• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-11-16 จงเรียนรู้ที่จะรู้จักทำงานแบบปิดทองหลังพระ

จงเรียนรู้ที่จะรู้จักทำงานแบบปิดทองหลังพระ

สตรีในหนังสือสุภาษิต ในบทอ่านที่ 1 วันนี้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ จากการที่เธอมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ เธอเป็นบุคคลที่รู้จักมองการณ์ไกล (Foresight) และ เธอเป็นบุคคลที่ยอมเจริญชีวิตแบบกล้าได้กล้าเสีย (Enterprise)

คุณลักษณะสำคัญ 2 ประการนี้เป็นคุณลักษณะสำคัญสำหรับการเอาตัวรอดไปสวรรค์

เพื่อจะไปสวรรค์ หรือ เพื่อจะมีชีวิตสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เราจะต้องเป็นบุคคลที่รู้จักมองการณ์ไกล (Foresight)

การมองการณ์ไกล เรามักจะได้ยินวลีนี้บ่อยๆและมักจะเข้าใจความหมายของวลีไปในทางโลก คือ มองแค่ประโยชน์โภคผลทางวัตถุในอนาคต ซึ่งไม่ใช่เป็นการมองการณ์ไกล ในความหมายของการมองการณ์ไกลจริงๆ เพราะอะไรก็ตามที่ยังเน้นถึงประโยชน์โภคผลทางวัตถุ แม้ในอนาคตอันไกลก็ยังไม่ถือว่าเป็นการมองการณ์ไกล เพราะทุกอย่างไปสิ้นสุดที่วัตถุในอนาคต และวัตถุในที่สุดก็ย่อมดับสูญเสื่อมสลายไปในที่สุด ดังนั้น การมองการณ์ไกลในแง่ของความรอดพ้นต้องเป็นการมองที่ไม่ใช่ใช้ดวงตามอง และต้องไม่เป็นการมองที่หยุดอยู่เพียงแค่วัตถุ การมองการณ์ไกลในแง่ของความรอดของจิตวิญญาณ ต้องเป็นการมองให้ข้ามโพ้นวัตถุ และเพื่อจะมองให้ข้ามโพ้นวัตถุ ก็จำเป็นที่จะต้องใช้จิตมอง และจิตที่จะมองการณ์ไกลได้จริงๆ จะต้องเป็นจิตที่หลุดพ้นจากการยึดติดกับโลก ไม่มิฉะนั้นแล้วการมองนั้นก็ยังเป็นการมองการณ์ไกลที่จัดว่ายังไม่หลุดจากโลกอยู่ดี ส่วนจิตที่จะหลุดจากโลกได้ก็จะต้องเป็นจิตที่ได้รับการชำระล้าง โดยจิตของพระเจ้า

ส่วนการกล้าได้กล้าเสีย (Enterprise) เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ 2 ของการจะมีชีวิตที่รอดพ้น การที่จะไปสวรรค์ได้บุคคลผู้นั้นจะต้องยอมที่จะกล้าได้กล้าเสีย (Enterprise) เพื่อจะได้สิ่งหนึ่งก็ต้องยอมเสียอีกสิ่งหนึ่ง

“ผู้ที่หวงชีวิตของตนไว้ก็จะสูญเสียชีวิตนั้น แต่ผู้ที่ยอมเสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เราจะพบชีวิตนั้นอีก” (มัทธิว 10:39) พระเยซูเจ้าสอนให้เรารู้จักกล้าได้กล้าเสีย เพื่อจะได้รับชีวิตนิรันดร

พระเยซูเจ้าเองยอมกล้าเสีย ที่จะสละเกียรติของพระเจ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ และเมื่อเป็นมนุษย์แล้วพระองค์ก็ยอมเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อจะได้สามารถไถ่กู้มนุษย์กลับคืนมา ยอมเสียแม้ชีวิตของพระองค์เอง

แต่สำหรับมนุษย์เรา เราอยากที่จะได้ แต่ไม่ยอมเสีย แต่เมื่อเราไม่ยอมเสีย สุดท้ายเราก็จะสูญทุกอย่าง

คนงานในพระวรสาร 2 คนแรก เป็นคนที่กล้าได้กล้าเสีย (Enterprise) โดยการเอาเงินไปลงทุน ยอมเสี่ยงกับการสูญเสีย แต่ก็ท้าทายการได้กำไร แต่คนงานคนสุดท้ายนั้น ทั้งขี้เกียจ และ ขี้ขลาด ซึ่งจุดจบก็คือเขาได้รับคำตำหนิอย่างรุนแรงพร้อมทั้งการลงโทษจากเจ้านายอย่างสาสม

เราจะทำอย่างไรกับชีวิตคริสตชนของเราที่ถูกเรียกร้องให้มี การมองการณ์ไกล (Foresight) และ การรู้จักกล้าได้กล้าเสีย (Enterprise)

มีคริสตชนหลายคนดูเหมือน ทำงานทุ่มเทชีวิต ทำตามคำสั่งและคำแนะนำของพระเยซูเจ้า และพระศาสนจักร แต่ถ้าสำรวจตรวจตราอย่างละเอียดถี่ถ้วนใกล้ชิด เจาะให้ลึกถึงเป้าหมายและจุดมุ่งหมายแท้ๆของการทำงานของเขาเหล่านั้น เราก็จะพบว่าพวกเขาลึกๆ ก็ยังคงหวังประโยชน์โภคผลที่จะเกิดในแผ่นดินนี้ ได้แก่ชื่อเสียง ที่จะถูกจารึกไว้ในความทรงจำของบุคคลทั่วไป ผลงานที่จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลังเป็นที่จดจำและกล่าวขานไปอีกนานแสนนาน จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่ทำแม้จะเป็นความดีงามที่เกิดจากจิตที่ปรารถนาดี จิตที่มองการณ์ไกล มุ่งปรารถนาจะพัฒนาโลกและสังคม แต่จริงๆแล้วจิตที่ดูเหมือนดีนั้นก็ยังคงเป็นจิตที่มีตะกอน ตามที่ท่านพุทธทาสได้เขียนไว้ จิตที่มีตะกอน หรือ จิตตกตะกอน เป็นจิตที่ดูเหมือนสะอาด แต่ไม่สะอาดจริงๆ ยังมีความนิยมชมชอบและความติดยึดอยู่กับวิถีทางของโลก รวมทั้งค่านิยมทางโลก แม้จะไม่มากแต่ก็ยังมีอยู่ ซึ่งจิตที่มีตะกอน ดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปก็จะมุ่งพัฒนาไปสู่การปรุงแต่งความรู้สึกถึงตัวกู-ของกู ถ้ามิได้มีการ กำจัดตะกอนนั้นออกไปจากชีวิต อย่างจริงจัง ดังนั้นนักบุญหลายท่านจึงสอนให้รู้จัก ตัดให้ขาด เผาให้หมด เพราะถ้าจิตยังมีตะกอนจิตนั้นจะพัฒนาตัวของมันเองไปสู่ ความรู้สึกถึงตัวกู-ของกู ดังที่กล่าวไว้ และความรู้สึกถึงตัวกู-ของกู ดังกล่าวก็จะกลายเป็นอุปาทาน ของจิตที่ดูเหมือนดีๆ แต่ยังไม่หลุดพ้นนั่นเอง

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube