• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2018-12-23 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Christmas Day

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Christmas Day

   ความเป็นมาของคำว่า Christmas

คำว่า คริสต์มาส มีที่มาจากคำประสม คำว่า “Christ’s Mass”ซึ่งมีรากคำมาจากคำว่า Christemasse ของภาษาอังกฤษในยุคกลาง และ คำว่า Cristes masse มาจากภาษาอังกฤษโบราณซึ่งมีการบันทึกคำดังกล่าวครั้งแรกไว้ในปี 1038 

โดยคำว่า “Cristes”มาจากพระเยซูคริสต์ในภาษากรีก และคำว่า “masse” มาจากหนังสือสวดของชาวละติน ในภาษากรีกตัวอักษร X เป็นตัวอักษรแรกของคำว่า “Christ” ซึ่งคล้ายกับตัวอ้กษร X ในภาษาโรมัน จึงมีการใช้ X แทน Christ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 และเป็นที่นิยมใช้คำว่า Xmas แทนคำว่า Christmasจนถึงสมัยปัจจุบัน

   การให้ของขวัญในวันคริสต์มาส

ธรรมเนียมนี้เริ่มต้นจากชาวโรมที่ให้ของขวัญแก่เพื่อนๆ ในวันขึ้นปีใหม่ (ซึ่งมักจะเป็นผลไม้ ขนม หรือทองคำ) ต่อมาชาวอังกฤษถือ “วันกล่อง” (วันที่ 26 ธันวาคม) เป็นวันที่สัตบุรุษจะเปิด “กล่องทาน” ในโบสถ์ และแจกเงินให้กับสมาชิกที่ยากจน ต่อมาชาวอังกฤษก็ให้ของขวัญนี้แก่คนใช้ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในวันดังกล่าวด้วย

ในทวีปยุโรป เด็กๆ มักจะเข้าใจว่า พระกุมารเยซูเป็นผู้นำของขวัญมาให้เขา (แต่แท้จริงแล้ว พ่อแม่ของพวกเขาต่างหากที่เป็นผู้ให้) เด็กๆ ที่สหรัฐอเมริกา มักจะคิดว่า “ซานตาคลอส” เป็นผู้ให้ในคืนก่อนวันคริสต์มาส หรือคริสต์มาสอีฟ จะมีงานแครอลลิ่ง ซึ่งจะมีเด็กๆ ไปร้องเพลงตามบ้าน ในคืนวันคริสต์มาส ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมารวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การแสดง ร้องเพลง คำทักทาย Merry X’mas

   คำว่า Merry Christmas แปลว่า

คำว่าMerryในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุข และความสงบทางจิตใจ เพราะฉะนั้น คำๆนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรให้แก่ผู้ที่เราเคารพรัก และนับถือ เพื่อขอให้พวกท่านได้รับสันติสุข และความสงบทางจิตใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

   การร้องเพลงในวันคริสต์มาส

เพลงคริสต์มาสเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรก ในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนี้มีทั้งพระสงฆ์ และฆราวาสเป็นผู้แต่งและร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุนให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านเพราะมีท่วงทีทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดีในโอกาสคริสตสมภพนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ. 1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบันคือเพลง “ขอเชิญท่านผู้วางใจ” O, Come All Ye Faithfulหรือภาษาลาตินว่า“Adeste Fideles”

เพลงคริสต์มาสที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมันและประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ Silent Night,Holy Nightแปลเป็นภาษาไทยว่า “ราตรีสวัสดิ์ ราตรีสงัด” ความเป็นมาของเพลงนี้ คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ. 1818 คุณพ่อ joseph Mohr ได้ใช้เพลงนี้เล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง และเพลงนี้ก็ได้กลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดไปทั่วโลก

   เทียนและพวงมาลัย

ในสมัยก่อน มีคริสตชนกลุ่มหนึ่งในเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัยแล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า โดยทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ จุดเทียนเล่มหนึ่ง สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน ซึ่งสมาชิกจะทำเช่นนี้ทุกอาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อนวันคริสต์มาส ประเพณีนี้จึงเป็นที่นิยมและเริ่มแพร่หลายไปในหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมามีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียน ที่จุดไว้ตรงกลาง 1 เล่ม ไปแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อช่วยให้คนที่ผ่านไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ ที่คนโบราณใช้ หมายถึง ชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึง การที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบสมบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า 

ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/8840.html

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube