• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2019-01-27 ฉลองการกลับใจของนักบุญเปาโลอัครสาวก

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

วันที่ 25 มกราคม

ฉลองการกลับใจของนักบุญเปาโลอัครสาวก

(The Conversion of St. Paul, The Apostle, feast.)

นักบุญเปาโลเองได้บอกว่าท่านเกิดที่เมืองทาร์ซัส (Tarsus) ในแคว้นซิลิเซีย จากพ่อแม่ที่เป็นชาวยิว ซึ่งเลี้ยงดูท่านมาด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่งตามขนบธรรมเนียมแบบฟาริสีและความศรัทธาแรงกล้า  ตามที่นักบุญเยโรมให้ข้อมูลไว้ว่า  ครอบครัวของเปาโลมีต้นกำเนิดจากแคว้นกาลิลี เป็นชนเผ่าเบนยามิน ตอนที่รับพิธีเข้าสุหนัต ท่านได้รับชื่อว่า ซาอูล หรือ เซาโล (Saul) ตามชื่อกษัตริย์พระองค์แรกของชาติยิว และตามมาด้วยชื่อภาษาโรมันของท่าน คือ เปาโล (Paul) ซึ่งเป็นธรรมเนียมของพวกชาวยิวสมัยนั้นที่ถือสัญชาติโรมัน

เมื่อโตขึ้น เซาโลได้ร่ำเรียนวิชาชีพในการเตรียมขนแพะเพื่อมาทำเป็นเต้นท์ ซึ่งกลายเป็นความรู้ที่ช่วยให้ท่านหาเลี้ยงชีพเองในหลายๆปีต่อมา โดยเฉพาะเมื่อท่านออกเดินทางยาวนานเพื่องานประกาศข่าวดี ภาษาพูดของท่านคือ ภาษาอาราเมอิค แต่ท่านก็พูดกรีกได้ดี และคุ้นเคยกับตำนานพื้นบ้านแบบกรีก

ในวัยหนุ่ม เซาโลถูกส่งไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับการศึกษาตามแบบชาวยิว เป็นไปได้ที่เป็นลูกศิษย์ของกามาลิเอล (Gamaliel) ซึ่งเป็นนักปราชญ์ทางด้านกฎหมาย และเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพอย่างสูงในบรรดาสมาชิกสภาซันเฮดริน ตามธรรมประเพณีดั้งเดิมเล่าขานกันว่าทั้งกามาลิเอลและนิโคเดมัสต่อมากลับใจโดยนักบุญเปโตรและนักบุญยอห์น ข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่งคือพวกเขาเก็บความลับจนสามารถช่วยพี่น้องคริสตชน โดยการที่ท่านทั้งสองปรากฏตัวในสภาสูงของชาวยิวอย่างต่อเนื่อง

เราได้ยินเรื่องของเซาโลต่อมาในช่วงเวลาการเป็นมรณสักขีของนักบุญสเทเฟน ตอนนั้นเซาโลเพิ่งอายุ 30 ต้นๆ และกำลังเป็นฟาริสีหนุ่มผู้มีใจเร่าร้อน เขากระตือรือร้นในการเบียดเบียนอย่างบ้าคลั่งและรุนแรงต่อพระศาสนจักรของพวกคริสตชนที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ถึงกับได้รับอำนาจจากมหาสมณะที่จะนำคริสตชนจากเมืองต่างๆ มาคุมขังไว้  เป็นขณะที่เซาโลกำลังเดินทางไปกรุงดามัสกัสเพื่อการนี้นี่เอง  ที่องค์พระเป็นเจ้าทรงปรากฎองค์ให้เขาได้เห็น   และทำให้นักล่าผู้ดุดันคนนี้กลับใจโดยฉับพลัน  กลายมาเป็นผู้ขอรับศีลล้างบาปที่ถ่อมตนและอ่อนโยน ผู้ซึ่งต่อมากลายเป็น “อัครสาวกของคนต่างชาติ” ที่ยิ่งใหญ่ของพระศาสนจักร

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา  หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ  J.K. Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube