• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2019-02-17 ระลึกถึงแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

11กุมภาพันธ์

ระลึกถึงแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด

(The memorial of Our Lady of Lourdes)

–     ในปี ค.ศ. 1858ระหว่างวันที่ 11กุมภาพันธ์ – 16กรกฎาคม มีรายงานว่าแม่พระได้ประจักษ์มา 18ครั้ง ให้กับเด็กอายุ 14ปี มีชื่อว่า มารี แบร์นาแด๊ต สุบีรูส์ ที่ถ้ำชื่อ มัสซาเบรียล ใกล้กับเมืองลูร์ด ในฝรั่งเศสตอนใต้ ซึ่งตั้งอยู่ตีนเขาแห่งเทือกเขาปีรานีส และตั้งแต่นั้นมา ที่นี่ก็กลายเป็นหนึ่งในที่แสวงบุญที่มีชื่อเสียงของโลกที่ผนวกเข้าด้วยกับเรื่องราวอัศจรรย์ที่นับไม่ถ้วนทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต

–     มีการสร้างบาสิลิกาขึ้นบนหินเหนือถ้ำที่ประจักษ์ตามคำขอของแม่พระที่บอกกับนักบุญแบร์นาแด๊ต และเมื่อเห็นว่าเล็กเกินไป วัดแห่งลูกประคำ (the “Rosary Church”) ถูกสร้างเพิ่มเติมขึ้นในปี ค.ศ. 1901

–     ในปี ค.ศ.1907พระสันตะปาปาปีโอที่ 10ได้ขยายวันฉลองนี้ให้ไปสู่พระศาสนจักรสากล โดยมีบททำวัตรและบทมิสซาเป็นพิเศษ และมีผลบังคับใช้ในสมัยพระสันตะปาปาเลโอที่ 13

–     นักแสวงบุญผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายได้หลั่งไหลมาสู่สักการสถานแห่งนี้ตั้งแต่เริ่มต้น ที่จัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนักแสวงบุญชาวฝรั่งเศสที่มีจำนวนถึง 25,000คน เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1872ปัจจุบันนี้คาดการณ์ว่ามีนักแสวงบุญเดินทางมาที่นี่ปีละไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านคน

–     การรักษาให้หายอย่างอัศจรรย์ได้เริ่มขึ้นภายในไม่กี่วันจากการประจักษ์ครั้งแรก และดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่บัดนั้น และนี่ไม่ใช่จำกัดวงอยู่เฉพาะผู้ที่เชื่อเท่านั้น มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญแบบที่ขาดไปไม่ได้ คือ “คำภาวนา” และบ่อยๆ เป็นคำภาวนาจากญาติๆของชาวคาทอลิกผู้มีความเชื่อ หรือโดยผู้อื่น

–     ในบรรดาการรักษาที่มากมาย มีเพียงประมาณ 50กรณี ที่หลังจากการไต่สวนอย่างรอบคอบตามกระบวนการทางกฎหมายของพระศาสนจักรได้ประกาศอย่างเป็นทางการโดยบรรดาพระสังฆราชว่าเป็นอัศจรรย์ นอกเหนือจากนี้ มีมากกว่า 4,000กรณีที่วิทยาการทางแพทย์ไม่สามารถอธิบายได้โดยทางธรรมชาติ กรณีหนักๆ เช่น วัณโรค เนื้องอก มะเร็ง ตาบอด และหูหนวก ที่มีเป็นจำนวนมาก รวมถึงการป่วยทางจิตที่ได้รับการยืนยันหนักแน่นว่าได้รับการเยียวยาจากที่นี่ แต่อย่างหลังนี้ คือเรื่องการป่วยทางจิต เรานับแค่ 7%จากจำนวนคนไข้ทางจิตทั้งหมดเท่านั้นเอง

–     มีอาสาสมัครทั้งชายและหญิง คอยช่วยบรรดาคนเจ็บไข้ได้ป่วยที่มาแสวงบุญที่นี่ ตลอดเวลาพวกเขาจะสวดลูกประคำเสียงดัง บางทีภาพที่น่าจับใจ คือขบวนแห่ศีลมหาสนิทประจำวันรอบสถานที่แสวงบุญ เมื่อจบรอบขบวนแห่แล้วทุกคนจะมารวมอยู่หน้าจัตุรัสแห่งลูกประคำที่อยู่ด้านหน้าบาสิลิกา ผู้เป็นประธานจะอวยพรทุกคนโดยเฉพาะบรรดาผู้ป่วยที่อยู่ด้านหน้าๆ ผู้นำขับร้องจะวิงวอนขอแทนคนเจ็บป่วยด้วยความศรัทธา และนักแสวงบุญนับพันนับหมื่นจะประสานเสียงขับร้องว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า โอรสกษัตริย์ดาวิด โปรดทรงเมตตาข้าพเจ้าด้วยเทอญ ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดให้ข้าพเจ้ามองเห็น ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดให้ข้าพเจ้าได้ยิน ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดให้ข้าพเจ้าเดินได้” แล้วมีการอวยพรศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง

อัศจรรย์ของแม่พระแห่งเมืองลูร์ด เป็นการปฏิเสธอย่างน่าพิศวงถึงความหลงผิดในยุควัตถุนิยมของเรา และในผู้ที่ไม่เชื่อถึงพระเจ้าในสมัยปัจจุบัน เป็นการนำให้พระศาสนจักรกล้าประกาศวันฉลองของตนเอง ว่าเป็นวันของ “การเยียวยา”

บทสำหรับรำพึง : “จงกลับใจใช้โทษบาป! จงกลับใจใช้โทษบาป!  จงกลับใจใช้โทษบาป!” (Our Lady, to Bernadette)

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ  J.K. Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube