• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2017-11-26 ตราสัญลักษณ์ของการเสด็จเยือนประเทศเมียนมาร์ของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส

สวัสดีครับพี่น้องที่รัก สัปดาห์นี้เราเข้าสู่อาทิตย์สุดท้ายของปีพิธีกรรม ซึ่งพระศาสนจักรให้เราปิดปี A อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการประกาศว่า “พระเยซูคริสตเจ้าเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล” และในช่วงอาทิตย์ที่ 34นี้ พระศาสนจักรในเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศเมียนมาร์ กำลังต้อนรับ “การเสด็จเยือนของสมเด็จพระสันตะปาปปาฟรังซิส” (ซึ่งถือเป็นการเสด็จเยี่ยมพี่น้องคริสตชนนอกประเทศอิตาลีเป็นครั้งที่ 21ในพระสมณสมัยของพระองค์) พ่อจึงขอนำบทความดีๆ ก่อนการเสด็จของสมเด็จพระสันตะปาปฟรังซิสในช่วง 27-30พฤศจิกายน 2017นี้ มาอธิบายกันสักเล็กน้อยนะครับ

            ความหมายของตราสัญลักษณ์ของการเสด็จเยือนประเทศเมียนมาร์ของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส

            ตราสัญลักษณ์เป็นรูปหัวใจ หมายถึง ความรักเป็นพื้นฐานในชีวิตของทั้งคริสตชนและพุทธศาสนิกชน ด้วยแนวคิดประการนี้จะทำให้ให้เกิดความเคารพ และการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างพี่น้องคริสตชนและพี่น้องพุทธศาสนิกชน

            สีของกรอบรูปหัวใจนำมาจากสีธงชาติของสองประเทศ คือ สีธงชาติของนครรัฐวาติกัน (สีเหลืองและสีขาว) สีธงชาติของประเทศเมียนมาร์ (สีเหลือง สีเขียว และสีแดง)

            ภายในกรอบรูปหัวใจเป็นรูปแผนที่ของประเทศเมียนมาร์โดยให้สีเป็นสีรุ้ง หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากในประเทศเมียนมาร์ ประกอบด้วย 8ชาติพันธุ์ใหญ่ และกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยอีก 135กลุ่ม ซึ่งมีภาษา ภาษาเฉพาะถิ่น และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

            ภาพของพระสันตะปาปาฟรังซิสและนกพิราบ สื่อความหมายว่า พระสันตะปาปาทรงเป็นผู้ส่งสารแห่งสันติภาพ

            นอกจากนี้ ในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาเยือนครั้งนี้ ยังทำให้กลุ่มคริสตชนในเอเชียรู้จักกับพระศาสนจักรที่ประเทศเมียร์มาร์ดียิ่งขึ้นว่า

            1.  คริสตชนที่ประเทศเมียนมาร์เริ่มต้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1287จากร่องรอยภาพวาดปูนเปียกรูปกางเขน ภาษาลาตินและภาษากรีกในบางสถานที่ที่เมืองพุกาม (แต่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใด ๆ บันทึกไว้)

            2. จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์การประกาศข่าวดีที่ประเทศเมียนมาร์ เริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ.1511

            3. พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศเมียนมาร์เพิ่งฉลอง 500ปี ในระหว่างวันที่ 24พฤศจิกายน ค.ศ. 2013- 23พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 (ซึ่งความจริงควรจะฉลองตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011แต่พระศาสนจักรไม่สามารถจัดในปีนั้นได้ เนื่องจากความไม่เรียบร้อยทางการเมืองในช่วงนั้น)

            4. ปัจจุบันพระศาสนจักรในประเทศเมียนมาร์ประกอบด้วย 16สังฆมณฑล มีคริสตชนจำนวนประมาณ 750,000 คน คิดเป็น 1.3 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด และมีพระสงฆ์จำนวนกว่า 750องค์ นักบวชชาย-หญิง 2,500คน

            5. ส่วนอัครสังฆมณฑลมี 3แห่ง คือ อัครสังฆมณฑลย่างกุ้ง อัครสังฆมณฑลมัณฑะเลย์ และอัครสังฆมณฑลตองยี

 

(แบ่งปันโดย คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube