• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2014-11-23 “ข้อสังเกต” (ต่อ)

สวัสดีครับ

สัปดาห์ละครั้ง อาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2557

(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)

3.  กลุ่มที่มาเพราะมีคนบังคับให้มากลุ่มนี้มักจะได้แก่เด็กๆและเยาวชนที่บิดามารดาปู่ย่าตายายพามาเรียกว่าปลุกขึ้นมาจากที่นอนจัดการให้ไปเตรียมตัวจะมีการบ่นมีดุกันบ้างถ้าชักช้า

            หรือบางครั้งทางโรงเรียนทางคุณพ่อซิสเตอร์หรือครูคำสอนสั่งไว้และต้องมีหลักฐานยืนยันว่าได้ไปวัดจริงๆคือต้องมีการไปขอลายเซ็นคุณพ่อผู้ถวายบูชาขอบพระคุณด้วยบางแห่งก็ให้สรุปบทเทศน์มาด้วย… เรื่องนี้มีเรื่องเล่าสนุกๆเหมือนกันนักเรียนไม่ได้สรุปเรื่องบทเทศน์ของคุณพ่อมาส่งครูคำสอนก็ถามว่าทำไมคำตอบของเด็กป.3 ก็น่าจะเชื่อถือได้พอสมควรคือเด็กเขาบอกคุณครูว่า“ผมจดไม่ทัน… คุณพ่อเทศน์อะไรไม่รู้เรื่องเลย…” จากคำตอบเล่นเอาคุณครูหน้าแดงไปเหมือนกันเพราะในใจคิดว่า… โชคดีนะเนี่ยที่คุณพ่อเค้าไม่ได้ยิน!!

            ในกลุ่มนี้ก็มีข้อดีอยู่บ้างกล่าวคือเป็นเด็กๆนี้เองที่ทำให้บรรดาผู้ใหญ่ต้องมาวัดเพราะต้องพาเด็กๆมามิฉะนั้นเด็กๆจะไม่ยอมเพราะเดี๋ยวไม่มีลายเซ็นคุณพ่อเรียกว่าเด็กบังคับผู้ใหญ่ให้ไปวัดเพราะต้องตามใจลูกหวังว่าประเภทนี้คงมีไม่มากนะครับ

ที่กล่าวมาทั้ง3 กลุ่มนี้เกี่ยวกับเหตุผลของการมาวัดวันนี้อยากจะกล่าวถึงข้อสังเกตขณะที่มาถึงวัดแล้วเขาทำอะไรกันบ้างซึ่งพอจะเห็นได้ดังนี้

1.  กลุ่มแรกพอถึงวัดแล้วก็รีบเข้าวัดทันทีสวดภาวนาเงียบๆส่วนตัวเพราะมิสซายังไม่เริ่มบางคนก็ไปรับศีลอภัยบาปบางคนก็ไปสวดต่อหน้ารูปพระเยซูรูปแม่พระหรือรูปนักบุญเรียกว่าใครเห็นก็รู้สึกดีๆว่าเขามีความเชื่อความศรัทธาดีกลุ่มนี้จะตั้งใจร่วมพิธีมิสซาอย่างดีตอบรับกับพระสงฆ์สวดร้องเพลงด้วยความตั้งใจตลอด

2.  กลุ่มที่สองมาถึงวัดตรงเวลาเหมือนกันหรือก่อนเวลาบ้างก็มีจะพบปะทักทายคนรู้จักหรือยิ้มให้กับคนที่คุ้นเคยบางคนก็ไม่สนใจใครยังคงนั่งอยู่ในรถหรือตามม้านั่งหน้าวัดข้างวัดหรือบางครั้งก็เข้าไปนั่งในวัดแต่สิ่งที่ทำนั้นดูจะไม่เกี่ยวกับการภาวนาจะนั่งกดไอโฟนไอแพดเล่มเกมส์เล่นไลน์ฯลฯแบบไม่สนใจใครแบบที่เราเห็นกันทั่วๆไปยังดีที่เมื่อถึงเวลาพิธีก็จะปิดเครื่องมือสื่อสารต่างๆและร่วมพิธีอย่างดีตลอดแต่ก็มีเหมือนกันที่ยังไม่ยอมปิดคงปิดแต่เสียงยังคงเล่นต่อเป็นต้นตอนพระสงฆ์เทศน์ก็มีให้เห็นกันอยู่เป็นประจำ

3.  กลุ่มที่สามมาถึงวัดแล้วมักจะไม่นั่งแถวหน้าจะนั่งอยู่หลังๆซึ่งเรื่องนี้เป็นนิสัยของคนไทยที่ชอบนั่งหลังๆอยู่แล้วเราจะพบเห็นโดยทั่วไปแม้ในการประชุมการสัมมนาที่มิได้ระบุที่นั่งก็เป็นเช่นเดียวกันเราจึงได้ยินคุณพ่อหรือสภาภิบาลเชิญให้ขึ้นไปนั่งข้างหน้ากันอยู่เป็นประจำความจริงก็ไม่ใช่เป็นเรื่องผิดเรื่องแย่อะไรจะนั่งข้างหน้าหรือข้างหลังเพียงแต่ว่าถ้านั่งรวมกันใกล้ชิดกับพระแท่นบูชาดูจะอบอุ่นและร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันเด่นชัดขึ้นแม้เป็นเรื่องภายนอกก็ตาม

ก่อนจะจบมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือเห็นหลายคนเวลามีคนมาขอนั่งด้วยเพราะด้านในของม้านั่งยังพอมีที่ว่างอยู่แทนที่จะยิ้มรับและขยับที่ให้สักหน่อยกลับทำหน้าบึ้งซะอีก…เฮ้อ!!

สวัสดีครับ.

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube