• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2019-07-1411 กรกฎาคม ระลึกถึง นักบุญ เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

11กรกฎาคม ระลึกถึง นักบุญ เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ

(St. Benedict, Abbot, memorial)

 นักบุญเบเนดิกต์ ดำเนินชีวิตในช่วงปี ค.ศ. 480-547เกิดจากตระกูลผู้ดีในเมืองเล็กๆชื่อนอร์เซีย (Nursia) ในแคว้นอุมเบรีย (Umbria) ของอิตาลี  ได้ใช้ชีวิตช่วงวัยรุ่นอยู่ที่กรุงโรม แต่ท่านได้เห็นชีวิตของเพื่อนนักเรียนที่ไร้แก่นสาร และได้รู้ถึงสภาพที่เศร้าของประเทศในเวลานั้น ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ The Arian Theodoric the Goth ทำให้ท่านละทิ้งทุกสิ่งในขณะที่มีอายุแค่ 16ปี เพื่อแสวงหาความรอดพ้น โดยไปเจริญชีวิตฤาษีแบบโดดเดี่ยวในถ้ำลับๆที่อยู่สูงเหนือเมืองซูบีอาโก (Subiaco) ภายในเวลาไม่กี่ปี ท่านก็มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านชีวิตจิตและความศักดิ์สิทธิ์  มีผู้คนเลื่อมใสในตัวท่าน  และพากันมาหาท่านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จนมีบันทึกถึงท่านในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ การทำอัศจรรย์  และการแนะนำวิญญาณ และนี่เองดึงดูดให้ผู้คนสมัครมาเป็นศิษย์ของท่านยิ่งทียิ่งมากขึ้น จนท่านได้สร้างอารามขึ้นมาถึง 12แห่ง แต่ละแห่งประกอบด้วยสมาชิกฤาษี 12คน พร้อมด้วยอธิการของตนเอง

 นักบุญเบเนดิกต์ได้สร้างโรงเรียนหลายโรงเพื่อให้การศึกษาทางด้านคริสตชนแก่บรรดาเยาวชนด้วย ความสำเร็จนี้ทำให้มีผู้มาเยือนด้วยความอยากรู้อยากเห็นจำนวนมากที่เดินทางมาดูงานจากกรุงโรม ในขณะเดียวกันก็เป็นที่อิจฉาของฤาษีอื่นๆ ในละแวกนั้นที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่าน ต่อมาท่านได้รับการบริจาคที่ดินซึ่งอยู่ไปทางใต้ของประเทศ ท่านจึงย้ายจากเมืองซูบีอาโกที่อยู่มา 28ปี ไปอยู่ที่มอนเต คาสสิโน (Monte Cassino) ในปี ค.ศ. 529ที่นั่นท่านได้สร้างอารามใหญ่ซึ่งกลายมาเป็นบ้านแม่ของฤาษีคณะเบเนดิกติน เพื่อการนำคริสตชนชาวยุโรปกลับคืนมาและฟื้นฟูชีวิตขึ้นใหม่

 ตรงข้ามกับชีวิตสันโดษในตอนเริ่มต้นที่เมืองซูบีอาโก อารามแห่งใหม่เปรียบประดุจประภาคารส่องแสงที่ใหญ่โตตั้งโดดเด่นอยู่บนเขาอยู่กึ่งกลางระหว่างทางจากโรมไปเนเปิลส์  ธรรมวินัยศักดิ์สิทธิ์ 526ข้อของคณะมีจุดมุ่งหมายเพื่อการฝึกตนทั้งทางด้านศีลธรรม และด้านจิตใจให้แก่บรรดาฤาษี  โดยถือตามคำแนะนำแห่งพระวรสาร  และเพราะความมีเหตุผล ความทันสมัย และประยุกต์ใช้ได้ทุกๆที่และทุกอายุ  ทำให้ค่อยๆเป็นที่ยอมรับว่าเป็นข้อกำหนดของอารามฤาษีทั่วทั้งภาคตะวันตก และตรงข้ามกับการถือวินัยของพวกฤาษีที่ปลีกวิเวกในอียิปต์ ธรรมวินัยของท่านเน้นความสำคัญของชีวิตส่วนรวม (community life) และความนอบน้อมด้วยความยินดีแบบครบครัน ท่านสอนฤาษีให้ทำงานที่สมัยนั้นถือว่าเป็นงานของทาสติดที่ดิน และการทำงานด้วยมือ (ด้วยน้ำพักน้ำแรง) ในผืนแผ่นดินที่ถูกทิ้งไว้ว่างเปล่า  ท่านสอนให้ฤาษีของท่านสร้างศักดิ์ศรีในการทำงานขึ้นมาใหม่ ท่านสอนว่า “คนเราต้องทำงาน  และโดยการทำงานภายใต้ความเชื่อฟัง จะนำเรากลับไปสู่พระเจ้า ส่วนคนที่จะถูกทิ้งไปก็เพราะความเกียจคร้านโดยไม่ยอมเชื่อฟังของเขานั่นเอง” และยังสอนอีกว่า “พวกเราต้องเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานและความเจ็บปวดเพื่อเห็นแก่พระเจ้า ในทุกๆเนื้องานที่จำเป็น เพราะพระหรรษทานจะไม่ตอบสนองให้กับวิญญาณของคนที่เกียจคร้าน การทำงานนั้นต้องบวกคำภาวนาเข้าไปด้วย นี่จะเป็นกิจการของพระเจ้า  ที่จะทำให้เรารับรู้ด้วยความถ่อมตนของการประทับอยู่ของพระองค์ ดังนั้น ก็จะเป็นการประกาศความเชื่อแบบสั้นๆ เป็นการสรรเสริญและโมทนาคุณตลอดทั้งวัน การภาวนาส่วนบุคคลให้ทำด้วยน้ำตาและใจที่ศรัทธา” ยังสอนให้ยึดมั่นในคำปฏิญาณประกอบไปด้วย ความยากจน ความบริสุทธิ์ และความนอบน้อมเชื่อฟัง  และความผูกพันอย่างมั่นคงต่ออารามหนึ่งๆตลอดชีวิต และต่างจากความคิดเรื่องความยากจนของคณะฟรังซิสกันที่มาภายหลัง อารามฤาษีของคณะเบเนดิกตินต้องไม่เพียงเลี้ยงดูตัวเองได้เท่านั้น แต่ต้องอยู่ในฐานะที่ช่วยคนจน คนเจ็บไข้ได้ป่วย  คนที่ทนทุกข์ทรมาน และให้ที่พึ่งพิงแก่คนแปลกหน้าได้ด้วย

 โดยการสั่งสอน การศึกษาเล่าเรียน และการคัดลอกลายมือจากต้นฉบับ บรรดาฤาษีของคณะเบเนดิกตินได้เก็บรักษาข้อเขียนคลาสสิกทั้งภาษากรีกและโรมันผ่านช่วงยุคมืด(the Dark Ages)มาได้ บรรดาอธิการ พวกขุนนาง ตลอดจนคนธรรมดาๆได้เดินทางมาปรึกษากับผู้ก่อตั้งผู้ศักดิ์สิทธิ์ผู้นี้  และได้รับแรงบันดาลใจจากความสงบ ความสง่างาม ทัศนะที่สมดุล และหนทางแห่งชีวิตจากท่าน  ตามความคิดของท่าน บรรดาอธิการจะต้องมีความเพียรพยายามเสมอที่จะปลูกความรักมากกว่าความหวาดกลัวให้กับลูกน้องของพวกท่าน คนยากจนพบว่าท่านเป็นผู้ปกป้องคุ้มกันที่เปี่ยมด้วยเมตตา แม้แต่ King Totila of the Goths ที่ไปเยี่ยมที่ Monte Cassino ก็ยังมีความประทับใจอย่างยิ่งในตัวท่าน จนว่าพระองค์สามารถควบคุมอารมณ์เสียให้ลดน้อยลงได้หลังจากการเยือนครั้งนั้น

 ตามที่เล่าต่อกันมา เชื่อว่าท่านสิ้นชีพในวันที่ 21มีนาคม ค.ศ. 547ในวัดของอารามของท่าน มือทั้งสองของท่านยกขึ้นสู่สวรรค์ขณะกำลังภาวนา หลังจากได้รับศีลมหาสนิท และได้ถูกฝังไว้เคียงข้างน้องสาวของท่าน คือนักบุญสกอลัสติกาในวัดน้อยของนักบุญยอห์นบัปติสต์ที่คาสสิโน แม้ท่านเองไม่ได้เป็นพระสงฆ์ แต่คณะของท่านได้มอบให้แก่พระศาสนจักรเป็นพระสันตะปาปาไม่น้อยกว่า 24องค์ พระสังฆราช 4,600องค์ และนักบุญมากกว่า 5,000องค์ ยิ่งกว่านั้นยังมีในด้านพิธีกรรม  และในงานมิชชันนารี อีกทั้งยังมีงานที่ทรงคุณค่าที่ให้แก่มวลมนุษยชาติในด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเกษตรกรรม ท่านได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งชีวิตฤาษีของพระศาสนจักรตะวันตก” (The Patriarch of Western Monks) ท่านถูกอ้อนวอนขอให้กรณีคนที่เป็นโรคไฟลามทุ่ง (erysipelas) คนที่เป็นนิ่ว และคนที่โดนยาพิษ  คติพจน์ของท่านคือ “จงภาวนา และ จงทำงาน” (= Ora et Labora)

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา  หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ  J.K. Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube