• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2016-10-16 ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ยี่สิบเก้า เทศกาลธรรมดา ปี C

ข้อคิดวันอาทิตย์ที่ยี่สิบเก้าเทศกาลธรรมดาปีC

ลก 18: 1-8 …แล้วพระเจ้าจะไม่ประทานความยุติธรรมแก่ผู้เลือกสรร ที่ร้องหาพระองค์ทั้งวันทั้งคืนดอกหรือ?…แต่เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชื่อในโลกนี้หรือ?

การอธิษฐานภาวนาและความเชื่อเป็นสองปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันอย่างมากๆ…เป็นเพราะว่าเรามีความเชื่อ เราจึงอธิษฐานภาวนา และในเวลาเดียวกันคำอธิษฐานภาวนาจะช่วยสนับสนุนความเชื่อของเรา…เราต้องอธิษฐานภาวนา มิใช่เฉพาะเวลาที่เรามีปัญหาหรือมีความทุกข์ยากลำบากเท่านั้น แต่เราต้องอธิษฐานภาวนาตลอดเวลา…ให้เราหันไปหาพระเจ้า พระผู้ซึ่งเราไว้วางใจเป็นพิเศษ

ข้อคิด…จากบทอ่านแรก (อพย 17: 8-13) ซึ่งเล่าให้เราฟังถึงการสู้รบครั้งแรกที่ชาวอิสราแอลได้ทำการสู้รบหลังจากที่ได้ออกจากประเทศอีจิปต์ และพวกเขาก็ได้รับชัยชนะ ซึ่งมิใช่จากความสามารถเก่งกาจของพวกเขา แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มาจากฤทธานุภาพของพระเจ้าที่โมเสสผู้นำของพวกเขา ได้เป็นคนกลางทูลวิงวอนขอพระองค์ให้ทรงช่วยเหลือพวกเขา

          ส่วนพระวรสาร (ลก 18: 1-8) ก็ได้เล่าเรื่องอุปมาผู้พิพากษาที่ไร้มโนธรรม และจากเรื่องอุปมานี้เองที่พระเยซูเจ้าทรงเตือนบรรดาศิษย์ของพระองค์ให้อธิษฐานภาวนาอย่างต่อเนื่องและอย่าหมดกำลังใจเสียก่อน…หญิงม่ายซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ไม่มีอำนาจขอบผู้ยากไร้ ได้เข้ามาหาผู้พิพากษา แม้นางจะมีสิทธิที่จะกระทำเช่นนั้น แต่ผู้พิพากษาก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อหญิงที่น่าสงสารแบบนั้น และนางก็มิได้สนใจว่าผู้พิพากษาจะมีท่าทีต่อนางเช่นใด ก็ได้แต่รบเร้าผู้พิพากษาอยู่อย่างนั้นแหละ จนผู้พิพากษาอดรนทนไม่ไหว ต้องยอมฟังความของหญิงม่ายนั้น เพียงเพราะอยากให้นางไปไห้พ้นๆ

          จากเรื่องอุปมานี้ พระเยซูเจ้าต้องการที่จะสื่อให้กับศิษย์ของพระองค์ที่กำลังเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากและการเบียดเบียนอยู่ ให้ได้รู้ว่าถ้าหากผู้พิพากษาที่ไร้มโนธรรมคนนั้น ยังทนลูกการรบเร้าของหญิงม่ายคนนั้นไม่ได้…สำหรับพระเป็นเจ้าแล้วไซร้  พระองค์จะไม่ทรงบันดาลความยุติธรรมให้กับสัตบุรุษของพระองค์ซึ่งกำลังร้องวิงวอนขออย่างไม่หยุดหย่อนให้พระองค์ช่วยดอกหรือ…ปัญหาก็คงเป็นเพราะว่าสัตบุรุษผู้นั้นจะสามารถยืนหยัดและมั่นใจในคำอธิษฐานภาวนาของตนมากน้อยแค่ไหน? หรือบางทีอาจจะละทิ้งการอธิษฐานภาวนานั้นไปอย่างไม่มีความอดทนอีกต่อไป เพราะพระเจ้าไม่ยอมฟังเขาสักที?

เวลาที่เราสวดภาวนา เรามักจะได้รับการบอกกล่าวให้พนมมือ…แต่ในระหว่างพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ บางครั้งเราจะแลเห็นพระสงฆ์กางมือออกสวดภาวนา…ทั้งสองอากัปกิริยาในการสวดภาวนา ก็ให้ความหมายที่แตกต่างกัน แต่ว่าดีด้วยกันทั้งคู่

เวลาที่เราพนมมือสวดซึ่งหมายความว่าเราจะหยุดพฤติกรรมส่วนตัวอื่นๆของเราทั้งหมดไว้ พลางให้เวลากับการอธิษฐานภาวนาต่อพระเจ้าแต่เพียงอย่างเดียว การพนมมือสวดนี้ มีผู้บอกว่าเหมาะสำหรับการอธิษฐานส่วนตัว ส่วนการภาวนาแบบกางมือออกนั้น เหมาะสำหรับการอธิษฐานภาวนาอย่างเป็นสาธารณะ อันเป็นการยอมรับว่าเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า เราเป็นคนยากจนน่าสงสาร การกางมือออกนั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่ามือเราว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย เหมือนกับคนขอทานอย่างไรอย่างนั้น คล้ายๆกับคนที่กำลังทูลพระเจ้าว่า “พระเจ้าข้า เฉพาะพระพักตร์พระองค์ลูกเป็นคนยากจนน่าสงสารเหมือนคนขอทาน ลูกอยากให้พระองค์ช่วยเติมเต็มให้กับความว่างเปล่าของลูก”

ท่าทางที่กางมือสวดนั้น น่าจะเป็นท่าทีที่มีพลังดังเช่นในกรณีของท่านโมเสสในบทอ่านแรกของวันๆนี้ที่เราได้ยินได้ฟังว่า “เมื่อใดที่โมเสสยกมือขึ้น ชาวอิสราแอลก็ได้เปรียบ” ซึ่งทำให้เราได้แลเห็นถึงพลังอำนาจของการอธิษฐานภาวนาว่าตราบเท่าที่ชนชาวยิวมีความเชื่อศรัทธาในพระเจ้า พวกเขาก็จะเดินหน้าต่อไปในชีวิต แต่ถ้าพวกเขาลืมที่จะจ้องมองดูพระเจ้า พวกเขาก็จะถูกบีบให้ต้องถอยร่นไป

พระเยซูเจ้าทรงเร่งรัดและเรียกร้องให้เราได้อธิษฐานภาวนาอย่างไม่หยุดหย่อนและอย่าได้หมดกำลังใจ…จะสวดกางมือหรือจะสวดพนมมือ ก็คงไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก เพียงแต่ขอให้เราอย่างได้เลิกสวดภาวนา เพราะถ้าหากว่าเราหยุดหรือเลิกอธิษฐานภาวนา เราก็จะหมดกำลังใจและจะยอมแพ้ในการสู้ชีวิต

การอธิษฐานภาวนาหมายถึงการมอบตัวตนเองและโชคชะตาของเราไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้า

การอธิษฐานภาวนาหมายถึงความไว้ใจในพลังฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า มิใช่ในกำลังของตัวเอง

การอธิษฐานภาวนาจะได้รับคำตอบ มิใช่เมื่อเวลาที่เราได้รับสิ่งที่เราต้องการ แต่เมื่อเวลาเรารู้สึกว่าพระเจ้าทรงอยู่ใกล้เรา…เช่นเดียวกันสำหรับคนที่ไม่สบายหรือคนป่วย เพราะเมื่อเขาอธิษฐานภาวนา เขาจะได้รับการรักษาให้หายหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่จะทำให้เขารู้สึกว่าพระเจ้าทรงอยู่กับเขา กำลังให้กำลังใจและปลอบโยนเขาอยู่

การอธิษฐานภาวนาไม่ใช่ว่าจะทำให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกหรือสังคมที่เราอยู่ แต่ที่สำคัญจะทำให้เราสามารถเผชิญหน้ากับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างกล้าหาญ อย่างมีกำลังใจ เพราะเราจะรู้สึกถึงการสถิตอยู่ของพระเจ้าในตัวเรา

เราต้องไม่ลืมว่าความเชื่อและการอธิษฐานภาวนามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ …เพราะว่าเรามีความเชื่อ เราจึงอธิษฐานภาวนา…

 

 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube