พี่น้องครับอาทิตย์นี้เป็นอาทิตย์สำคัญสำหรับเราพี่น้องชาวอัสสัมชัญทุกๆคนนะครับเพราะนอกจากเราจะมีการเปิดเดือนแม่พระ“คาทอลิกไทยพร้อมเพรียงไม่สิ้นเสียงสายประคำ” ที่วัดในวันที่เสาร์1 ตุลาคมแล้วในวันถัดมาคือวันอาทิตย์ที่2 ตุลาคมพวกเรายังมีการระลึกถึงการจากไปครบ18 ปีของพระคุณเจ้ายวงนิตโยพระอัครสังฆราชชาวไทยคนแรกของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯและบิดาที่รักยิ่งของเราซึ่งมิสซาในทุกๆรอบของสัปดาห์นี้ทางวัดจะมีการระลึกถึงท่านเป็นพิเศษพ่อจึงขอใช้คอลัมน์ในบทความนี้เล่าถึงประวัติและชีวิตของพระคุณเจ้ายวงนิตโยแก่พี่น้องพอสังเขปนะครับ
พระคุณเจ้ายอแซฟยวงนิตโยมีชื่อเดิมว่าเคียมสูนนิตโยเป็นบุตรของโทมัสฟุ้งและนางอันนากิมกี่นิตโยเกิดเมื่อวันที่29 พฤษภาคมค.ศ.1908ที่อำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานีท่านเป็นสัตบุรุษวัดพระวิสุทธิวงส์(ลำไทร) ราวปีค.ศ. 1913 ท่านและพี่น้องอีก3 ท่านได้ย้ายมาอยู่เป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนซานตาครู้สคอนแวนต์และได้เรียนที่นั่นเป็นเวลา4 ปีจนถึงอายุ11 ขวบท่านจึงได้ย้ายกลับไปอยู่กับบิดาที่วัดลำไทร
ต่อมาในปีค.ศ. 1922 คุณพ่อฟูยาต์เจ้าอาวาสวัดลำไทรในเวลานั้นได้ส่งด.ช.เคียมสูนนิตโยเข้าบ้านเณรเล็กบางนกแขวก(บ้านเณรบางช้าง) จนจบการศึกษาหลังจากนั้นในปีค.ศ.1930 ผู้ใหญ่ได้ส่งไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโปรปากันดาฟีเดกรุงโรม ประเทศอิตาลี และเมื่อเรียนจบหลักสูตรวิชาปรัญาและเทววิทยาแล้วท่านก็ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ที่กรุงโรมเมื่อวันที่21 ธันวาคมค.ศ. 1935โดยมีพระสังฆราชเกรกัวร์-ปีแยร์อากายาเนียน(ภายหลังได้เป็นพระคาร์ดินัล แห่งอัลบาโน) เป็นผู้อภิเษก
หลังจากนั้นท่านได้เดินทางกลับมาประเทศไทยและได้รับแต่งตั้งทำงานสำคัญต่างๆคือเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตรสามพราน(ค.ศ.1936-1937) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญบางรัก(ค.ศ.1937-1941) และเนื่องด้วยกรณีพิพากอินโดจีนในปีค.ศ.1941 (คุณพ่อลารเกต้องเดินทางกลับกรุงเทพฯตามคำสั่งรัฐบาล) พระสังฆราสแปร์รอสจึงได้แต่งตั้งท่านให้ไปรักษาการแทนเจ้าอาวาสนักบุญเปโตรสามพราน(ค.ศ.1941-1947) เลขานุการของพระสังฆราชหลุยส์โชแรง (ค.ศ.1948-1951) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเซนต์แอนโทนีแปดริ้ว(ค.ศ.1951-1953) ซึ่งในเวลานี้ท่านได้แปลและเรียบเรียงหนังสือต่างๆหลายเล่มจากภาษาฝรั่งเศสและอิตาเลียนเป็นภาษาไทยจนเกิดเป็นนามปากกาว่า “ผู้หว่าน”ขึ้นเช่นหนังสืออธิบายคำสอนคาทอลิก3 เล่มชุดเตรียมเผชิญความตายจำลองแบบพระคริสต์อาหารทิพย์ประจำวัน2 เล่มฯลฯและที่สุดเป็นอธิการบ้านเณรพระหฤทัยศรีราชา(ค.ศ.1953-1963) ตามลำดับ
ต่อพระคุณเจ้าหลุยส์โชแรงพระสังฆราชผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังกรุงเทพฯ ป่วยหนักสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่6 จึงมีประกาศเมื่อวันที่13 กันยายนค.ศ. 1963 แต่งตั้งมอนซินญอร์ยอแซฟเคียมสูนนิตโยเป็นพระสังฆราชผู้ช่วยและมีสิทธิ์สืบตำแหน่งประมุขมิสซังกรุงเทพฯต่อจากพระสังฆราชหลุยส์โชแรงส่วนการอภิเษกเป็นพระสังฆราชนั้นเกิดขึ้นในวันที่20 ตุลาคมค.ศ. 1963 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่6 พร้อมกับพระสังฆราชจากประเทศอื่นๆอีก14 องค์จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่มิสซังกรุงเทพฯต่อจนกระทั่งพระสังฆราชหลุยส์โชแรงถึงแก่กรรมในวันที่29 เมษายนค.ศ. 1965 ท่านจึงสืบตำแหน่งประมุขมิสซังต่อในทันที
วันที่18 ธันวาคมค.ศ. 1965 สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่6 ทรงสถาปนามิสซังต่างๆในประเทศไทยขึ้นเป็นสังฆมณฑล โดยมิสซังกรุงเทพฯและมิสซังท่าแร่-หนองแสงได้รับสถานะเป็นอัครสังฆมณฑลทำให้ประมุขของมิสซังทั้งสองคือพระคุณเจ้ายอแซฟเคียมสูนนิตโยและพระคุณเจ้า มีคาเอลเกี้ยนเสมอพิทักษ์ (ประมุขมิสซังท่าแร่) ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครสังฆมณฑลชาวไทยสององค์แรกแต่พระคุณเจ้ายวงนิตโยได้เข้ารับตำแหน่งก่อนคือในวันที่1 มิถุนายนค.ศ. 1966
ตลอดช่วงที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระอัครสังฆราชกรุงเทพฯเป็นระยะเวลา10 ปีระหว่างค.ศ.1963-1973 พระคุณจ้ายวงนิตโยได้ทำงานทุ่มเทอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนแปลงและพัฒนางานของพระศาสนจักรไทยอย่างต่อเนื่องแต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสุขภาพท่านจึงขอลาออกจากตำแหน่งต่อองค์สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่6 ในปีค.ศ. 1973 และในปีเดียวกันนั้นเองพระอัครสังฆราชไมเกิ้ลมีชัยกิจบุญชูก็ได้รับตำแหน่งประมุขของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯสืบต่อท่านในวันที่25 มีนาคมค.ศ.1973
เมื่อท่านลาออกจากตำแหน่งแล้วท่านได้ใช้ชีวิตในปั้นปลายชีวิตของท่านพักประจำที่บ้านเณรเล็กนักบุญยอแซฟสามพรานเพื่อพักผ่อนและใช้เวลาว่างในการแปลและเรียบเรียงหนังสือศรัทธาต่างๆจนที่สุดในวันที่2 ตุลาคมค.ศ. 1998 ท่านได้ถึงแก่กรรมและมีพิธีปลงศพเมื่อวันที่8 ตุลาคมค.ศ. 1998 ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญกรุงเทพฯปัจจุบันศพของท่านถูกฝังไว้ที่สุสานในอุโมงค์ใต้พระแท่นอาสนวิหารอัสสัมชัญของเรา(ที่มา: http://www.catholic.or.th/archive/archbkk/archbkk14.html)