• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2018-04-22 ข้อคิดอาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ปี B

ข้อคิดอาทิตย์ที่4เทศกาลปัสกาปีB

ยน10: 11-18…ผู้เลี้ยงแกะที่ดียอมสละชีวิตเพื่อแกะของตน…เรายังมีแกะอื่นๆซึ่งไม่อยู่ในคอกนี้…จะมีแกะเพียงฝูงเดียวและผู้เลี้ยงเพียงคนเดียว

ในบรรดาภาพลักษณ์ทั้งหลายของพระเยซูเจ้าที่เรามีอยู่ภาพลักษณ์ที่น่ารักที่สุดภาพหนึ่งก็น่าจะเป็นภาพของ“ผู้เลี้ยงแกะที่ดี” และเป็นองค์พระเยซูเจ้าที่ได้ทรงใช้ภาพนี้เพื่อหมายถึงพระองค์เอง…ให้เราลองสำรวจดูตัวเราเองว่าเราได้มีความไว้เนื้อเชื่อใจและได้พยายามติดตามอย่างใกล้ชิดพระผู้เลี้ยงแกะที่ดีท่านนี้อย่างไรบ้าง?…

ข้อคิด…ภาพลักษณ์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดภาพหนึ่งสำหรับงานอภิบาลก็คือภาพลักษณ์ของคนเลี้ยงแกะซึ่งนำฝูงแกะของตนไปในทุ่งกว้างและคอยปกป้องดูแลพวกมันให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ…ในสมัยของพระเยซูเจ้ามีฝูงแกะมากมายหลายๆฝูงแต่ละฝูงก็คงจะมีแกะเป็นร้อยเป็นพันตัวจึงต้องมีผู้เลี้ยงแกะที่มีความชำนาญและความกล้าหาญที่จะคอยดูแลพวกมันฝูงแกะก็คงจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในทุ่งกว้างจากเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกๆปีส่วนในฤดูหนาว(พฤศจิกายนถึงมีนาคม) คนเลี้ยงแกะและแกะก็จะต้องใช้ชีวิตภายใต้ชายคาแต่ว่ารอบๆฝูงแกะตามหุบเขาก็เต็มไปด้วยอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสัตว์ร้ายที่คอยจะจู่โจมจับแกะกินเป็นอาหารคนเลี้ยงแกะจึงต้องมีอาวุธติดตัวไว้บ้างเช่นมีดไม้ตะบองฯลฯคอยป้องกันตัวและฝูงแกะของตนซึ่งเราสามารถแลเห็นได้จากตัวอย่างของชายหนุ่มดาวิดที่ได้เล่าเรื่องของตนที่จะไปต่อสู้กับยักษ์โกเลียธชาวฟิลิสเตียเพื่อให้กษัตริย์ซาอูลได้คลายความกังวลว่า

“ผู้รับใช้ของฝ่าพระบาทเคยดูแลแพะแกะของบิดาเมื่อมีสิงห์หรือหมีมาเอาลูกแกะตัวหนึ่งไปจากฝูงข้าพระบาทก็ไล่ตามฆ่ามันและช่วยกู้ลูกแกะนั้นมาจากปากของมันถ้ามันลุกขึ้นต่อสู้ข้าพระบาทข้าพระบาทก็จับหนวดเคราของมันและทุบตีมันจนตาย…พระเจ้าผู้ทรงช่วยกู้ข้าพระบาทจากขยุ้มเท้าของสิงห์และจากขยุ้มเท้าของหมีจะทรงช่วยกู้ข้าพระบาทจากมือของคนฟิลิสเตียคนนี้” (1 ซมอ17: 34…)

แน่นอนการเลี้ยงฝูงแกะในสมัยของพระเยซูเจ้านั้นเป็นอาชีพที่เต็มไปด้วยอันตรายการใช้ชีวิตอยู่ในทุ่งกว้างเป็นเรื่องที่ยากลำบากซึ่งจะต้องเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆเพื่อหาทุ่งหญ้าใหม่และบ่อน้ำบางครั้งก็จะต้องล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของคนอื่นซึ่งจะยอมหรือไม่ยอมให้ใช้สอยหรือไม่ก็ไม่รู้อันเป็นความกังวลของคนเลี้ยงแกะโดยทั่วๆไป

พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผู้เลี้ยงแกะที่ดี…ภาพลักษณ์ที่เร่ร่อนไปเรื่อยๆของคนเลี้ยงแกะที่ดีแต่ก็เอาใจใส่เลี้ยงดูไม่ทอดทิ้งฝูงแกะของตนถึงขั้นที่ยอมสละชีวิตของตนเพื่อแกะเหล่านั้นนี่เป็นภาพลักษณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เกี่ยวกับตัวพระองค์เองในพระวรสารของวันนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างความอ่อนโยนและความเข้มแข็งระหว่างความเอาใจใส่และการยอมอุทิศตนเพราะรักอันเป็นบทสรุปของการปฏิบัติของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำมิใช่เป็นแบบผู้นำที่คอยแต่จะหนีเอาตัวรอดหรือคอยแต่ปกป้องตัวเองแต่ว่าเป็นแบบผู้นำที่ทุ่มเททั้งกำลังใจและกายและการยอมเสียสละตนเองเพราะรักอันคำนึงถึงชีวิตของฝูงแกะมากกว่าชีวิตของตนเอง

คนเลี้ยงแกะที่ดีมิใช่เป็นภาพลักษณ์ของการมีอำนาจทางศาสนาซึ่งเอาแต่สร้างความพึงพอใจให้กับความสำคัญของตนเองโดยไม่ยอมเหลียวแลดูความเจ็บปวดของผู้ที่กำลังติดตาม… ภาพลักษณ์ของคนเลี้ยงแกะไม่สามารถถูกแยกออกจากการที่เขาคนนั้นได้เอาใจใส่ต่อแกะของตนอย่างไร…ความใส่ใจของเขามิใช่ไม่มีปัญหาหรือความเจ็บปวด…ความกล้าหาญของเขามิใช่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ…ความรักของเขามิใช่ไม่ต้องแสดงออกด้วยการกระทำและชีวิต…และเราสามารถแลเห็นความอ่อนโยนและความกล้าหาญขององค์พระเยซูเจ้าได้จากชีวิตของพระองค์เอง

  • -พระเยซูเจ้ากล้าเผชิญหน้ากับคู่อริของพระองค์
  • -พระองค์จะเดินนำหน้าผู้ติดตามพระองค์
  • -พระองค์จะปกป้องคนของพระองค์เมื่อพวกเขาถูกรังแก
  • -พระองค์ทนต่อการถูกโดดเดี่ยวและการถูกสบประมาท
  • -พระองค์เสี่ยงที่จะถูกฆ่าเป็นบูชายัญเสียเอง
  • -พระองค์ยอมมอบชีวิตของพระองค์เพื่อฝูงแกะของพระองค์

งานอภิบาลของคนเลี้ยงแกะที่ดี…ในชีวิตและในการสิ้นพระชนม์ของพระองค์พระเยซูเจ้าทรงแสวงหาแกะที่หายไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งแกะตัวที่น่าสงสารและที่เล็กที่สุดตัวที่อ่อนแอที่สุด… เมื่อพระองค์ต้องการจะพูดถึงพระเจ้าที่เปี่ยมด้วยความอ่อนโยนพระองค์ก็ได้บอกกับประชาชนถึงคนเลี้ยงแกะที่ดีว่าเมื่อแกะตัวหนึ่งได้หายไปคนเลี้ยงแกะที่ก็ยอมทิ้งแกะที่เหลือทั้งหมดไว้พลางออกไปตามหาตัวที่พลัดหลงหายไปพระองค์จะตามหาแกะที่หายไปจนกว่าจะพบและแล้วนั้นก็จะอุ้มมันขึ้นบ่าแบกกลับบ้านเพื่อที่จะแบ่งปันความชื่นชมยินดีที่ได้พบแกะที่พลัดหลงหายไปกับเพื่อนบ้านทุกๆคน

นี่เป็นภาพลักษณ์ของงานอภิบาลของคนเลี้ยงแกะที่ดีอันจะเป็นการค้นหาไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบพวกเราทุกคนต่างก็หวังว่าถ้ามีวันหนึ่งที่คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกเราได้พลัดหลงหายไปก็จะมีผู้ที่คอยตามหาจนกว่าจะพบดังเช่นคนเลี้ยงแกะที่ดี

คนเลี้ยงแกะที่ดีท้าทายพวกเราว่าเราจะปฏิบัติอย่างไรต่อผู้ที่พลัดหลงหายไปจากหมู่คณะของเรา…”เราได้เสด็จมาเพื่อแสวงหาและช่วยผู้ที่พลัดหลงหายไป”…บางทีเราแต่ละคนอาจจะรู้ว่ามีบางคนได้พลัดหลงออกจากพระศาสนจักรหรือหมู่คณะของเราไป…แต่เขาผู้นั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อเขากลับเข้ามาแล้วจะไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านหรือไม่ยอมรับจากบรรดาสมาชิกคนอื่นๆ..

สิ่งที่ทำให้คนเลี้ยงแกะที่ดีแตกต่างอย่างมากจากลูกจ้างก็คือคนเลี้ยงแกะรักงานของตนอย่างเป็นชีวิตจิตใจเขาให้ความสนใจกับงานและยอมอุทิศตนให้กับงานนั้นซึ่งก็มิใช่เป็นงานง่ายสำหรับทุกคน…“ความรักทำให้สิ่งยากเป็นสิ่งง่าย”…และเป็นความรักนี้เองที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนงานยากต่างๆของเราให้เป็นเรื่องง่ายเพียงแต่ขอให้เราทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยรัก…รักในพระเจ้าในพระเยซูเจ้าและรักในเพื่อนพี่น้อง

สวัสดี…พ่อวีรศักดิ์

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube