• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2018-02-18 มหาพรต กับ จิตตารมณ์ “การถือศีลอดอาหาร”

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

มหาพรตกับจิตตารมณ์“การถือศีลอดอาหาร”

1. ประเพณีการทำกิจใช้โทษบาป

          เทศกาลเตรียมฉลองปัสกาได้แก่40 วันนับจากวันพุธรับเถ้าจนถึงวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ระลึกถึงการกลับมีชีวิตใหม่ขององค์พระเยซูคริสตเจ้าในวันเหล่านี้บรรดาคริสตชนจะใช้เวลาเพื่อไตร่ตรองพระธรรมคำสอนที่มุ่งตักเตือนให้ลดละเลิกความอธรรมทุกชนิดที่ทำให้เสื่อมเสียศักดิ์ศรีการเป็นบุตรพระเจ้าและหันกลับมาดำเนินชีวิตตามคุณค่าพระวรสารซึ่งให้ความสำคัญต่อการภาวนาพลีกรรมและให้ทานที่เป็นกิจกรรมภายนอกของการกลับใจ

          วันศุกร์ตลอดปีก็เป็นอีกวันหนึ่งที่เป็นประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยคริสตชนกลุ่มแรกเพราะเป็นวันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อสอนเราให้เข้าใจความจริงของการเป็นพระเจ้าก็คือการเสียสละชีวิตเพื่อรักและรับใช้คนจำนวนมากทุกวันศุกร์บรรดาคริสตชนจะจดจำเหตุการณ์ที่พระคริสต์ได้ถวายพระองค์จนสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อเราเองแต่ละคนก็ต้องมีส่วนร่วมในเส้นทางสายเดียวกัน

2. รูปแบบต่างๆของการใช้โทษบาปในชีวิตคริสตชน

          ความสำนึกผิดภายในของคริสตชนสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบพระคัมภีร์และปิตาจารย์ได้ให้ความสำคัญเฉพาะ3 รูปแบบคือการถือศีลอดอาหารการภาวนาและการทำบุญให้ทาน(ทบต12:8 ;มธ6:1-18)

          เพื่อแสดงว่าการกลับใจมีส่วนสัมพันธ์ต่อตนเองความสัมพันธ์กับพระเจ้าและความสัมพันธ์กับผู้อื่นดังนั้นผู้กลับใจควรต้อง1. คืนดีกับเพื่อนพี่น้อง2. มีความเป็นทุกข์เสียใจ3. มีความห่วงกังวลถึงความรอดของเพื่อนพี่น้อง4. วอนขอความช่วยเหลือจากบรรดานักบุญ5. ปฏิบัติกิจเมตตาซึ่งสามารถลบล้างบาปได้(1ปต4:8) สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องหมายของการสำนึกผิดภายในการกลับใจในมิติของการคืนดีกับพี่น้องสามารถทำให้เป็นจริงได้ในชีวิตประจำวันโดยให้ความช่วยเหลือคนยากจนป้องกันและปฏิบัติความยุติธรรมยอมรับข้อบกพร่องของพี่น้องตักเตือนพี่น้องให้ดำเนินชีวิตถูกต้องให้คำแนะนำทางจิตใจการยอมรับความทุกข์และการเบียดเบียนอันเนื่องจากได้กระทำสิ่งที่ถูกต้องโดยถือว่าเป็นการแบกไม้กางเขนของตนทุกวันเพื่อติดตามพระเยซูคริสตเจ้า

3. วิธีการช่วยให้ซื่อสัตย์ต่อการทำกิจใช้โทษบาป

          ศาสนาคริสต์ใช้ศีลอภัยบาปเพื่อกระตุ้นเตือนคริสตชนให้หมั่นพิจารณามโนธรรมของตนเองถึงวิถีชีวิตที่มีผิดบกพร่องและให้สำนึกผิดกลับใจใหม่เสมอๆเพื่อทำให้ความสัมพันธ์กับพระเจ้าและกับเพื่อนมนุษย์ได้รับการฟื้นฟูอยู่ตลอดเวลานอกนั้นยังมีศีลมหาสนิทที่เชื่อมเราเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าโดยอาศัยศีลนี้เราก็ประกาศการเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าคือการยอมเสียสละเลือดเนื้อของตนเองเพื่อผู้อื่น“กายของเรามอบแด่ท่าน, โลหิตของเราหลั่งเพื่อท่าน” ฉะนั้นผู้ออกไปรับศีลนี้ก็เท่ากับประกาศว่าเราเองจะเดินในวิถีทางของพระเจ้าด้วยการเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่นจะได้รอดปลอดภัย

         วิธีการอื่นๆก็ช่วยได้มากเช่นการอ่านพระคัมภีร์หนังสือศรัทธาการสวดทำวัตรบทข้าแต่พระบิดาและกิจศรัทธาอื่นๆสิ่งเหล่านี้เป็นอุปกรณ์ช่วยย้ำเตือนให้เราสวมใส่ชีวิตที่หมั่นเพียรในธรรมเดินในที่สว่างจะได้รอดพ้นจากบ่วงมารที่เป็นทั้งพยศชั่วที่อยู่ภายในตัวตนเองหรือค่านิยมผิดๆที่สังคมมอบให้เพราะอวิชชาที่ครอบงำจิตใจคนความโลภความโกรธความหลงซึ่งยากแท้จะแก้ไข

..โดยคุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม..

 

 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube