• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2020-09-13 ว่าด้วย…กำเนิดของพระนางมารีย์

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

ว่าด้วย…กำเนิดของพระนางมารีย์

พระคัมภีร์ไม่ได้กล่าวถึงกำเนิดของพระนางพรหมจารีมารีย์ มีเพียงบันทึกธรรมประเพณีที่เล่าเรื่องอย่างน่าอัศจรรย์ ถึงคู่สามีภรรยา ยออากิมและอันนา จากพงศ์พันธุ์ดาวิด ทั้งสองมีอายุมากแล้ว แต่ไม่มีบุตร และรู้สึกสิ้นหวังในเรื่องการกำเนิดพระผู้ไถ่ที่ประชากรรอคอย

เทวดาองค์หนึ่งประจักษ์มาแก่อันนา กล่าวว่า “พระเจ้าทรงสดับฟังคำภาวนาของเธอแล้ว เธอจะให้กำเนิดบุตร และผู้คนจะพูดถึงการมีบุตรนี้ไปทั่วทั้งแผ่นดิน” อันนาตอบว่า “เมื่อฉันให้กำเนิดบุตร ฉันจะถวายเขาแด่พระเจ้า เพื่อเขาจะได้ถวายการรับใช้พระองค์ทุกวันจนตลอดชีวิต” ในเวลาเดียวกันนั้น ยออากิมเดินทางไปยังทะเลทรายเพื่อสวดภาวนาขอพระเจ้า ทูตสวรรค์ได้มาหาท่านเช่นกัน กล่าวว่า “พระเจ้าทรงได้ยินความทุกข์ของท่านแล้ว จงไปที่เยรูซาเล็ม เนื่องจากภรรยาของท่านจะตั้งครรภ์” ยออากิมได้ปฏิบัติตาม

ทั้งสองพบกันด้วยความปลาบปลื้มที่ธรณีประตูทอง ตามที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ ในภาพเขียนยุคกลาง นางอันนาโผเข้ากอดสามี กล่าวว่า “บัดนี้ ฉันทราบแล้วว่าพระเจ้าทรงอวยพระพรให้เราอย่างเปี่ยมล้น เพราะก่อนหน้านี้ฉันเป็นเสมือนหญิงม่าย ฉันเคยเป็นหมัน และขณะนี้ฉันกำลังตั้งครรภ์” และพระนางมารีย์ก็ได้ถือกำเนิดจากสามีภรรยาที่เป็นหมันนี้

เราไม่ทราบแน่ชัดถึงที่มาของข้อความเหล่านี้ แต่เชื่อกันว่าส่วนหนึ่งมาจากนักบุญ เกรโกรีแห่งนิส (Gregoire de Nysse นักเทววิทยามณกรรมประมาณ ค.ศ. 394) ซึ่งกล่าวว่าอันนาและยออากิมเป็นบิดามารดาของพระนางมารีย์ และมีที่มาอีกส่วนหนึ่งจากนักบุญโซโฟรน (Sophrone : มรณกรรม ค.ศ. 638) พระสังฆราชแห่งกรุงเยรูซาเล็ม ที่ระบุถึงบริเวณสถานที่ตั้งบ้านของทั้งสอง ผู้ให้กำเนิดพระนางพรหมจารี และได้มีการสร้างมหาวิหารขึ้นในบริเวณนั้นตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 5 และเป็นบริเวณนี้เองที่มีการถวายพระเกียรติต่อเหตุการณ์แห่งความ ชื่นชมยินดีนี้ ส่วนในฝรั่งเศส นักบุญพระสังฆราชชาร์ต ฟุลแบรต์ (Chartres Fulbert : 960-1028) โดยการสนับสนุนจากกษัตริย์โรแบรต์ ผู้มีใจศรัทธา (ครองราชย์ ค.ศ. 996-1031) ได้มีส่วนอย่างมากในการเริ่มจัดวันฉลองการถือกำเนิดของพระนางพรหมจารี รวมทั้งการถวายพระมหาวิหารเป็นเกียรติแด่พระนางด้วย

สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ตรัสในพระสมณสาสน์ “มารดาของพระผู้ไถ่” (Redemptoris Mater) ปี ค.ศ. 1987 มีข้อความตอนหนึ่งว่า

“การทราบถึงแผนการของพระญาณสอดส่องในเรื่องพระตรีเอกภาพ ที่เป็นศูนย์กลางของการเผยแสดงและความเชื่อ ทำให้เรารู้สึกถึงความจำเป็นที่จะแสดงภาพลักษณ์พระมารดาของพระคริสตเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องเดียวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ”

ให้เราฉลองด้วยความชื่นชมยินดี ในพระพรการกำเนิดของพระนางมารีย์ ผู้ได้รับเลือกเป็นพระมารดาของพระเจ้าตั้งแต่แรกเริ่ม เนื่องจากพระนางเป็นผู้ประกาศการเสด็จมาของพระผู้ไถ่ เช่นเดียวกับรุ่งอรุณ

“พระนางเป็นผู้นำความหวังและรุ่งอรุณแห่งสันติสุข เข้ามาในโลก”

(บทภาวนาหลังรับศีลในมิสซาฉลองแม่พระบังเกิด)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube