• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2019-03-03 เทศกาลมหาพรต

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

เทศกาลมหาพรต

…โดยคุณพ่อวีรศักดิ์วนาโรจน์สุวิช

โมเสสได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาซีนายเป็นเวลาสี่สิบวัน  เพื่อรับบทบัญญัติแห่งพันธสัญญา  พระเยซูเจ้าทรงจำศีลอดอาหารสี่สิบวันในถิ่นทุรกันดารก่อนเริ่มภารกิจของพระองค์  คริสตชนจึงเตรียมตัวเพื่อฉลองธรรมล้ำลึกแห่งปัสกาของการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าด้วยเทศกาลใช้โทษบาปซึ่งยาวนานสี่สิบวันเช่นกัน

การใช้โทษบาปเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาชีวิตของคริสตชน  วิธีการอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่จะแยกความคิดนี้ออกจากชีวิตคริสตชนไม่ได้การใช้โทษบาปเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบาปและการกลับใจ  หมายถึงการเกลียดชังความชั่วร้ายภายในและรอบข้างตัวเราและสิ่งสำคัญคือการกลับใจหาพระเจ้าด้วยความรัก

วิธีบรรลุถึงการกลับใจภายในนี้คือการถือมหาพรตด้วยการภาวนาการทำกิจเมตตาและการจำศีลอดอาหารสิ่งเหล่านี้ไม่ควรถือเป็นเรื่องล้าสมัยอย่างไรก็ตามเป็นความจริงที่ว่าความสำคัญของ“การทำกิจการใช้โทษบาป” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวดภาวนาให้มากขึ้นและเข้มข้นขึ้นเป็นพิเศษการทำบุญให้ทานการทำความดีให้กับคนอื่นมากขึ้นการจำศีลการอดเนื้ออดอาหารการอดหรือละเว้นสิ่งที่ชอบฯลฯในระหว่างเทศกาลมหาพรตอาจเคยได้รับการย้ำจนเกินไปในอดีตแต่ก็ไม่ควรละเลยหรือทำเป็นหูทวนลม

สิ่งที่เราอดและละเว้นในเทศกาลมหาพรตเป็นการตัดสินใจส่วนตัว  แต่ควรสัมพันธ์กับการกลับใจภายในหาพระเจ้า  “เมื่อแต่ละคนบำเพ็ญศาสนกิจประกอบกิจเมตตาปรานีโดยขะมักเขม้นยิ่งขึ้นอีกทั้งรับศีลศักดิ์สิทธิ์อันนำชีวิตใหม่มาให้แล้วจะได้รับพระหรรษทานบันดาลให้เป็นบุตรพระเจ้าโดยสมบูรณ์” (บทเริ่มขอบพระคุณสำหรับเทศกาลมหาพรตแบบที่1)

 ตัวเลข40 แห่งเทศกาลมหาพรตมีความหมายต่อคริสตชนในหลายแง่มุมตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระลึกถึงการอดอาหาร  40  วันของพระเยซูเจ้าในถิ่นทุรกันดารก่อนที่ปฏิบัติภารกิจของพระองค์  ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ชาวอิสราเอลต้องรอนแรมอยู่ในถิ่นทุรกันดารถึง40 ปีในสมัยโมเสส  ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงกระทำให้มีฝนตกติดต่อกัน  40  วัน40 คืนในสมัยของโนอาห์  ส่วนโมเสสก็ได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาซีนายเป็นเวลา40 วันเพื่อรับพระบัญญัติของพระเป็นเจ้านอกนั้นยังรวมไปถึง40 วัน  ของการที่ประกาศกโยนาห์ประกาศการกลับใจแก่ชาวเมืองนินะเวห์

สำหรับคริสตชน40 วันแห่งเทศกาลมหาพรตจึงเป็นช่วงเวลาแห่งการดำเนินชีวิตร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าในพระทรมานบนเส้นทางแห่งไม้กางเขนของพระองค์เพื่อจะได้กลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์เพราะฉะนั้นเทศกาลมหาพรตจึงเป็นเทศกาลแห่งการสำนึกในความผิดบาปและการกลับใจเสียใหม่เป็นเทศกาลแห่งการสำรวจตนเองว่าได้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อพระเยซูเจ้าพระผู้ไถ่ของเราหรือไม่

ข้อกำหนดของพระศาสนจักรในเทศกาลมหาพรต

เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามจิตตารมณ์ของเทศกาลมหาพรตขอให้ปฏิบัติตามจิตตารมณ์ของพระศาสนจักรดังต่อไปนี้          

1. ตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้าคริสตชนทุกคนต้องชดเชยใช้โทษบาปของตนตามวิธีการของแต่ละคนและเพื่อการปฏิบัติร่วมกันจึงได้กำหนดวันชดเชยใช้โทษบาปซึ่งคริสตชนจะได้สวดภาวนาปฏิบัติกิจเมตตาปรานีและความรักเป็นพิเศษเสียสละตนเองและทำหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์(มรตรา1249)

2. ทุกวันศุกร์ตลอดปีและทุกวันในเทศกาลมหาพรตเป็นวันพลีกรรมในพระศาสนจักรทั่วไป(มาตรา1250)         

3. ทุกวันศุกร์ตลอดปียกเว้นวันฉลองใหญ่เป็นวันอดเนื้อหรืออดอาหารอื่นตามข้อกำหนดของสภาพระสังฆราชฯวันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นวันอดเนื้อและอดอาหาร(มาตรา1251)

4. คริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปต้องอดเนื้อและคริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง59 ปีบริบูรณ์ต้องอดอาหาร

เป็นหน้าที่ของผู้อภิบาลและบิดามารดาที่จะต้องอบรมผู้น้อยที่ยังไม่ต้องถือกฎการอดเนื้อและอดอาหารให้เข้าใจจิตตารมณ์ของการพลีกรรม(มาตรา1252)

สำหรับประเทศไทยอาศัยอำนาจตามมาตรา1253 ของกฎหมายพระศาสนจักรสภาพระสังฆราชฯจึงกำหนดวิธีการอดเนื้อและอดอาหารดังต่อไปนี้

การอดเนื้อ

ผู้ที่ได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามกำหนดนี้ถือว่าได้ถือตามกฎการอดเนื้อคือ

ก.อดเนื้อ

ข.ปฏิบัติกิจศรัทธานอกเหนือไปจากที่เคยปฏิบัติอาทิเดินรูป14 ภาคเฝ้าศีลมหาสนิทสวดสายประคำฯลฯ

ค.ปฏิบัติกิจเมตตาปรานีเช่นให้ทานคนจนเยี่ยมคนเจ็บป่วยฯลฯ

ง.งดเว้นอาหารหรือสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นประจำอาทิงดดื่มสุราและเบียร์  งดสูบบุหรี่

จ.รู้จักอดออมและละเว้นความฟุ้งเฟ้อต่างๆ

การอดอาหาร    

หมายถึงการรับประทานอาหารอิ่มเพียงมื้อเดียว

พระเจ้าตรัสว่า:

“การถืออดอาหารอย่างที่เราต้องการเป็นดังนี้แก้โซ่ที่ล่ามคนที่เจ้ากดขี่เสียเถิดและเลิกทำสิ่งที่ไม่ยุติธรรมปล่อยคนที่เจ้ากดขี่ข่มเหงไปเสียแบ่งปันอาหารให้ผู้ที่หิวโหยเปิดประตูรับคนยากจนไร้ที่อยู่อาศัยให้เสื้อผ้าแก่ผู้ที่ไม่มีใส่อย่าละเลยต่อการช่วยเหลือญาติพี่น้องของเจ้า” (อสย58: 6–7)…

 

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube