• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2016-01-31 “เสกป่าช้า”

สวัสดีครับ

สัปดาห์ละครั้ง อาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2559

            สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่อง“เสกป่าช้า”ไปบ้างแล้ววันนี้อยากจะต่ออีกสักหน่อยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วพูดถึงการจุดเทียนวางดอกไม้การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณการพรมน้ำเสกตามหลุมศพมีข้อคิดว่าถ้าหากมีการทำบุญอุทิศแก่ผู้ล่วงลับด้วยการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากที่อยู่รอบๆตัวเราอยู่ร่วมในสังคมกับเราด้วยโดยไม่ต้องเพิ่มรายจ่ายอะไรเพียงแค่ลดเทียนลดดอกไม้และนำเงินส่วนนั้นไปทำบุญเท่านั้นเอง

            เรื่องพิธีการ“จัดการ”กับศพของมนุษย์เรานั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อถือและประเพณีของแต่ละชาติแต่ละศาสนาคงจะไปบอกว่าพิธีของใครดีไม่ดีคงไม่ได้เช่นทางพุทธศาสนาให้วิธีเผาทางคริสต์ใช้วิธีฝังสำหรับชาวคริสต์ในประเทศไทยของเราเดี๋ยวนี้โดยเฉพาะคาทอลิกวิธีฝังลงในดินไม่ค่อยจะพบแล้วเพราะมีการทำหลุมด้วยคอนกรีตอย่างดีอาจจะอยู่ในดินบ้างโผล่ขึ้นมาบนดินบ้างก็ว่ากันไปไม่เหมือนสมัยก่อนที่ส่วนมากจะฝังลงในหลุมดินที่ขุดลงไปจะสังเกตว่าเขาจะทำเนินดินบนหลุมไว้สาเหตุเพราะเวลาผ่านไประยะหนึ่งโลงศพจะผุพังดินก็จะยุบลงไปพอดีกับพื้นดินด้านบนการฝั่งศพแบบนี้คล้ายๆกับของพี่น้องมุสลิมเหมือนกันเพราะเขาถือว่าให้ร่างกายนั้นสลายไปเร็วที่สุดเพราะเมื่อตายแล้วจะไปอยู่กับพระเจ้าเหมือนกันส่วนในปัจจุบันเรานิยมทำเป็นหลุมคอนกรีตอันนี้น่าจะมาจากประเพณีของทางจีนที่นิยมเก็บศพไว้ใน“ฮวงซุ้ย”บางแห่งทำเป็นอาคารเลยก็มียังเคยเห็นในข่าวว่ามีชนเผ่าบางเผ่ามีประเพณีการจัดการกับศพแบบแปลกๆ(ตามความคิดของเรา) คือเขาจะนำศพขึ้นไปบนยอดเขาแล้วทิ้งไว้อย่างนั้นให้เป็นอาหารของสัตว์บางแห่งใส่แพแล้วให้ลอยไปตามลำน้ำฯลฯ

            สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันหมดคือต่างเชื่อว่า“มีสภาพหลังความตาย”ทางพุทธเชื่อว่าจะมีการเวียนว่ายตายเกิดทางคริสต์เชื่อว่าจะรับการตัดสินและไปสวรรค์เป็นหนึ่งเดียวกับพระความเชื่อนี้เหมือนกับของทางอิสลามเหมือนกันและที่ตรงกันอีกคือสภาพหลังความตายนั้นจะดีหรือไม่ดีย่อมขึ้นกับ“กรรม”คือการกระทำการดำเนินชีวิตในโลกนี้ของคนนั้นว่าเป็นอย่างไรจึงมีคำพูดที่ว่า“กรรมตามสนอง”ซึ่งความหมายมีทั้งแง่ดีและไม่ดีแต่เวลาคนได้ยินคำนี้จะคิดไปในแง่ไม่ดีเสียมากกว่า…

            จากแนวคิดดังกล่าวในช่วงนี้ที่อยู่ระหว่างเทศกาลตรุษจีนมีการ“เสกป่าช้า” กันหลายๆแห่งจึงอยากเชิญชวนให้เราประกอบ“กรรมดี”เพื่อจะได้ไม่ต้องรอให้คนอื่นมาอุทิศส่วนกุศลให้เราเมื่อต้องจากโลกนี้ไป

            อีกประการหนึ่งถ้าใครจะไปเสกป่าช้าที่ไหนสิ่งที่น่าทำก็คือการสงบนิ่งภาวนาต่อหน้าหลุมศพของบรรพบุรุษและพยายามคิดถึงคำสั่งสอนคำพูดหรือแบบฉบับดีๆที่ผู้ล่วงลับบรรพบุรุษของเราได้เคยมอบให้เราและเราได้นำไปปฏิบัติกันมากน้อยแค่ไหน…

            และในที่สุด“หลุมในป่าช้าเตือนใจเราว่าต้องตายแน่แท้จะตายวันไหนอย่างไรไม่แน่ทั้งหนุ่มทั้งแก่ต้องตายสักวัน…”เป็นเพลงจากหนังสือ“คริสตังร้องเพลง”มีความหมายดีเตือนใจได้เหมาะเจาะจริงๆเสกป่าช้าปีนี้ขอให้ได้ข้อคิดติดตัวกลับบ้านกันคนละข้อสองข้อเพื่อปฏิบัติตามทำให้ชีวิตดีขึ้นเพื่อเสกป่าช้าปีต่อไปจะได้มีสิ่งดีๆไปรายงานให้บรรพบุรุษทราบ… สวัสดีครับ.

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube