• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2019-09-22 21 กันยายน ฉลองนักบุญมัทธิว อัครสาวกและผู้นิพนธ์พระวรสาร

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

21 กันยายน ฉลองนักบุญมัทธิว อัครสาวกและผู้นิพนธ์พระวรสาร

(St. Matthew, Apostle and Evangelist, feast)

นักบุญมัทธิว องค์อุปถัมภ์ของคนเก็บภาษี และนักการธนาคาร ในขณะที่ท่านทำหน้าที่เก็บภาษีให้กับกษัตริย์เฮโรด อันทิปาส (King Herod Antipas) ที่เมืองคาเปอรนาอุมอยู่นั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกให้ติดตามพระองค์ไป อีกชื่อหนึ่งของท่านที่คนเรียกกันคือ เลวี คนเก็บภาษี ท่านมีความยินดีอย่างมากที่ได้รับการเรียกครั้งใหม่นี้ จึงจัดงานเลี้ยงใหญ่ที่บ้านของท่านสำหรับพระอาจารย์และบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ และยังเชิญแม้แต่เพื่อนๆของท่านที่เป็นคนเก็บภาษีด้วยกัน พระเยซูเจ้าได้ทรงทำให้พวกฟาริสีประหลาดใจมาก ที่ปฏิบัติองค์ตามสบายรับประทานอาหารกับพวกที่บรรดาผู้นำอิสราเอลดูถูกเหยีดหยามว่าเป็นพวกนอกคอกและพวกทรยศ และพวกเขาไม่เคยแม้แต่คิดว่าจะกินอาหารร่วมกับพวกนี้ นอกเหนือจากความจริงที่มีเพียงเล็กน้อยเท่านี้ ยากที่เราจะรู้เกี่ยวกับชีวิตและความตายของอัครสาวกองค์นี้

เลวี บุตรของอัลเฟอัส (มก 2: 14) น่าจะได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดี เพราะท่านรู้ภาษาทั้งอาราเมอิคและกรีก และคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับการเขียน ชื่อ มัทธิว แปลว่า “ของประทานจากพระเจ้า” อาจจะเป็นชื่อที่พระคริสตเจ้าทรงตั้งให้ ท่านเป็นหนึ่งในอัครสาวกพวกแรกๆที่ถูกเลือกให้เขียนบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญๆของชีวิตและคำสอนของพระเยซูเจ้า ในฐานะที่ท่านเป็นพยานยืนยันด้วยตัวเอง และในฐานะที่เป็นคำสอนด้วยคำพูดของบรรดาอัครสาวกทั้งหมด แท้จริงแล้ว เป็นที่เชื่อกันว่า ในขณะที่ท่านเขียนพระวรสาร ท่านได้ใช้บทรวบรวมคำปราศรัยต่างๆของพระเยซูเจ้าในภาษาอาราเมอิคที่ท่านเคยทำไว้ก่อนหน้านี้มาเป็นตัวตั้ง น่าเสียดาย ที่ต้นฉบับดั้งเดิมนี้ได้หายไป

พระวรสารของนักบุญมัทธิว ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นอัตชีวประวัติของพระคริสต์แบบครบสมบูรณ์ แต่มุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเชื่อของพวกยิวที่มาเป็นคริสตชนให้แข็งแกร่งมั่นคงขึ้น เนื่องจากพวกเขายังติดอยู่กับอิทธิพลของศาสนายิวดั้งเดิมอยู่มาก และเพื่อชักชวนพวกยิวที่ยังไม่กลับใจอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงใช้พรสวรรค์ของท่านในการเล่าเรื่อง และการเขียนเป็นภาษาอาราเมอิค ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดกันอย่างกว้างขวางโดยชาวยิวและชาติอื่นๆในสมัยของพระคริสต์ ท่านรวมหมวดหมู่กิจการต่างๆ และบทบัญญัติต่างๆที่มีธรรมชาติเหมือนกันเข้าไว้ด้วยกัน และเน้นเป็นพิเศษว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ที่ทำให้คำทำนายต่างๆ ที่คุ้นเคยทั้งหมดเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์สำเร็จสมบูรณ์ไป พระองค์ทรงเป็นเอ็มมานูเอล ผู้ซึ่งได้บังเกิดมาจากหญิงพรหมจารีย์คนหนึ่ง (อิสยาห์) ที่เมืองเบธเลเฮม (มีคาห์) ได้เสด็จหนีไปอียิปต์ (โฮเชยา) ได้ถูกประกาศโดยผู้หนึ่งที่นำหน้ามา ทรงสามารถรักษาคนเจ็บไข้ และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ทุกกิจการสอดคล้องต้องกัน และแม้แต่พระทรมาน และการสิ้นพระชนม์ ก็เป็นไปตามคำทำนายแต่โบราณกาลของอิสยาห์ อีกจุดหนึ่งที่นักบุญมัทธิวเน้นเป็นพิเศษ คือความจริงที่ว่าชาวยิวในฐานะที่เป็นองค์รวมจะถูกขับออกจากอาณาจักรของพระเมสสิยาห์ เพราะความไม่เชื่ออย่างดื้อรั้น และการปฏิเสธพระเมสสิยาห์ และจะถูกนำไปมอบให้แก่ “ชนชาติที่จะให้ผลผลิตที่เหมาะสม”

กล่าวกันว่าพระธาตุของนักบุญมัทธิวได้ถูกพบที่เมืองซาแลร์โน (Salerno) ในปี 1080 และเชื่อกันว่าท่านเป็นมรณสักขีด้วยการถูกทุ่มด้วยหินที่เอธิโอเปีย

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube