• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2015-02-01 ฉบับที่ 5

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร
พระศาสนจักรที่กรุงเยรูซาเลมทำการฉลองการถวายพระเยซูคริสตเจ้าที่พระวิหาร  ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ คือ  40 วันหลังจากการบังเกิดของพระองค์ เพราะในขณะนั้นพระศาสนจักรตะวันออกฉลองพระคริสตสมภพในวันที่ 6 มกราคม การที่ใช้ช่วงระยะเวลาห่างกัน 40 วันนี้เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมบัญญัติของพวกชาวฮีบรู    ซึ่งได้กำหนดระยะเวลานี้เอาไว้ระหว่างการเกิดมาของเด็กทารกกับการที่ผู้เป็นมารดาต้องชำระล้างตัวเองสะอาดบริสุทธิ์ แต่ว่าเมื่อวันฉลองการถวายพระเยซูคริสตเจ้าที่พระวิหารได้แพร่หลายเข้ามาในพระศาสนจักรตะวันตกในศตวรรษที่ 6 และที่  7   วันฉลองนี้ได้เลื่อนมาอยู่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เพราะเราฉลองการบังเกิดมาของพระเยซูคริสตเจ้าในวันที่ 25 ธันวาคม 
ที่กรุงโรม   การฉลองนี้ได้นำเอาพิธีกรรมเป็นทุกข์ถึงบาปผนวกเข้ามาไว้ด้วย ซึ่งในเวลานั้นทางศาสนาก็ได้มีพิธี  “ชำระล้างตัวเองให้บริสุทธิ์” เหมือนกัน แต่พระศาสนจักรได้นำเอาพิธีนี้มาใช้เพื่อแสดง ให้เห็นจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปหรือที่ตรงข้ามกัน ค่อยเป็นค่อยไป ที่สุดวันฉลองนี้ได้นำเอาพิธีแห่ที่แสดงความเป็นทุกข์ถึงบาปมาใช้ด้วยเพื่อเป็นการเลียนแบบการถวายพระเยซูคริสตเจ้าที่พระวิหาร  ในศตวรรษที่ 7 พระสันตะปาปา แซร์ยีอุส ซึ่งมีเชื้อสายเป็นคนทางพระศาสนจักรตะวันออก ได้สั่งให้แปลบทภาวนาภาษากรีกของวันฉลองนี้มาเป็นภาษาลาตินและได้นำมาใช้ในพิธีแห่ของจารีตโรมันในศตวรรษที่ 10 พระศาสนจักรในประเทศโกล (ประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน) ได้จัดให้มีพิธีเสกเทียนอย่างสง่าสำหรับใช้ในพิธี แห่นี้ด้วย และถัดมาอีกหนึ่งศตวรรษได้มีการนำเอาบทขับร้องที่เรารู้จักกันดีในเวลานี้คือ 
Lumen ad Revelationem และบท Nunc Dimittis ของผู้เฒ่าซีเมออนมา ใช้ในพิธีวันฉลองนี้ด้วย 
การฉลองการถวายพระเยซูคริสตเจ้าที่พระวิหารมิใช่เป็นธรรมล้ำลึกแห่งความชื่นชมยินดี  (ดังในบทรำพึงของการสวดสายประคำ 50 เม็ดแรก)   แต่ว่าเป็นรหัสธรรมแห่งความทุกข์โศกแห่งความทรมาน เพราะพระนางมารีย์ได้ถวายพระบุตรพระเยซูคริสตเจ้าแด่พระเจ้าพระบิดา
อย่าลืมวาการยกถวายให้เป็นการเสียสละอย่างหนึ่ง 
การฉลองนี้เป็นการเริ่มต้นธรรมล้ำลึกแห่งความทุกข์ทรมานของพระนางมารีย์ ซึ่งจะบรรลุถึงที่สุด ณ เชิงไม้กางเขน ไม้กางเขนจะเป็นดาบที่เสียบแทงดวงใจของพระนาง
บุตรหัวปีชาวฮีบรูทุกคนเป็นสัญลักษณ์ที่คงอยู่ตลอดไป และเป็นการระลึกถึงการช่วยให้พ้นจากการ เป็นทาสอยู่ทุกๆ วัน
บุตรหัวปีของชาวฮีบรูในประเทศอียิปต์ได้รับการไว้ชีวิตไม่ได้สัมผัสกับความตาย  แต่ว่าพระเยซูคริสตเจ้าบุตรหัวปีเช่นเดียวกัน แต่พระองค์ไม่ได้รับการไว้ชีวิต โดยอาศัยพระโลหิตของพระองค์ พระองค์จะนำอิสรภาพใหม่และขั้นเด็ดขาดมาให้เราทุกคน
พฤติกรรมของพระนางมารีย์ในการถวายพระบุตรนี้ ได้รับการแปลออกมาเป็นการปฏิบัติทางพิธีกรรมในการร่วมถวายบูชามิสซาของเราทุกๆ ครั้ง  เมื่อปังและเหล้าองุ่นอันเป็นผลิตผลของแผ่นดินและงานของมนุษย์ ได้ถูกนำกลับมาให้เราในรูปของพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า  และนั่นแหละเราได้มีสันติภาพกับพระองค์ เพราะว่าเราได้พิศเพ่งดูการช่วยให้รอดของพระองค์ และได้เจริญชีวิตรอคอยการกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระองค์
 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube