• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-10-12 ฉบับที่ 42

“แม่พระแห่งลูกประคำ”

โดยคุณพ่อสุรสิทธิ์และคุณพ่อสุรชัยชุ่มศรีพันธุ์

“แม่พระแห่งลูกประคำ”นามนี้มีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัดนักประวัติศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่าอาจกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่8 ก็ได้เวลานั้นมีการสวดบท“ข้าแต่พระบิดา”ซ้ำไปซ้ำมาโดยใช้รูปประคำนับจำนวนให้ครบ150 บทตามจำนวนบทสดุดีในพระคัมภีร์อยู่แล้วสำหรับผู้ที่ไม่รู้หนังสือเวลานั้น  ซึ่งไม่สามารถสวดบทสดุดีได้  ก็ใช้การสวดบทข้าแต่พระบิดาแทนแล้วต่อมาจึงมีผู้นำเอาบทสดุดีแม่พระหรือบทวันทามารีอาท่อนแรกมาใช้แทนบท“ข้าแต่พระบิดา” เป็นอันว่าการใช้ลูกประคำเป็นเครื่องมือในการสวดมีมาแต่นานแล้ว

แต่นาม“แม่พระลูกประคำ”เรามักเชื่อมความเกี่ยวโยงกับการประจักษ์ของแม่พระต่อนักบุญดอมินิโกในปี1208 ณวัดแห่งProuillเวลานั้นนักบุญดอมินิโกกำลังต่อสู้กับอิทธิพลอันใหญ่หลวงของลัทธิเฮเรติกที่เรียกว่าAlbigensian ท่านรู้สึกถึงความท้อแท้เพราะการทำงานของท่านไร้ผลแม่พระประจักษ์มาและทรงสอนท่านว่า“อย่าแปลกใจเลยที่การทำงานของลูกไร้ผลลูกกำลังทำงานบนผืนดินที่แห้งแล้ง  โดยไม่รดน้ำด้วยพระหรรษทานเมื่อพระเจ้าทรงประสงค์จะเนรมิตแผ่นดินขึ้นใหม่นั้นพระองค์เริ่มด้วยการส่งฝนแห่งความเจริญงอกงามนั่นคือการแจ้งสารของเทวทูต(ทำทักทายว่า“วันทามารีอา…”)  ฉะนั้นลูกจึงเผยแพร่การสวดคำทักทายของเทวทูตนี้  150 ครั้งและบทข้าแต่พระบิดา15 ครั้งแล้วลูกจะเก็บเกี่ยวได้อย่างอุดมสมบูรณ์”

นักบุญดอมินิโกเริ่มต้นเผยแพร่ความศรัทธาต่อการสวดลูกประคำที่สุดท่านได้รับชัยชนะอย่างไรก็ตามแม้ว่าการสวดลูกประคำอาจจะถือได้ว่าท่านนักบุญดอมินิโกเป็นผู้บุกเบิกจากชัยชนะที่ท่านได้รับเหนือพวกเฮเรติกแต่กระนั้นการสวดลูกประคำก็ยังไม่ถึงกับแพร่หลายมากนัก

จนกระทั่งในสมัยของAlan de Rupe(1428-1475) ซึ่งได้ฉายาว่าอัครสาวกผู้ยิ่งใหญ่แห่งลูกประคำ” เป็นผู้จุดประกายให้เห็นความเกี่ยวข้องของนักบุญดอมินิโกและลูกประคำและได้เผยแพร่การสวดลูกประคำจนเป็นที่นิยมไปทั่วทุกแห่งหน

ต่อมาในวันที่7 ตุลาคม1571 สมาชิกแห่งแนวร่วมในการสวดสายประคำร่วมชุมนุมสวดสายประคำเพื่อขอพรสำหรับกองทัพคริสตังที่กำลังสู้รบกับพวกเติร์กมุสลิมที่เมือLepanto พระสันตะปาปาปีโอที่5 ทรงร่วมสวดด้วยและที่สุดกองทัพคริสตังได้รับชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งช่วยให้ยุโรปรอดพ้นจากการยึดครองของมุสลิมพระสันตะปาปาปีโอ5 จึงกำหนดให้วันที่7 ตุลาคม1571 เป็นวันรำลึกถึงแม่พระลูกประคำประจำปีตั้งแต่นั้นมา…

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube