• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2015-12-13 ต่อ

สวัสดีครับ

สัปดาห์ละครั้ง อาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม 2557

(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)

          การได้รับการสถาปนาพระฐานานุกรมหมายถึงการได้รับการยกระดับสภาพของการปกครองของพระศาสนจักรจากมิสซังขึ้นเป็นสังฆมณฑลซึ่งมีอำนาจบริหารปกครองมากขึ้นมีประมุขสังฆมณฑลอย่างเป็นทางการสามารถบริหารจัดการเรื่องต่างๆได้มากขึ้นเกือบจะเต็มรูปแบบมีเพียงบางเรื่องเท่านั้นที่ต้องให้พระศาสนจักรสากลตัดสินซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นเครื่องหมายว่าพระศาสนจักรท้องถิ่นแห่งนั้นเติบโตเข้มแข็งดูแลตนเองได้แล้วถ้าจะเปรียบเทียบกับชีวิตคนก็พอจะบอกได้ว่า“เป็นผู้ใหญ่แล้ว”แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีความสัมพันธ์กับพระศาสนจักรสากลเหมือนกับลูกที่ยังคงยึดติดกับพ่อแม่ของตนตลอดไปนั่นเอง

          ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือระหว่างปีศักดิ์สิทธิ์ค.ศ. 2015 นี้เราทุกคนจึงต้องสำนึกและตระหนักในพระคุณความเมตตาและความรักของพระที่มีต่อเราในทุกประเด็นและด้วยเหตุนี้เองอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯโดยคณะกรรมการบริหารฯจึงมีแนวทางรณรงค์เชื้อเชิญให้พี่น้องทุกคนในอัครสังฆมณฑลฯทั้งพระสงฆ์นักบวชและฆราวาสได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในการให้ความสำคัญกับหัวข้อของการสมัชชาฯที่กำลังดำเนินอยู่คือ“ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่”และขอให้เน้นไปที่“ครอบครัว” ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของชีวิตการเป็นศิษย์พระคริสต์ที่แท้จริงเพราะในครอบครัวประกอบด้วยสมาชิกหลากหลายครบครันคือมีผู้อาวุโสปู่ย่าตายายมีบิดามารดามีเยาวชนลูกหลานมีพี่ป้าน้าอาตลอดจนอาจจะมีผู้ช่วยเหลือดูแล(คนงาน)

          เพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคณะกรรมการบริหารฯจึงเสนอให้ใช้4 หัวข้อหลักในการพัฒนาปรับปรุงชีวิตในครอบครัวนั่นคือ

1. การกลับใจหมายถึงการกลับมามองดูชีวิตของเราแต่ละคนว่าเราเป็น“ศิษย์พระคริสต์”อย่างแท้จริงหรือไม่มีความสัมพันธ์กับพระองค์อย่างไรเชื่อมั่นและเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์มากน้อยแค่ไหนโดยในภาคปฏิบัติจะขอให้ทุกเขตทุกวัดเอาใจใส่ให้ความสำคัญของ“ศีลอภัยบาป”ในแง่มุมของความรักและเมตตาของพระที่ทรงมีต่อเราให้เด่นชัดมากขึ้น

2. ศาสนสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งมีจำนวนมากกว่าครึ่งที่สามีภรรยานับถือศาสนาต่างกันทำอย่างไรให้อยู่ด้วยกันด้วยความรักความเป็นหนึ่งเดียวกันการอบรมก่อนแต่งงานเพียงระยะสั้นๆไม่น่าจะนำมาซึ่งความเข้าใจซึ่งกันและกันจริงๆได้ปัญหาเรื่องศาสนาอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยกในเวลาต่อมาก็เป็นได้ถ้าหากไม่ได้รับการชี้แนะและให้แนวทางที่ถูกต้อง

          …สวัสดีครับ.

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube