แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ
วันที่ 26 กรกฎาคม: ระลึกถึงนักบุญอันนาและนักบุญโยอาคิม
บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
ในพระวรสารไม่ได้มีการกล่าวถึงบิดามารดาของพระนางมารีย์แต่ในหนังสือพระวรสารเดิมของนักบุญยากอบ(Proto-Gospel of James = ซึ่งไม่นับเนื่องเข้าในสารบบพระคัมภีร์) ซึ่งนับย้อนไปถึงกลางศตวรรษที่2 ได้ให้ชื่อพวกท่านว่าอันนา(Anna) หรือHannahซึ่งหมายถึง”พระหรรษทาน“และโยอาคิมที่มีความหมายว่า“พระยาเวห์ผู้ช่วยให้รอด“และประกาศว่าบุตรีของพวกท่านที่ชื่อ“มารีย์” ได้ถือกำเนิดมาเป็นการสนองตอบคำภาวนาอย่างศรัทธาร้อนรนหลังจากที่แต่งงานกันมานานแต่ไม่มีบุตร
นักบุญอันนาและนักบุญโยอาคิมสืบทอดเชื้อสายมาจากความเชื่อของท่านอับราฮัมเป็นประชากรที่ถูกวางรูปแบบโดยท่านโมเสสซึ่งในหนังสืออพยพบรรยายไว้ในฐานะที่กระหายหาที่จะรู้จักพระพักตร์ของพระเจ้านักบุญอันนาเจิดจรัสในหมู่นักบุญเพราะจากในตัวท่านที่“ผู้ปฏิสนธินิรมล” เองได้เกิดมาซึ่งทำให้ท่านได้เป็นมารดาของพระมารดาพระเจ้าผลก็คือได้เป็น”คุณยาย” ของพระเมสสิยาห์St. John Damasus ได้กล่าวไว้ว่า”สำหรับเธอผู้ที่ได้บังเกิดมาจะต้องเป็นบุตรีคนแรกเพราะเธอจะเป็นพระมารดาของผู้เป็นปฐมแห่งสิ่งสร้างทั้งปวง(the mother of the first-born of all creation) ที่ซึ่งในพระองค์สรรพสิ่งถูกรวมไว้ด้วยกัน”
ในการนำพระแม่มารีย์ไปที่พระวิหารเมื่ออายุ3 ขวบและมอบพระนางให้ถวายรับใช้แด่พระเจ้านั้นเป็นการทำตามที่นักบุญอันนาได้บนบานไว้ให้สำเร็จไปทั้งนักบุญอันนาและนักบุญโยอาคิมได้เป็นแบบอย่างที่ครบครันของพ่อแม่ที่เป็นคริสตชนทุกยุคทุกสมัย–แบบอย่างของความซื่อสัตย์และความขยันขันแข็งของความศรัทธาและความถ่อมตนพระสันตะปาปาซิสตุสที่5 ในปีค.ศ. 1585ได้ประกาศวันฉลองทางพิธีกรรมในวันที่21 พฤศจิกายนว่าเป็นวันถวายองค์ในพระวิหารของพระนางมารีย์เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นพิเศษเช่นนี้คุณลักษณะโดดเด่นของแม่พระในการตัดสินใจทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าความพร้อมของพระแม่เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติการภาวนาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายการถือตามบทบัญญัติของชาวยิวอย่างศรัทธาการอุทิศตนไปรับใช้ญาติพี่น้อง(=ช่วยนางเอลีซาเบ็ธ) สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องหมายชี้ให้เห็นถึงความใกล้ชิดของครอบครัวที่เลี้ยงดูและปลูกฝังพระแม่มาในความรักและศรัทธาในพระเป็นเจ้านั่นเอง
ที่จริงวันฉลองนักบุญอันนาและนักบุญโยอาคิมค่อนข้างมีมาแต่โบราณในพระศาสนจักรตะวันออก(ตั้งแต่ศตวรรษที่4) แต่กลายมาเป็นทั่วพระศาสนจักรสากลในศตวรรษที่ 15-16 แต่เดิมวันที่26 กรกฎาคมเป็นวันฉลองนักบุญอันนาผู้เดียวจนกระทั่งต่อมากลายเป็นวันฉลองของบิดามารดาของพระแม่เมื่อไม่นานมานี้เอง
วันฉลองนี้ในแง่หนึ่งเตือนใจพ่อแม่และปู่ย่าตายายถึงความรับผิดชอบที่จะเลี้ยงดูอบรมให้ลูกหลานถือตามคุณค่าของมนุษย์ที่ปฏิบัติกันสืบต่อๆมาและนำเสนอให้พวกเขาเห็นแสงแห่งความหวังสืบทอดต่อไปในรุ่นแห่งอนาคตในอีกแง่หนึ่งเตือนผู้เยาว์ว่ามุมมองที่กว้างขวางกว่าของผู้สูงอายุประสบการณ์ที่ลึกซึ้งและความซาบซึ้งที่ลึกซึ้งของจังหวะชีวิตของผู้อาวุโสเป็นส่วนทั้งหมดของปรีชาญาณที่ไม่อาจมองข้ามไปหรือรับไว้โดยไม่เห็นคุณค่าความหมาย
(ถอดความโดยคุณพ่อวิชาหิรัญญการจากหนังสือSaint Companions for Each Day; เขียนโดยA.J.M. Mausolfe และJ.K. Mausolfe)