัยไม้กางเขนเช่นเดียวกัน

ถ้าเราจะพิจารณากันอย่างถ่องแท้และอย่างลึกซึ้ง ลำพังไม้สองท่อนที่นำมาตอกขวางติดกัน จะมีอำนาจอะไรกันนักกันหนาที่จะทำลายบาปและปีศาจได้ แต่ถ้าเราจะมองลงไปให้ลึกซึ้ง ให้ทะลุภาพภายนอก ของไม้ขวางนั้นเราจะเห็นสัจธรรม และความจริงที่ซ่อนอยู่ในไม้ขวางนั้น พูดสั้นๆก็คือ ไม้กางเขนมีจิตวิญญาณ และเวลาที่เราพินิจพิเคราะห์ไม้กางเขน เราจะต้องพินิจพิเคราะห์ให้ทะลุภาพปรากฏภายนอกของไม้ขวางสองท่อน ลงไปให้ถึงจิตวิญญาณแห่งไม้กางเขนนั้น

“จิตวิญญาณแห่งไม้กางเขน”ปรากฏอยู่ในจดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวฟิลิปปี บทที่ 2 ข้อ 6 ถึง ข้อ 8.ในบทอ่านที่ 2 ของวันนี้

ข้อ 6 แม้ว่าพระเยซูเจ้าทรงมีธรรมชาติพระเจ้า พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้น เป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน  = ยอมปล่อยสถานะภาพความเป็นพระเจ้า

ข้อ 7 แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น เพื่อทรงรับสภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดุจเรา = ยอมมาเป็นมนุษย์

ข้อ 8 เมื่อปรากฏพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์แล้ว ก็ยังทรงถ่อมพระองค์กว่านั้นอีกจนถึงกับทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน = ยอมตาย

จิตวิญญาณแห่งไม้กางเขนคือการยอม สำหรับพระเยซูเจ้าพระองค์ทรงยอมต่อพระบิดา ในทุกสิ่งที่พระบิดามีพระประสงค์

การยอมต่อพระเป็นเจ้า คือจิตวิญญาณแห่งไม้กางเขน

การยอมนี้คือ ความนบนอบเชื่อฟัง

วิถีแห่งไม้กางเขนคือวิถีแห่งความนบนอบเชื่อฟัง

ดังนั้นพระเยซูเจ้าจึงตรัสไว้ในพระวรสารวันนี้ว่า “เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อ(ฟัง)ในพระองค์ จะมีชีวิตนิรันดร”

มนุษย์ถูกเรียกร้องให้เชื่อฟังพระเยซูเจ้า เพื่อจะได้ไปสวรรค์พูดสั้นๆก็คือ ถ้าอยากไปสวรรค์ ต้องเจริญชีวิตไม้กางเขน หรือ ถ้าอยากไปสวรรค์ต้องเจริญชีวิต แห่งความนบนอบเชื่อฟังพระเยซู

การที่คนๆหนึ่งจะยอมเชื่อฟังใครผู้นั้นจะต้องยอมตัดความรู้สึกนึกคิดหรือน้ำใจของตัวเอง การยอมตัดนี้แหละคือการเจริญชีวิตในวิถีแห่งไม้กางเขน ที่พระเยซูเจ้าทรงสอนแล้วสอนอีกให้เรายอมปฏิบัติตาม

เราจะต้องรู้จักตัด น้ำใจของตัวเราเองด้วยน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า

“ถ้าผู้ใดอยากตามเรา ก็จงเลิกคิดถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนและติดตามเรา..”.(มธ 16:24)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube