• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2019-07-21

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

25 กรกฏาคม

ฉลองนักบุญยากอบอัครสาวก(องค์ใหญ่)

นักบุญยากอบกับนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารเป็นบุตรของเศเบดีซึ่งเป็นชาวประมงที่มั่งคั่งแห่งทะเลสาบกาลิลีแม่ของพวกท่านชื่อนางซาโลเม่บางคนเชื่อว่าเป็นน้องสาวของพระแม่มารีย์ถ้าเป็นเช่นนี้สองพี่น้องผู้ได้ได้สมญาว่า“บุตรแห่งฟ้าร้อง” ก็จะเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเยซูเจ้า

สองพี่น้องช่วยบิดาเขาทำงานและเป็นหุ้นส่วนกับซีโมนเปโตรและน้องชายอันดรูสี่คนนี้ดูเหมือนได้รับความนับถือในบรรดาอัครสาวกซึ่งอาจเนื่องมาจากเรื่องเล่าที่นางซาโลเม่มาขอร้องพระเยซูเจ้าให้ลูกทั้งสองอยู่เบื้องขวาและซ้ายในพระอาณาจักรของพระองค์

นักบุญเปโตรนักบุญยากอบและนักบุญยอห์น(ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อความหวังไว้ใจและความรัก) เป็นกลุ่มศิษย์ที่ได้รับอภิสิทธิ์เป็นพยานการที่องค์พระเป็นเจ้าทรงปลุกลูกสาวของไยรัสให้คืนชีวิตขึ้นมาและเมื่อพระองค์ประจักษ์พระวรกายต่อหน้าอัครสาวกรวมทั้งสุดท้ายที่ทรงเข้าตรีทูตที่สวนเกธเสมนี

นักบุญยากอบเป็นอัครสาวกองค์แรกที่เป็นมรณสักขีกษัตริย์เฮร็อดอากริปปาที่1 (หลานของเฮร็อดผู้ยิ่งใหญ่- ผู้สั่งฆ่าทารกผู้วิมล) พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อเอาใจชาวยิวและในปีค.ศ. 43 จึงจับกุมนักบุญยากอบและตัดศีรษะในฐานะเป็นกลุ่มผู้นำพระศาสนจักรที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

มีเรื่องเล่ากันมาแต่โบราณย้อนไปถึงสมัยนักบุญเคลเมนต์แห่งอเล็กซานเดรีย(ค.ศ.205) ว่าคนที่กล่าวหานักบุญยากอบต่อหน้าอากริปปาต่อมากลับใจเป็นคริสตชนเพราะเห็นการประกาศความเชื่ออย่างกล้าหาญปราศจากความกลัวใดๆของท่านอัครสาวก

อีกธรรมประเพณีหนึ่งที่เล่าขานกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่9 อ้างว่านักบุญยากอบเคยมาเทศน์สอนในสเปนและร่างกายของท่านถูกนำมาไว้ที่กอมโปสเตล่า(Compostela)ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือมุมของคาบสมุทรไอบีเรียที่นี่จึงกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการแสวงบุญที่ยิ่งใหญ่ของบรรดาคริสตชนตั้งแต่สมัยกลางเรื่อยมา

จนทุกวันนี้ข้อเท็จจริงที่ว่าการมาเทศน์สอนที่สเปนของท่านยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

แต่อย่างไรก็ตามท่านได้รับความเคารพมาอย่างต่อเนื่องในฐานะเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของประเทศสเปนและประเทศชิลีของเภสัชกรและของช่างปั้นหม้อและได้รับคำร้องขอให้ช่วยเหลือในช่วงเวลาสงครามและในการต่อสู้กับโรครูมาติก(อาการปวดและบวมอักเสบตามข้อหรือกล้ามเนื้อ)

(ถอดความโดยคุณพ่อวิชาหิรัญญการจากหนังสือSaint Companions For Each Day; เขียนโดยA.J.M. Mausolfe และJ.K. Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube