• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2015-03-22 แพะรับบาป

แพะรับบาป
เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต และเป็น “เวลาที่บุตรแห่งมนุษย์จะได้รับพระสิริรุ่งโรจน์มาถึงแล้ว”
พระสิริรุ่งโรจน์ที่พระเยซูคริสตเจ้า บุตรแห่งมนุษย์จะได้รับโดยผ่านความตาย และความตายที่พระองค์ต้องรับนั้น ไม่ใช่ความตายแบบธรรมดาของคนทั่วไป สำหรับพระเยซูเจ้าความตายของพระองค์เป็นความตายที่ไม่ธรรมดาเป็นอย่างยิ่ง
เพราะยิ่งใกล้เวลาที่พระองค์จะต้องถูกตรึงบนไม้กางเขนมากขึ้นเท่าไร ความรู้สึกกลัวและความรู้สึกสับสนของพระองค์ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเป็นทวีคูณ
สำหรับนักโทษที่ติดคุกและต่อมาถูกตัดสินประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้วยการถูกยิงเป้า ถูกตัดศีรษะ ถูกนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า หรือแม้ถูกฉีดสารพิษให้ตาย นักโทษผู้นั้นจะมีความรู้สึกกลัว และเครียด และยิ่งวันประหารชีวิตใกล้เข้ามา ความกลัวและความเครียดจะค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
แต่สำหรับพระเยซูเจ้า ความกลัว ความเครียด และ ความสับสนของพระองค์มีมากกว่านักโทษปกติทั่วๆไปหลายร้อยหลายพันเท่า เพราะความตายของพระองค์เป็นความตายที่ไม่ธรรมดา มันเป็นความตายของผู้บริสุทธิ์
ความกลัวของโจรที่ทำความผิดยังน้อยกว่าความกลัวของพระเยซูเจ้าผู้ทรงมิได้กระทำความผิดอันใดเลยแต่ต้องมาตายเพราะความผิดของคนอื่น
ดังนั้นพระเยซูจึงพูดออกมาเพื่อแสดงความรู้สึกที่พระองค์มีอยู่ภายในส่วนลึกของจิตวิญญาณของพระองค์
“บัดนี้ ใจของเราหวั่นไหว เราจะพูดอะไร จะพูดหรือว่า ข้าแต่พระบิดาเจ้า โปรดช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากเวลานี้” จากนั้นทรงหยุดเล็กน้อยและพูดต่อไปว่า “แต่ข้าพเจ้ามาก็เพื่อเวลานี้”
พระเยซูเจ้าทรงพูดในทำนองเดียวกันนี้ อีกครั้งหนึ่งอันที่จริงแล้วอีก 3 ครั้งในสวนเกทเสมนี “พระบิดาเจ้าข้า ถ้าเป็นไปได้ขอให้ถ้วยนี้พ้นข้าพเจ้าไปเถิด ถ้าเป็นไปไม่ได้ ก็ขออย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด” (มัทธิว 26:39)
และก่อนจะสวดบทภาวนานี้ 3 ครั้ง พระองค์ยังระบายความรู้สึกของพระองค์ให้ศิษย์ทั้ง 3 ได้ยิน “ใจเราเป็นทุกข์แทบสิ้นชีวิต” (มัทธิว 26:38)
นี่เป็นความรู้สึกของคนที่ต้องตายทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์
แต่ความตายเช่นนี้แหละเป็นความตายที่ช่วยโลกให้รอดพ้น
และพระเยซูทรงสอนบรรดาศิษย์ของพระองค์ รวมทั้งพวกเราทุกคนให้ทำแบบเดียวกันกับพระองค์ คือทรงสอนพวกเราให้รู้จักทำตัวเป็นแพะรับบาป เมื่อถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องเป็น
การต่อสู้กับความอยุติธรรม บาปและความชั่วร้ายต่างๆต้องกระทำเมื่อสถานการณ์เรียกร้อง แต่สิ่งสำคัญสุดของการต่อสู้ คือ การไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งพระเยซูเจ้าเองทรงกระทำเป็นตัวอย่างตลอด ชีวิตของพระองค์ พระองค์ทรงชี้ผิดชี้ถูกให้มนุษย์ได้มองเห็น พระองค์พูดอย่างตรงไปตรงมาจนหลายครั้งคนฟังทนไม่ได้ และเมื่อใดก็ตามที่จะเกิดความรุนแรง พระองค์ก็ทรงหลีกหนี และแฝงเร้นตัวของพระองค์หายไปในฝูงชน แต่เมื่อใดก็ตามที่ความอยุติธรรมหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ จนต้านทานไม่ไหว พระองค์ก็ทรงยอมตัวของพระองค์ เป็นแพะรับบาป เป็นเหยื่อบริสุทธิ์ “ถ้าเมล็ดข้าวไม่ได้(ยอม)ตกลงในดินและตายไป มันก็จะเป็นเพียงเมล็ดเดียวเท่านั้น แต่ถ้ามัน(ยอม)ตาย มันจะเกิดผลมากมาย” (ยอห์น 12:24)
วีรกรรมของพระเยซูเจ้าได้กลายเป็นวีรกรรมที่มนุษย์จำนวนหนึ่งในทุกยุคทุกสมัยยอมทำตาม พวกเขาเหล่านั้นได้กลายเป็นมรณสักขี ทั้งอย่างเปิดเผยและอย่างลับๆจนถึงปัจจุบัน แพะรับบาป ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน และจะมีต่อๆไปจนถึงวันสิ้นโลก เพราะยังมีผู้คนที่ยังคงยอมฟังคำเตือนของพระเยซูเจ้าประโยคนี้ “ผู้ใดรับใช้เรา ผู้นั้นจงตามเรามา”
 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube