• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2016-01-24 เสกป่าช้า

สวัสดีครับ

สัปดาห์ละครั้ง อาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2559

          “เสกป่าช้า”เป็นคำพูดคุ้นหูจนแทบไม่ต้องอธิบายความหมายทุกคนทราบดีว่าเป็นกิจกรรมพิธีกรรมที่เกิดขึ้นปีละ2 ช่วงคือช่วงแรกแถวๆตรุษจีนคือเดือนกุมภาพันธ์หรือใกล้ๆกับวันพุธรับเถ้าเข้าเทศกาลมหาพรตอีกช่วงก็เป็นเวลาใกล้ๆกับวันระลึกถึงผู้ตาย2 พฤศจิกายนนั่นเองนิยมกระทำในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ใกล้ๆวันดังกล่าว

            สิ่งที่กระทำกันในวันเสกป่าช้าก็คือการนัดแนะกันในระหว่างญาติๆให้ไปรวมตัวกันที่สุสานของแต่ละแห่งที่มีบรรพบุรุษหรือญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้วฝังอยู่จึงทำให้เป็นการ“รวมญาติ”ไปในตัวยิ่งถ้าเป็นช่วงตรุษจีนด้วยยิ่งคึกคักกันเป็นพิเศษเพราะมีอั่งเปาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

            ประการที่สองคือมีการเตรียมเทียนเตรียมดอกไม้มาลัยสวยงามเพื่อไปจุดไปวางที่หลุมศพบางตระกูลบางหลุมใช้จ่ายเงินจำนวนมากเป็นพันเป็นหลายพันก็มีเมื่อไปถึงสุสานก็รีบไปที่หลุมศพไปวางดอกไม้จุดเทียนทักทายญาติพี่น้องคนรู้จักถามสารทุกข์สุกดิบกันตามประสาคนคุ้ยเคย

            หลายคนไปที่วัดไปสวดภาวนาแก้บาปเตรียมตัวรับศีลฯบางแห่งมีสินค้ามาจำหน่ายนานาชนิดทั้งอุปโภคและบริโภคและศาสนภัณฑ์เป็นสีสันอย่างหนึ่ง… หลายคนไปขอมิสซาไปทำบุญไปจ่ายค่าบำรุงสุสานครั้นถึงเวลามิสซาก็จะได้รับการขอร้องให้อยู่ในความสงบร่วมจิตร่วมใจภาวนาอุทิศบุญกุศลให้ผู้ล่วงลับบางแห่งจัดมิสซาที่สุสานเลยแต่หลายแห่งก็จัดมิสซาที่วัดเสร็จแล้วจึงไปที่สุสานเพื่อเสกหลุมศพอันนี้ไม่มีข้อห้ามอย่างไหนเหมาะสมก็ว่ากันไปดูเหมือนเหตุผลที่ถวายมิสซาที่วัดส่วนใหญ่จะเป็นมิสซากลางวันแดดร้อนในสุสานมันร้อนมากส่วนที่ถวายมิสซาที่สุสานจะเป็นการถวายมิสซาตอนเช้าๆหรือตอนค่ำๆเหตุผลก็เพราะไม่ร้อนและบรรยากาศได้ความรู้สึกไปอีกแบบหนึ่งยิ่งตอนค่ำๆมีแสงเทียนสวยงามทั้งสุสาน

            กิจกรรมเสกป่าช้าเป็นการกระทำเพื่อระลึกถึงผู้ล่วงลับสวดภาวนาวอนขอพระเป็นเจ้าเพื่อรับดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับให้ได้อยู่กับพระองค์ในสวรรค์บางครั้งบางคนอดคิดไม่ได้ว่าสวดกันมาหลายปีแล้วบัดนี้ท่านยังไม่ได้ไปสวรรค์อีกหรือหรือถ้าท่านไปสวรรค์แล้วคำภาวนาของเราไม่สูญเปล่าหรือเรื่องนี้จำได้ว่าเคยอธิบายไปบ้างแล้วว่าไม่ต้องกลัว“สวดฟรี”เพราะคำภาวนาของเราจะถูกเก็บไว้ในคลังแห่งบุญกุศลเพื่อผู้อื่นได้เหมือนกันเหมือนฝนที่ตกลงมาย่อมมีคุณค่าสำหรับทุกคนด้วยเพราะถ้ามีเหลือน้ำฝนเหล่านั้นก็จะไหลไปรวมกันอยู่ในเขื่อนถูกกักเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็นต่อไปไม่สูญเปล่าพูดถึงตรงนี้ทำให้คิดถึงเวลานี้ว่าปีนี้ฝนน้อยเกิดภาวะแล้งขาดน้ำความเดือดร้อนกำลังเกิดกับเราโดยเฉพาะชาวไร่ชาวนาเช่นกันสรุปว่าไม่ต้องกลัวว่าคำภาวนาจะสูญเปล่าหรอก…

            การทำบุญอุทิศแด่ผู้ล่วงลับในปัจจุบันนอกจากจะมีเทียนดอกไม้จุดตามหลุมศพแล้วคิดว่าการทำบุญอย่างอื่นๆก็สามารถอุทิศแก่ผู้ล่วงลับได้เหมือนกันเช่นการช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากเด็กกำพร้านักเรียนยากจนเป็นทุนการศึกษาฯลฯซึ่งคิดไปแล้วจะเกิดคุณค่ากว่าเทียนและดอกไม้ที่จุดวางตามหลุมอีกหรือเปล่า? สมัยก่อนการจุดเทียนตามหลุมศพเป็นภาระกับเจ้าหน้าที่คนทำความสะอาดอย่างมากเพราะเป็นเทียนแท่งน้ำตาเทียนไหลนองเก็บทำความสะอาดลำบากมากสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นเทียนแก้วง่ายหน่อย…

            เรื่อง“เสกป่าช้า”ยังมีข้อคิดอีกเยอะวันนี้ขอหยุดแค่นี้ก่อนจะนำมาเสนออีกในสัปดาห์หน้า…สวัสดีครับ.

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube