• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2019-10-20 18 ตุลาคม ฉลองนักบุญลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

18 ตุลาคม ฉลองนักบุญลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

(St. Luke, Evangelist)

– ท่านเกิดที่เมืองอันทิโอก เมืองหลวงของซีเรีย มีอาชีพเป็นแพทย์ (เทียบ คร 4:14) เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่นักบุญเปาโลเรื่องโรคภัยไข้เจ็บของท่านในระหว่างการเดินทางแพร่ธรรมใหญ่ครั้งที่ 2เดิมเป็นคนต่างศาสนา ได้กลับใจมารับความเชื่อโดยนักบุญเปาโล ดังนั้น จึงได้ร่วมงานกับนักบุญเปาโล ผู้เป็นอัครสาวกแห่งคนต่างศาสนา

– ในระหว่างที่นักบุญเปาโลเทศนาอยู่ที่เมืองเธสะโลนิกา เอเธนส์ และโครินทร์ และระหว่างอยู่ที่เมืองเอเฟซัส 3ปี นักบุญลูกาได้รับมอบหมายให้ไปประกาศพระวรสารกับชาวฟิลิปปี

– หลังจากนั้น ได้กลับไปกรุงเยรูซาเล็มกับนักบุญเปาโล และต่อมาได้ไปเยี่ยมนักบุญเปาโลบ่อยๆช่วงที่ท่านถูกคุมขังที่เมืองซีซารียา อาจเป็นช่วงนี้ที่นักบุญลูกาเขียนพระวรสารช่วงต่อขยาย ที่นักบุญเยโรมกับนักบุญยอห์น คริสซอสตอม เรียกว่า พระวรสารของนักบุญเปาโล (St. Paul’s Gospel)

– กล่าวกันว่าในการเขียนท่านได้รับการส่องสว่างจากนักบุญเปาโล และท่านก็บันทึกและตีความจากเรื่องเล่าด้วยปากเปล่า และจากการสอนคำสอนของนักแพร่ธรรมผู้ยิ่งใหญ่อย่างซื่อสัตย์ ในขณะที่เขียนพระวรสารของท่านนั้น พระวรสารภาษาอาราเมอิคของนักบุญมัทธิวแพร่หลายไปในกลุ่มคริสตชนแล้ว และท่านก็มีพระวรสารของนักบุญมาระโกอยู่ต่อหน้าท่านด้วย

– เนื้อหาพระวรสารของนักบุญลูกาให้คุณค่าโดยเฉพาะเรื่องการเน้นความบริสุทธิ์แบบคริสตชน ความยากจน และความชื่นชมยินดี ภาพบรรยายที่ชัดเจนเรื่องทูตสวรรค์แจ้งสารแด่แม่พระ การเสด็จเยี่ยมเยียน การบังเกิดมา และช่วงปฐมวัยของพระเยซูเจ้าเหล่านี้ ท่านใช้เวลามากทีเดียวในการรวบรวมข้อมูล โดยเฉพาะจาก “บรรดาพยานที่เห็นด้วยตาตนเองตั้งแต่แรก” บางทีอาจจะได้ข้อมูลจากพระแม่มารีย์ด้วย และท่านได้รับคำเชื่อถือว่าเป็นผู้วาดภาพพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นคนแรกด้วย

– เนื่องจากท่านได้รับการศึกษาขั้นสูง จึงสามารถเขียนเป็นภาษากรีกที่ชัดเจนและสละสลวย และท่านก็เชื่อมเหตุการณ์ต่างๆให้เข้ากับประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เพื่อเพิ่มความพร้อมให้ชาวกรีกที่มีการศึกษาดีๆ กลับใจมาสู่พระศาสนจักรที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่

– ท่านเน้นความจริงเรื่องพระเมตตาและการอภัยโทษของพระที่แผ่ไปสู่สากลทั้งชาวยิวและชาวต่างชาติที่มามีความเชื่อในพระองค์ เช่น นิทานเปรียบเทียบเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี กับเรื่องลูกล้างผลาญ เป็นเรื่องที่นักบุญลูกาบันทึกไว้แต่เพียงผู้เดียว (- น่าสังเกตอีกว่า ท่านเอาใจใส่คนต่างชาติต่างศาสนา เช่น ท่านเป็นผู้นิพนธ์พระธรรมใหม่เพียงคนเดียวที่เอ่ยชื่อ นาอามาน ชาวซีเรีย ที่ได้รับการรักษาให้หายจากโรคผิวหนังร้ายแรงจากประกาศกเอลีชา ทั้งๆที่มีคนเป็นโรคแบบนี้อีกมากมายในชาติอิสราเอล [เทียบ ลก 4:27] – ผู้แปล)

– ช่วงที่นักบุญเปาโลถูกคุมขังที่กรุงโรม 2ปี นักบุญลูกาก็มาอยู่เคียงข้างท่านอีก น่าจะเป็นช่วงเวลานี้ที่ท่านเขียนประวัติพระศาสนจักรสมัยแรกๆ ในหนังสือกิจการอัครสาวก

– หลังจากมรณสักขีของนักบุญเปาโล เชื่อว่าท่านได้ไปที่ ดาลมาเทีย (ยูโกสลาเวีย) และตายที่เมือง เบโอเทีย (Boeotia) ประเทศกรีก โดยคาดว่าท่านได้เป็นมรณสักขี ต่อมาพระธาตุของท่านถูกย้ายกลับมาที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ปี 360

– นักบุญลูกา เป็นองค์อุปถัมภ์ของ แพทย์ ศิลปิน คนต้มเบียร์ (ไม่น่าจะรวมถึงนักดื่มเบียร์) คนขายเนื้อ คนทำเครื่องแก้ว และเสมียน (พนักงานเอกสาร)

(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube