• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2015-10-18 การไถ่กู้และความทุกข์ทรมานทางกาย

การไถ่กู้และความทุกข์ทรมานทางกาย

มักจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจอยู่เสมอว่า “ทำไมพระเยซูเจ้ามาไถ่กู้เพื่อช่วยมนุษย์ให้พ้นจากบาป พระองค์จะทรงไถ่บาปแบบไม่ต้องเจ็บปวดไม่ได้หรือ?” “ทำไมพระองค์จึงต้องมาลำบากถูกทรมาน ถูกเฆี่ยนตี ถูกถ่มน้ำลายรด ถูกด่าว่า และสุดท้ายต้องถูกตรึงกางเขนอย่างเจ็บปวด น่าอับอาย?” แถมบทอ่านที่ 1 จากหนังสือประกาศกอิสยาห์ บทที่ 53 ข้อ 10 ถึง 11 วันนี้ยังเริ่มต้นบทอ่านด้วยข้อความว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าพอพระทัยให้เขาถูกขยี้ด้วยความทุกข์ทรมาน เมื่อเขามอบตนเพื่อชดเชยบาป”

ทำไมองค์พระผู้เป็นเจ้าจะต้องพอพระทัยในการที่พระผู้ไถ่บาปจะต้องถูกขยี้ในความทุกข์ทรมานนั้นด้วย อีกทั้งตัวพระเยซูเจ้าเองยังกล่าวอีกว่าตัวของพระองค์เอง “จะต้องดื่มถ้วย” ที่ตัวของพระองค์เองก็ไม่อยากจะดื่มเท่าไรนักตามภาษามนุษย์ ความรู้สึกดังกล่าวแสดงออกอย่างชัดเจนในสวนเกทเสมนีนั่นเอง

ประการแรกสุด สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจก็คือ “บาปและความตาย” เกี่ยวพันกันอย่างสนิทแนบแนบ (ฮีบรู 2:14) เพราะบาปนำมาซึ่งความตาย นอกจากนั้นบาปยังเกี่ยวข้องอย่างแยกไม่ออกจากความเจ็บปวดทุกข์ทรมานฝ่ายร่างกายอีกด้วย

เพราะฉะนั้น เมื่อยังมีบาปอยู่ในโลก ก็ย่อมมีความเจ็บปวดความทุกข์ทรมานและความตายอยู่ในโลก ในเวลาเยวกัน เวลาทำบาปมนุษย์ทำร้ายพระเป็นเจ้า และทำร้ายซึ่งกันและกัน การทำร้ายดังกล่าวหมายรวมถึงการทำร้าย 1)ด้านจิตใจ 2)ด้านความรู้สึก และ 3)ด้านร่างกายของฝ่ายตรงข้าม จะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้ง 3 อย่าง

ตราบใดที่บาปยังครอบครองโลก หรือ พูดให้ตรงกว่านั้นมารยังครอบครองโลกอยู่ ความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวดด้านจิตใจ ด้านความรู้สึกและด้านร่างกายก็ยังจะคงดำเนินอยู่ต่อไปในชีวิตของกันและกัน

เมื่อบาปนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดทางจิตใจ ด้านความรู้สึก ด้านฝ่ายร่างกาย และสุดท้ายนำไปสู่ความตาย การชดเชยและการไถ่กู้ของผู้ทำหน้าที่ชดเชยและไถ่กู้ก็จะต้องผ่านกระบวนการอันเดียวกัน

พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นพระผู้ไถ่กู้และชดเชยบาปจึงจำเป็นต้องรับทุกข์ทรมานฝ่ายจิตใจด้านความรู้สึก รวมทั้งความเจ็บปวดฝ่ายร่างกาย และสุดท้ายความตายในลักษณะเดียวกันด้วย

เราผู้เป็นคริสตชนผู้ได้รับการช่วยให้รอดพ้นด้วยการไถ่กู้ของพระเยซูเจ้า รอดพ้นจากการเป็นทาสของบาปและมาร แล้วผ่านทางศีลล้างบาป แต่ตราบใดที่เรายังคงมีชีวิตอยู่ในโลก เราก็ยังคงอยู่ภายใต้เงาแห่งมารและบาป และยังไม่รอดพ้นเสียทีเดียว และถ้าเราไม่ระวังตัว ปล่อยตัวให้เงาของมารและบาปครอบงำชีวิตของเรา เราก็จะเริ่มต้นสร้างความเจ็บปวดด้านจิตใจ ด้านความรู้สึก รวมทั้งด้านร่างกายให้แก่ผู้อื่นต่อๆไป และเลวร้ายที่สุด บาปและมารในตัวเราอาจจะทำให้ผู้อื่นต้องสูญเสียชีวิตไปทั้งทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณได้อีกด้วย

หยุดบาป หยุดการเป็นทาสของมาร เพื่อเราจะได้หยุดทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นต้องสูญเสียชีวิต

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube