• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2016-07-10 อิริยาบถต่าง ๆ ระหว่างมิสซา

เวลาเรามาร่วมบูชาพิธีกรรมพี่น้องเคยสังเกตไหมครับว่า“ทำไมจึงต้องมีอิริยาบถต่างๆระหว่างมิสซาไม่ว่าจะเป็นการยืนการนั่งการคุกเข่าฯลฯ” ทำไมพระศาสนจักรจึงไม่กำหนดให้มีท่าทางหรืออิริยาบถอย่างเดียวในพิธีกรรมเหตุผลสำคัญที่เป็นเช่นนี้เพราะพระศาสนจักรต้องการจะสื่อให้เราเห็นว่าพิธีกรรมนั้นไม่ใช่การกระทำส่วนตัวแต่เป็นการแสดงออกอย่างทางการของพระศาสนจักรซึ่งเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมทั้งกายและใจทั้งครบแด่พระเป็นเจ้าดังนั้นอิริยาบถต่างๆจึงจะต้องแสดงออกถึงความเคารพความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความหมายในแต่ละวัฒนธรรมที่ช่วยส่งเสริมการภาวนาในรูปแบบต่างๆกัน

การยืนเป็นอิริยาบถที่แสดงถึงความเคารพซึ่งปกติเราจะลุกขึ้นยืนให้เกียรติแก่บุคคลที่เราประสงค์จะให้เกียรติแก่เขาเช่นในพิธีกรรมเราจะยืนในภาคเริ่มพิธีและภาคปิดพิธีเมื่อขบวนประธานและศาสนบริการเดินเขามาและออกไป  การยืนยังเป็นอิริยาบถที่แสดงออกถึงการร่วมใจภาวนาพร้อมกันเหมือนกับชาวอิสราเอลและคริสตชนยุคแรกกระทำเวลาที่พวกเขาสวดภาวนาดังหลักฐานที่ปรากฏในภาพวาดกาตาก็อมบ์นอกจากนั้นการยืนยังเป็นเครื่องหมายถึงการมีส่วนร่วมในการกลับคืนชีพและการรอคอยการเสด็จกลับมาในครั้งที่สองของพระคริสตเจ้า(Parousia)

การคุกเข่าเป็นอิริยาบถที่แสดงถึงการกลับใจถ่อมตนและการใช้โทษบาปการคุกเข่ายังเป็นการแสดงถึงการภาวนาเป็นส่วนตัวและแสดงถึงความเคารพสูงสุดที่มนุษย์พึงมีต่อพระเจ้าเช่นในสมัยหนึ่งเราจะคุกเข่าหน้าพระแท่นเพื่อรับศีลมหาสนิท

การนั่งเป็นอิริยาบถที่แสดงถึงการรับฟังอย่างตั้งใจเหมือนดังบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าที่นั่งห้อมรอบพระองค์เวลาฟังพระวาจาเพื่อฟังสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งแก่พวกเขาดังนั้นเราจึงนั่งขณะที่มีการอ่านพระวาจา(ยกเว้นพระวรสาร) ขณะขับร้องบทคั่นขณะฟังเทศน์และการนั่งเงียบรำพึงหลังรับศีลมหาสนิทอีกด้วย

การก้มศีรษะเป็นอิริยาบถที่มักจะแทนที่การคุกเข่าในพิธีกรรมพระสงฆ์จะเชิญชวนให้เราก้มศีรษะลงก่อนรับพรแบบสง่าจากประธานในพิธีในภาคปิดพิธีซึ่งพระสงฆ์จะกล่าวว่า“เชิญก้มศีรษะรับพรจากพระเป็นเจ้า” ในภาคเริ่มพิธีพระสงฆ์จะคำนับพระแท่น  รวมทั้งในบทประจำมิสซาพระสงฆ์ก็จะก้มศีรษะด้วยขณะกล่าวคำภาวนาเป็นส่วนตัว

ด้วยเหตุนี้พี่น้องครับทุกอิริยาบถที่เราแสดงออกจึงมีความหมายที่แตกต่างกันดังนั้นทุกครั้งที่เรามาร่วมพิธีกรรมพ่อจึงอยากเชิญชวนให้แสดงออกอิริยาบถต่างๆในพิธีกรรมด้วยความเคารพและรู้ความหมายเพื่อการแสดงออกทางภายนอกของเรานั้นจะได้เป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระเจ้าอย่างแท้จริง(เรียบเรียงจากหนังสือสิ่งน่ารู้ในพิธีกรรม) 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube