สมโภชนักบุญทั้งหลาย
ตั้งแต่แรกพระคัมภีร์ได้สงวนนามนี้ “นักบุญ” หรือ “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” ไว้สำหรับพระยาเวห์แต่เพียงผู้เดียว เพราะว่าพระเจ้า คือ “อีกผู้หนึ่ง” หรือ “ผู้อื่น” ซึ่งอยู่นอกเหนือสิ่งทั้งหลาย พระองค์ทรงอยู่ห่างไกลจากเราเหลือเกินจนเราไม่อาจคิดได้ว่าเราจะสามารถมีส่วนร่วมในชีวิตของพระองค์ได้อย่างไร เมื่อมาอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า ผู้เป็นองค์ความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง (ปฐก 28:10-19; 1 ซมอ 6:13-21; 2 ซมอ 6:1-10) มนุษย์ไม่สามารถจะทำอะไรอย่างอื่นได้นอกจากกราบไหว้นมัสการและยำเกรงพระองค์ ( อพย 3:1-6; ปฐก 15:12)
ในศาสนานี้สามารถช่วยให้รอดได้เช่นของพวกอิสราแอล พระเจ้าเองต้องเป็นผู้ประทานความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ให้แก่ประชากรของพระองค์ (อสย 12:6-29; 19-23;30: 11-15;31:1-3) ซึ่งตัวเขาเองได้กลายเป็น “อีกผู้หนึ่ง” เหมือนกัน โดยเขาจะประพฤติตนแตกต่างไปจากชนชาติอื่น ๆ จากการเจริญชีวิตประจำวันของพวก เขา และเป็นต้นจากการแสดงออกของพวกเขาโดยทางจารีตพิธีกรรมต่างๆ (ลนต19:1-37;21: 1-23 ; วว 4:1-11) แต่ว่าเพื่อจะสามารถบันดาลให้ความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้บรรลุผลสำเร็จ ตามที่พระเจ้าได้ทรงเรียกพวกเขามายังความศักดิ์สิทธิ์นี้นั้น ประชากรผู้ได้รับเลือกสรรไม่มีวิธีการอะไรอย่างอื่นนอกจากการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆ และการปฏิบัติการชำระล้างให้สะอาดหมดจด (ปราศจากมลทิน)ทางด้านภายนอกเท่านั้น ไม่ช้าไม่นาน พวกเขาได้มีจิตสำนึกถึงความไม่เพียงพอของวิธีการต่างๆ เหล่านี้ พวกเขาจึงได้เจาะจงแสวงหาวิธีการใหม่ที่จะสามารถช่วยพวก เขาให้ได้มีส่วนในชีวิตของพระเจ้า วิธีการใหม่นี้ก็คือ “หัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์” (อสย 6:1-7; สดด 14; อสค 36: 17-32; 1 ปต 1:14-16) พวกเขาได้ตั้งความหวังไว้ว่า ความศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาจะได้รับนั้นต้องมาจากพระเจ้าโดยตรง (อสค 36: 23-28)
ความหวังหรือความปรารถนาอันนี้ได้สำเร็จหรือได้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในองค์พระคริสตเจ้าในตัวพระองค์ เอง ความศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงฉายแสงออกมาให้ปรากฏในตัวพระองค์ และ “พระจิตแห่งความศักดิ์สิทธิ์” ทรงสถิตอยู่ในพระองค์ พระองค์ได้ทรงรับตำแหน่ง “องค์ความศักดิ์สิทธิ์” (ยน 3:1-5; 1 คร 3:16-17; กท 5:16-25; รม 8: 9-14) และอันที่จริงพระองค์เสด็จมาในโลกนี้ก็เพื่อจะช่วยมนุษยชาติได้กลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขอให้ผู้ที่ร้องไห้ได้รับการปลอบโยน ขอให้ผู้ที่หิวกระหายความยุติธรรมได้อิ่มหนำ และขอให้ผู้มีเมตตาได้รับความเมตตาเช่นกัน
2. ขอให้บูชามิสซาและศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ช่วยแปรสภาพพวกเราให้กลายเป็น “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” กลายเป็น “นักบุญ” ด้วยเถิด
พระเยซูเจ้า พระองค์ได้ทรงกลายเป็น “พระคริสตเจ้า” หรือ “เจ้านายผู้ศักดิ์สิทธิ์” และได้ทรงถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์นี้ให้แก่มนุษย์ (มธ 13: 24-30; 25: 2; คส 1:22; 2 คร 1:12)
ในศตวรรษแรก ๆ คำสอนเรื่องนี้มีชีวิตชีวามากจนว่าสมาชิกของพระศาสนจักรในเวลานั้นไม่ได้ลังเลใจที่จะเรียกตัวเองว่า “นักบุญ” เลย (2 คร 11-12; รม 15: 26-31 ; อฟ3: 5-8; 4:12) และพระศาสนจักรเองก็ถูกเรียกว่า “สหพันธ์นักบุญ” สำนวนนี้เรายังจะพบได้อีกในบท “ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งมีต้นกำเนิดจากกลุ่มคริสตชนที่มาร่วมถวายบูชามิสซาและมีส่วนร่วมใน “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” จึงกลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือ “นักบุญ” ดังนั้น ความศักดิ์สิทธิ์หรือความเป็นนักบุญของคริสตชนจึงอยู่ที่การมีส่วนร่วมในชีวิตของพระผู้เป็นเจ้าโดยอาศัยวิธีการต่างๆ ของพระศาสนจักรเป็นต้นโดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์
ความศักดิ์สิทธิ์นี้มิใช่เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่พยายามจะบรรลุถึงพระเจ้า โดยอาศัยกำลังของตนเอง แม้จะประกอบกิจกรรมขั้นวีรกรรมก็ตาม แต่ว่าความศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นของประทานของพระเจ้าที่ให้เปล่า นอกนั้นยังเป็นการตอบสนองของมนุษย์ต่อการเริ่มต้นอันนี้ของพระเจ้าอีกด้วย
|