• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2020-11-15 วันที่ 11 พฤศจิกายน ระลึกถึงนักบุญ มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

วันที่ 11 พฤศจิกายน

ระลึกถึงนักบุญ มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช

นักบุญมาร์ตินเกิดในราวปี ค.ศ. 316 คุณพ่อของท่านเป็นคนต่างศาสนา และเป็นทหารดูแลฝูงชน แต่ขณะนั้นประจำการอยู่ที่ Pannonia (คือประเทศฮังการีในปัจจุบัน) ท่านนักบุญจึงเกิดที่นั่น ต่อมาคุณพ่อของท่านถูกย้ายไปที่เมือง Pavia อยู่ในแคว้น Lombardy (ทางเหนือของประเทศอิตาลี) ที่นี่เองเมื่ออายุ 15 ปี ท่านนักบุญได้รับการคัดเลือกอยู่ในกองทหารม้าของจักรวรรดิประจำการที่ Amiens (Gaul, ฝรั่งเศส)

วันหนึ่งท่านขี่ม้าผ่านขอทานที่กำลังสั่นเพราะความหนาวเย็น เนื่องจากเขาเกือบจะไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ ด้วยความสงสาร ท่านได้ตัดเสื้อคลุมของท่านเป็นสองส่วน และยื่นให้ขอทานที่ยากจนคนนั้นหนึ่งส่วน ต่อมาในคืนวันนั้นเอง พระคริสต์ได้ทรงปรากฏองค์กับท่านโดยทรงสวมเสื้อคลุมนั้น [เสื้อคลุมครึ่งตัวที่เหลืออยู่นั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลายาวนานในวัดน้อยของ Frankish Kings รู้จักกันในชื่อว่า “เสื้อคลุมของนักบุญมาร์ติน” (St Martin ‘s Cloak)] หลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่นานนัก มาร์ตินก็ได้รับศีลล้างบาป และทันทีที่ไม่ต้องเป็นทหารม้ารับใช้แล้ว ท่านก็เข้าไปเป็นศิษย์ของนักบุญฮีลารี พระสังฆราช (St Hilary of Poitiers)

ในขณะที่ท่านกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ที่เมือง Pavia ก็ได้ทำให้แม่กลับใจ แม้ว่าพ่อของท่านยังคงเป็นคนต่างศาสนาอยู่ ในช่วงเวลานั้น พวกถือนอกรีต Arians ประสบความสำเร็จในการขับไล่อาจารย์ของท่าน คือนักบุญฮีลารีให้ออกนอกแผ่นดินโกล (Gaul) ท่านจึงไปดำเนินชีวิตแบบฤาษีที่เกาะแห่งหนึ่งที่อยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ในปี ค.ศ. 361 ท่านพร้อมกับนักบุญฮีลารีได้ถูกเรียกโดยคำสั่งจากทางจักรวรรดิให้ได้กลับไปที่เมือง Poitiers อีกครั้งหนึ่ง ทีละเล็กทีละน้อยก็ค่อยๆ มีฤาษีจำนวนมากมาอยู่กับท่าน และต่อมาก็ได้สร้างเป็นอารามฤาษีเบเนดิกตินที่มีชื่อเสียงแห่งเมือง Ligugé ซึ่งถือเป็นอารามฤาษีแห่งแรกบนแผ่นดินโกล ที่นี่นักบุญมาร์ตินจะยอมออกจากห้องเล็กๆ ในอารามเป็นระยะๆ เพื่อเดินทางไปแพร่ธรรมทั่วภาคกลางและด้านตะวันตกของโกล ซึ่งชาวพื้นเมืองเหล่านั้นจำนวนมากยังคงนับถือพระเท็จเทียม วันหนึ่งในปี ค.ศ. 371 ได้ถูกเรียกให้เข้าไปในเมืองตูร์ (Tours) ในฝรั่งเศส และได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นบังคับให้ท่านต้องรับตำแหน่งเป็นบิชอปองค์ใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างเปล่าอยู่ โดยที่ท่านไม่ค่อยเต็มใจมากนัก

การบริหารสังฆมณฑลของนักบุญมาร์ตินกระทำด้วยความหนักแน่นและยุติธรรม และด้วยความร้อนรนใหญ่หลวงที่จะชำระความเชื่อให้ถ่องแท้เพื่อต่อสู้กับพวกนอกรีต 2 พวก คือ Priscillianist และ Arian ท่านดำรงชีวิตเรียบง่าย สุภาพถ่อมตน และทำพลีกรรม อย่างไรก็ดี เพื่อหลีกให้พ้นจากความหลงใหลของตัวเมือง ท่านได้สร้างห้องเล็กๆ อยู่ในชนบทใกล้ๆ ซึ่งต่อมาไม่นานมีฤาษีอื่นๆ ตามมาอยู่ด้วย ต่อมาที่แห่งนี้กลายเป็นอารามของ Marmoutier ที่ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

นักบุญมาร์ติน แห่งตูร์ สิ้นชีพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 397 ท่านได้เป็นนักบุญองค์แรกของพระศาสนจักรตะวันตกที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางแม้ไม่ได้เป็นมรณสักขี โดยเฉพาะในยุคกลางท่านมีชื่อเสียงมาก จะเห็นได้จากการที่มีการสร้างวัดขึ้นมากมายโดยใช้ชื่อของท่านเป็นผู้อุปถัมภ์ และชื่อเมืองก็นำมาจากชื่อของท่าน

(ถอดความโดย: คุณพ่อวิชา หิรัญญการ

Based on: Saint Companions For Each Day

By: A.J.M. Mausolfe, J.K. Mausolfe)

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube