วันอาทิตย์แห่งจิตชื่นชม
มหาพรตเป็นช่วงเวลาแห่งการเดินทางฝ่ายจิตที่คริสตชนทุกคนต้องออกแรงโดยเฉพาะ“แรงใจ” สำหรับการภาวนาพลีกรรมสำนึกผิดกลับใจและใช้โทษบาปโดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การฉลองปัสกาที่รออยู่ข้างหน้าด้วยความยินดีอย่างเปี่ยมล้น
เมื่อเทศกาลมหาพรตซึ่งยาวนาน6 สัปดาห์เดินทางมาถึงสัปดาห์ที่4 ในวันอาทิตย์นี้นั่นก็หมายความว่าเราได้ผ่านเทศกาลนี้มา“เกินครึ่งทาง”แล้วอีกไม่นานเราจะได้เข้าสู่สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์และมุ่งสู่พิธีกรรมในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักรคาทอลิกคือ“ตรีวารปัสกา”
เมื่อเทศกาลมหาพรตผ่านมาเกินครึ่งทางพระศาสนจักรก็ปรารถนาจะสื่อกับเราผ่านทางการฉลองพิธีกรรมว่าวันฉลองสำคัญยิ่งของชีวิตความเชื่อคริสตชนกำลังจะมาถึงแล้วเราได้เตรียมใจกันมาจนเกินครึ่งทางแล้วพระศาสนจักรสื่อกับเราโดยใช้สัญลักษณ์นั่นก็คืออาภรณ์พิธีกรรม(ชุดกาสุลาที่พระสงฆ์สวมประกอบพิธีมิสซา) เปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีกุหลาบ(สีบานเย็น) อันหมายถึง“ความยินดีปรีดาในจิตใจของเรา” ที่เกิดขึ้นเพราะเราใกล้จะได้ฉลองปัสกาแล้ว
ธรรมเนียมการใช้อาภรณ์กาสุลาสีกุหลาบ(สีบานเย็น) เป็น“ธรรมเนียม”ดั้งเดิมของพระศาสนจักรที่ปัจจุบันไม่ได้เป็นกฎข้อบังคับให้ต้องถือปฏิบัติแต่ให้เลือกได้ตามความเหมาะสมเพราะในปัจจุบันเราสามารถใช้สื่ออื่นๆบอกกล่าวกับพี่น้องสัตบุรุษถึงกำหนดวันฉลองสำคัญต่างๆในแต่ละรอบปีพิธีกรรม
ในทางกลับกันหากว่าเราเองยังไม่ได้เตรียมจิตใจของเราให้พร้อมสักเท่าไหร่คือปล่อยให้เวลาของเทศกาลมหาพรตผ่านไปเฉยๆอาภรณ์สีกุหลาบนี้จะเป็นสื่อเตือนเราคริสตชนให้เร่งรีบใช้เวลา2-3 สัปดาห์ของเทศกาลมหาพรตที่เหลืออยู่เตรียมจิตเตรียมใจของเราให้พร้อมก่อนที่เวลาแห่งการเตรียมนี้จะหมดลง
มหาพรตกับบางสิ่งที่หายไป
เทศกาลมหาพรตเรียกร้องให้เราดำเนินชีวิตสมถะเรียบง่ายรู้จักอดรู้จักละเว้นบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ชีวิตอยู่ในบรรยากาศที่สอดคล้องกับจิตตารมณฺ์ของเทศกาลนี้
พิธีกรรมก็ปรารถนาจะเดินเคียงกับประชาสัตบุรุษด้วยท่าทีเดียวกันเราจึงเห็นได้ว่าในเทศกาลมหาพรตจะมีบางอย่างที่หายไปที่ถูกละเว้นเช่นการขับร้องบทเพลงพระสิริรุ่งโรจน์(ขับร้องได้ในวันสมโภช) บทอัลเลลูยารวมทั้งการหายไปของดอกไม้(หรือถ้าจะยังมีก็จะมีแต่เพียงน้อยนิดไม่จัดมากมาย)
ในอดีตจะถือปฏิบัติให้เห็นภาพชัดเจนคือจะจัดพิธีกรรมอย่างเรียบง่ายไม่ใช้ศาสนภัณฑ์เช่นเชิงเทียนที่หรูหราหรือถ้วยกาลิกส์ใบพิเศษฯลฯการหายไปของบางสิ่งในพิธีกรรมถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่มีความหมายและเหมาะสมที่เราจะถือปฏิบัติทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับบรรยากาศของเทศกาลและเมื่อวันฉลองที่เรารอคอยมาถึงสิ่งที่หายไปหรือสิ่งที่เราละเว้นจะได้กลับมาเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายพิเศษอีกครั้ง…