• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2015-02-15 ฉบับที่ 7

เทศกาลมหาพรต
ตัวเลข 40 แห่งเทศกาลมหาพรต มีความหมายต่อคริสตชนในหลายแง่มุม ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระลึกถึงการอดอา หาร  40  วัน ของพระเยซูเจ้าในถิ่นทุรกันดารก่อนที่ปฏิบัติภารกิจของพระองค์  ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ชาวอิสราเอลต้องรอนแรมอยู่ในถิ่นทุรกันดารถึง 40 ปี ในสมัยโมเสส  ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงกระทำให้มีฝนตกติดต่อกัน  40  วัน 40 คืน ในสมัยของโนอาห์  ส่วนโมเสสก็ได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาซีนายเป็นเวลา 40 วัน เพื่อรับพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า นอกนั้นยังรวมไปถึง 40 วัน  ของการที่ประกาศกโยนาห์ประกาศ การกลับใจแก่ชาวเมืองนินะเวห์ 
สำหรับคริสตชน  40  วัน แห่งเทศกาลมหาพรต จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการดำเนินชีวิตร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าในพระทรมานบนเส้นทางแห่งไม้กางเขนของพระองค์ เพื่อจะได้กลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์  เพราะฉะนั้น เทศกาลมหาพรตจึงเป็นเทศกาลแห่งการสำนึกในความผิดบาปแล ะการกลับใจเสียใหม่ เป็นเทศกาลแห่งการสำรวจตนเองว่า ได้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อพระเยซูเจ้าพระผู้ไถ่ของเราหรือไม่
ข้อกำหนดของพระศาสนจักรในเทศกาลมหาพรต
เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามจิตตารมณ์ของเทศกาลมหาพรต ขอให้ปฏิบัติตามจิตตารมณ์ของพระศาสนจักรดังต่อไปนี้
1. ตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า คริสตชนทุกคนต้องชดเชยใช้โทษบาปของตนตามวิธีการของแต่ละคนและเพื่อการปฏิบัติร่วมกัน จึงได้กำหนดวันชดเชยใช้โทษบาปซึ่งคริสตชนจะได้สวดภาวนา ปฏิบัติกิจเมตตาปรานีและความรักเป็นพิเศษ เสียสละตนเองและทำหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์ (ม.1249)           
2. ทุกวันศุกร์ตลอดปี และทุกวันในเทศกาลมหาพรต เป็นวันพลีกรรมในพระศาสนจักรทั่วไป (ม.1250)          
3. ทุกวันศุกร์ตลอดปี ยกเว้นวันฉลองใหญ่ เป็นวันอดเนื้อหรืออดอาหารอื่นตามข้อกำหนดของสภาพ ระสังฆราชฯ วันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันอดเนื้อและอดอาหาร (ม.1251)
4. คริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ต้องอดเนื้อ และคริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 59 ปีบริบูรณ์ ต้องอดอาหาร
เป็นหน้าที่ของผู้อภิบาลและบิดามารดาที่จะต้องอบรมผู้น้อยที่ยังไม่ต้องถือกฎการอดเนื้อและอดอาหารให้เข้าใจจิตตารมณ์ของการพลีกรรม ( ม.1252) สำหรับประเทศไทย  อาศัยอำนาจตามมาตรา 1253 ของกฎหมายพระศาสนจักร สภาพระสังฆราชฯ จึงกำหนดวิธีการอดเนื้อและอดอาหารดังต่อไปนี้
การอดเนื้อ
ผู้ที่ได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามกำหนดนี้ ถือว่าได้ถือตามกฎการอดเนื้อ คือ 
ก.อดเนื้อ
ข.ปฏิบัติกิจศรัทธานอกเหนือไปจากที่เคยปฏิบัติ อาทิ เดินรูป 14 ภาค เฝ้าศีลมหาสนิท สวดสายประคำฯลฯ
ค.ปฏิบัติกิจเมตตาปรานี เช่น ให้ทานคนจน เยี่ยมคนเจ็บป่วย ฯลฯ
ง.งดเว้นอาหารหรือสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ อาทิ งดดื่มสุราและเบียร์  งดสูบบุหรี่
จ.รู้จักอดออมและละเว้นความฟุ้งเฟ้อต่าง ๆ
การอดอาหาร
หมายถึง การรับประทานอาหารอิ่มเพียงมื้อเดียว
  พระเจ้าตรัสว่า : “การถืออดอาหารอย่างที่เราต้องการเป็นดังนี้ แก้โซ่ที่ล่ามคนที่เจ้ากดขี่เสียเถิดและเลิกทำสิ่งที่ไม่ยุติธรรม  ปล่อยคนที่เจ้ากดขี่ข่มเหงไปเสีย แบ่งปันอาหารให้ผู้ที่หิวโหย  เปิดประตูรับคนยากจนไร้ที่อยู่อาศัย  ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ที่ไม่มีใส่  อย่าละเลยต่อการช่วยเหลือญาติพี่น้องของเจ้า” (อสย.58 : 6 – 7)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube