• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2018-11-25 22 พฤศจิกายน ระลึกถึง นักบุญเซซีลีอา…

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

22 พฤศจิกายน ระลึกถึง นักบุญเซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี (C.250-)

(St. Cecilia, Virgin & Martyr, memorial)

นักบุญเซซีลีอา เกิดในตระกูลขุนนางในโรม ประมาณปลายศตวรรษที่ 2 ภายใต้สมัยจักรพรรดิ อเล็กซานเดอร์ เซเวรุส ได้ถูกอบรมเลี้ยงดูแบบคริสตชน ตั้งแต่ยังเยาว์วัย เธอตัดสินใจจะเป็นโสดเพื่อเห็นแก่ความรักของพระเจ้า เธอได้จำศีล อดอาหาร ทำกิจใช้โทษบาปต่างๆ และกิจการกุศล แต่พ่อแม่เธอวางแผนการอื่นไว้สำหรับเธอ คือ จะให้เธอแต่งงานกับหนุ่มขุนนางชื่อ วาเลเรียน

 ในตอนเย็นของวันแต่งงาน ขณะที่เพลงแต่งงานยังคงก้องดังอยู่ในหูของเธอ เธอรื้อฟื้นคำปฏิญาณว่าเธอจะเป็นพรหมจารีถวายแด่พระเจ้า เมื่อจะต้องเข้าเรือนหอ เธอรวบรวมความกล้าบอกกับเจ้าบ่าว “ฉันมีความลับจะบอกเธอ ฉันมีเทวดาของพระเจ้าเฝ้ามองฉันอยู่ ถ้าคุณสัมผัสฉันแบบชู้สาว เขาจะโกรธและคุณจะโชคร้าย แต่ถ้าคุณเคารพความเป็นพรหมจารีของฉัน เขาจะรักคุณเหมือนที่เขารักฉัน”

 วาเลเรียน เป็นผู้ดี ยินยอมตามคำบอกของเซซีลีอา ถ้าเธอจะแสดงให้เขาเห็นเทวดา เธอตอบว่า “ถ้าคุณเชื่อในพระเจ้าเที่ยงแท้ผู้ทรงดำรงอยู่แต่เพียงผู้เดียว และรับศีลล้างบาป คุณก็จะเห็นเทวดา”

 วาเลเรียนยอมตามนั้น เธอส่งเขาไปหาพระสังฆราช อูร์บัน (Urban) ซึ่งล้างบาปให้เขา เมื่อเขากลับมาจะแจ้งข่าวกับเธอ เขาต้องตกตะลึงเมื่อเห็นเธอสนทนาอยู่กับเทวดา เทวดามาหาเขาและวางพวงดอกไม้กุหลาบและลิลลี่เหนือศรีษะของทั้งสอง วาเลเรียนมีความเลื่อมใสจนว่าภายในไม่กี่วันต่อมา เขาและน้องชายเขาชื่อ ธิบูร์ซีอุส (Tiburtius) ซึ่งเขานำมาสู่ความเชื่อเช่นเดียวกับเขา เป็นพยานยืนยันความเชื่อโดยยอมเป็นมรณสักขี ทั้งคู่ถูกตัดศรีษะโดย อัลมาชิม (Almachim) ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการตอนนั้น เซซีลีอาให้ฝังศพของทั้งสองไว้ และถึงเวรเธอที่จะยืนยันความเชื่อ เธอตอบคำขู่ของผู้ว่าราชการว่า “ท่านไม่รู้หรือว่า ฉันเป็นเจ้าสาวขององค์พระเยซูคริสต์ของฉัน” เธอถูกตัดสินให้ตายโดยต้มลงในหม้อน้ำเดือด แต่เธอยังคงมีชีวิตต่อไปอีก 1 วันและ 1 คืน แม้ถูกกดจมลงไปในน้ำที่เดือด ถูกนำขึ้นมาโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาถูกจามด้วยขวานที่ศีรษะและบริเวณอก เลือดไหลออกมาเป็นเวลา 3 วัน เธอภาวนาและให้กำลังใจคนที่มาเยี่ยมเยียนเธอ และที่สุดจากไปโดยขับร้องสรรเสริญพระเจ้า

  ตามตำนานกล่าวไว้ด้วยว่า เธอได้ขับร้องเพลงในวันที่กำหนดให้เธอแต่งงานด้วย เพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าในช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก และดังนั้นเธอจึงได้รับการยกย่องให้เป็นองค์อุปถัมภ์ดนตรีศักดิ์สิทธิ์

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา  หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ  J.K.Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube