• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-09-28 ยอม vs ไม่ยอม/เชื่อฟัง vs ไม่เชื่อฟัง/ว่างเปล่า vs มีทุกอย่าง

 

ยอม vs ไม่ยอม/เชื่อฟัง vs ไม่เชื่อฟัง/ว่างเปล่า vs มีทุกอย่าง

                   บทอ่านที่ 2 จากบทจดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวฟิลิปปี วันนี้ (ฟป 2:1-11) เป็นบทอ่านที่ซ้ำกับจดหมายฉบับเดียวกัน เมื่อสัก 2 สัปดาห์ก่อน คือ ในวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันฉลองเทิดทูนไม้กางเขนและบทอ่านในวันนั้น คือ จดหมายของนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวฟิลิปปี บทที่ 2 ข้อ 6 ถึง 11 (ฟป 2:6-11)

ความเกี่ยวเนื่องดังกล่าวสร้างให้เกิดความลงตัวซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจรหัสธรรม หรือ พระธรรมล้ำลึกของไม้กางเขนมากยิ่งขึ้น

ในวันฉลองการเทิดทูนไม้กางเขนบทสนทนาจากเจ้าอาวาสได้เขียนไว้ในหัวข้อ จิตวิญญาณแห่งไม้กางเขน ซึ่งได้เน้นย้ำไว้ในตอนท้ายๆว่า ไม้กางเขนคือ วิถีชีวิตแห่งการยอมตนต่อพระเป็นเจ้า และบุคคลที่ให้แบบฉบับแห่งการยอมนี้คือ องค์พระเยซูคริสตเจ้า

ส่วนในบทอ่านวันนี้ บทอ่านที่ 1 จากหนังสือประกาศกเอเสเคียล บทที่ 18 ข้อ 25ถึง 28 พูดถึงคนดีเปลี่ยนใจ ไปทำความชั่ว และคนชั่วเปลี่ยนใจกลับไปทำความดี ในบทอ่านบทนี้ หัวใจของบทอ่านอยู่ตรงประโยคสุดท้ายคือ “เขาเลือกจะเลิกการล่วงละเมิดทั้งหมดที่เคยทำ……” พูดสั้นๆ คือ คนชั่วเลือกจะเลิกทำความชั่วและตัดสินใจหันกลับมาทำความดี

ตัดสินใจ ก็คือ การตัดใจ

และได้เคยเขียนไว้เช่นเดียวกันว่า การตัดใจคือวิถีแห่งไม้กางเขน

ผู้ที่ยอมตัดใจ คือ ผู้ที่ยอมดำเนินชีวิตในวิถีแห่งไม้กางเขน

ส่วนในบทพระวรสารวันนี้ซึ่งมาจากพระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 21 ข้อ 28-32 เป็นเรื่องของลูก 2 คนที่พ่อใช้ไปทำงาน คนแรกบอกว่าไม่ไป แต่ต่อมา เปลี่ยนใจยอมไป ส่วนคนที่ 2 ตอบรับกับพ่อว่า จะไป แต่ต่อมาก็ ไม่ยอมไป สรุปบทพระวรสารนี้คือ ความเชื่อฟัง และความไม่เชื่อฟัง

ในบทอ่านที่คั่นกลางระหว่างบทอ่านที่ 1 และบทพระวรสารวันนี้ ก็คือ จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปี 2 ข้อ 1-11 บทนี้คือ หัวใจ ของเนื้อหาของความเชื่อฟังนักบุญเปาโลได้อธิบายถึงความเชื่อฟังของพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งเป็นพระบุคคลที่ 2 ในพระตรีเอกภาพ แม้ทรงเป็นพระเจ้า มีพระสภาวะและพระธรรมชาติเท่ากับองค์พระบิดา และพระจิต แต่พระองค์ก็ยังทรงยอมต่อพระประสงค์ของพระบิดา ยอมสละศักดิ์ศรีของความเป็นพระเจ้า ยอม มาเกิดเป็นมนุษย์ ยอม เป็นมนุษย์ที่มีสถานะภาพต่ำสุด คือ ยอม เป็นทาส หรือ ผู้รับใช้ จากนั้นก็ทรงยอมสละทุกสิ่ง แม้ชีวิตของพระองค์เอง เพื่อความรอดพ้นของมวลมนุษย์ โดยการยอมตายบนไม้กางเขน และนักบุญเปาโลก็สอนคริสตชนชาวฟิลิปปี รวมทั้งพวกเราด้วยว่าพวกเรา “จงมีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงมีเถิด” คือท่านเตือนเราให้มีชีวิตเช่นเดียวกับพระเยซูคริสตเจ้า คือ ชีวิตแห่งการยอม ชีวิตแห่งความนอบน้อมเชื่อฟัง หรือ ชีวิตแห่งไม้กางเขน

เครื่องหมายของความเป็นคริสตชน ไม่ใช่คนๆนั้นทำสำคัญแห่งไม้กางเขน หรือ ทำเดชะพระนามพระบิดาฯ ให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเป็นคริสตชน แต่เครื่องหมายแท้ๆของความเป็นคริสตชน คือการดำเนินชีวิตแห่งไม้กางเขน คือ การรู้จักดำเนินชีวิต แห่งความเชื่อฟัง รู้จักตัดสละตัวตนของตนเอง รู้จักตัดความอยาก ตัดสละการไขว่คว้าหาทั้งเงิน อำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียง รู้จักตัดสละความผูกพันอันนอกลู่นอกทางกับบุคคลต่างๆ รู้จักตัดสละน้ำใจของตนเอง ทำตัวเองให้ว่างเปล่า ประดุจองค์พระคริสตเจ้า คำของจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปีวันนี้ ในบทอ่านที่ 2 ข้อที่ 7 ข้อความภาษาไทยที่ว่า

“แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น”

ในคำแปลภาษาอังกฤษคือ

“ But he emptied himself”

พระเยซูทรงทำตัวให้ว่างเปล่า เป็นตัวอย่างแก่เรา คำถามก็คือ เราสามารถทำตัวให้ว่างเปล่าแบบพระเยซูคริสตเจ้าได้หรือไม่? หรือ เรายังคงดิ้นรนไขว้คว้าทุกอย่างมาเป็นของเรา

การทำตัวให้ว่างเปล่า ก็คือ การรู้จักเชื่อฟังพระคริสตเจ้าในทุกสิ่งที่พระองค์สอน และรู้จักตัดทุกสิ่งทุกอย่างออกจากชีวิตของเรา แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นความจำเป็นของชีวิตก็ตามและถ้าเราทำได้อย่างนั้น เราคือ คริสตชนลูกศิษย์แท้ของพระเยซูเจ้า

“ถ้าผู้ใดอยากตามเรา ก็จงเลิกคิดถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตน และติดตามเรา” (มธ 16:24)

สรุปสุดท้าย † คือเครื่องหมายแห่งการยอมและความนบนอบเชื่อฟัง

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube