• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2016-01-10 ฉบับที่ 2

การรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม

พระสันตะปาปาได้กล่าวถึงกิจการและบุคคลแต่ละกลุ่มที่จะรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ดังนี้

1. การจาริกแสวงบุญ

คริสตชนที่แสวงบุญในสังฆมณฑลของตน ณ วัดหรือสักการสถานที่พระสังฆราชท้องถิ่นกำหนด หรือไปแสวงบุญที่กรุงโรม ณ มหาวิหารทั้ง 4แห่ง ที่กรุงโรม ได้แก่ มหาวิหารนักบุญเปโตร มหาวิหารนักบุญเปาโล มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารพระนางมารีย์รวมทั้ง วัดนักบุญลอเรนซ์นอกกำแพงกรุงโรม (Saint Lawrence Outside the Walls)วัดไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงเยรูซาเล็ม (The Church of the Holy Cross in Jerusalem)และวัดนักบุญเซบาสเตียนนอกกำแพงกรุงโรม(Saint Sebastian Outside the Walls)และสักการสถานอีกสองแห่ง คือ สักการสถานความรักของพระเจ้า (Shrine of Divine Love) และวัดพระจิต (the Church of Santo Spirito in Sassia)และมหาวิหารในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่ตามธรรมประเพณีเป็นสถานที่แสวงบุญเพื่อรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์

• พระคุณการุณย์ที่คริสตชนได้รับในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม จะต้องเป็นประสบการณ์ให้เห็นถึงพระเมตตาของพระเจ้า

• เพื่อรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ มีการเดินจาริกแสวงบุญสั้นๆ ไปยังประตูศักดิ์สิทธิ์ (ประตูแห่งพระเมตตา) เป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่จะกลับใจอย่างลึกซึ้ง

2. สำหรับคริสตชนที่ไม่สามารถจาริกแสวงบุญมายังประตูศักดิ์สิทธิ์ได้ (ผู้ป่วย คนชรา ผู้ที่อยู่โดดเดี่ยว ฯลฯ)

• อดทนยอมรับความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมาน เพื่อจะได้สนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า ผู้ทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์ และกลับคืนชีพ ซึ่งให้ความหมายถึงคุณค่าของความเจ็บป่วย และการอยู่อย่างโดดเดี่ยว การดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อและความหวังอย่างชื่นชมยินดี ในการทดลองนี้

• การรับศีลมหาสนิท หรือการร่วมมิสซาและสวดภาวนากลุ่ม แม้แต่โดยการร่วมพิธีผ่านสื่อ

3. สำหรับนักโทษ

• กลับใจ ตระหนักถึงความผิดที่ได้ทำ ปรารถนาที่จะออกมาสู่สังคม และชดเชยเพื่อสัมผัสพระเมตตาของพระบิดาต่อผู้วอนขอการอภัยจากพระองค์

• พวกเขาอาจได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในวัดน้อยของเรือนจำ

• อาจโดยท่าทีของการยกความคิดจิตใจขึ้นหาพระบิดาและภาวนาต่อพระองค์ ทุกครั้งที่ก้าวข้ามธรณีประตูของห้องขัง (ให้ความหมายแก่พวกเขาถึงการก้าวผ่านประตูศักดิ์สิทธิ์) เพราะพระเมตตาของพระเจ้าสามารถเปลี่ยนหัวใจ และเปลี่ยนห้องขังให้กลายเป็นประสบการณ์ของอิสรภาพ (จากบาป)

4. ทุกครั้งที่แต่ละคนทำงานเมตตาจิตด้านจิตใจและงานเมตตาจิตด้านร่างกาย(spiritual and corporal works of mercy) หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น

งานเมตตาจิตด้านจิตใจ คือ การสอนผู้ไม่รู้ การให้คำปรึกษาแก่ผู้สงสัย การบรรเทาผู้มีความทุกข์ การตักเตือนคนบาป การอดทนผู้กระทำผิด การให้อภัยแก่ทุกคนที่ทำร้าย และการสวดภาวนาให้ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่สิ้นใจไปแล้ว

งานเมตตาจิตด้านร่างกายคือ การให้อาหารคนหิวโหย การให้น้ำดื่มแก่ผู้กระหาย การให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม การให้ที่พักแก่ผู้ไร้ที่อยู่ การเยี่ยมผู้ป่วย การเยี่ยมผู้ถูกจองจำ และการฝังศพผู้ล่วงลับ

5. การภาวนาเพื่อผู้ล่วงลับโดยระลึกถึงเขาในพิธีบูชาขอบพระคุณ (ในความเป็นหนึ่งเดียวของสหพันธ์นักบุญ) ภาวนาเพื่อเขา เพื่อพระพักตร์อันเมตตาของพระบิดาเจ้า จะได้ปลดปล่อยเขาจากบาปทั้งปวง และรับเขาเข้าสู่สันติสุขนิรันดร

เงื่อนไขในการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม คือ

1. มีเจตนาที่จะรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์

2. ปฏิบัติกิจการที่กล่าวถึงข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่พระสันตะปาปาทรงแนะนำ

3. สวดภาวนาบท “ข้าแต่พระบิดา” และบท “ข้าพเจ้าเชื่อ (สัญลักษณ์ของอัครสาวก)” อย่างศรัทธา

4. รับศีลอภัยบาป

5. รับศีลมหาสนิท

6. สวดเพื่อพระสันตะปาปาและตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา (ควรสวดบทภาวนาของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสสำหรับปีศักดิ์สิทธิ์ และจบการภาวนาด้วยการสรรเสริญพระเมตตาของพระเจ้าเช่น ด้วยการภาวนาว่า “ข้าแต่พระเยซูผู้ทรงพระเมตตา ข้าพเจ้าวางใจในพระองค์”)

หมายเหตุ

1. ต้องปฏิบัติให้ครบเงื่อนไข

2. พระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ เป็นพระคุณที่มีกำหนดให้รับได้วันละ 1ครั้ง และสามารถอุทิศพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์นี้แก่ผู้ล่วงลับได้ด้วย

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube