• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอาสนวิหาร
    • ประวัติอาสนวิหารอัสสัมชัญ
    • สถาปัตยกรรม
    • บรรณฐาน
    • ภาษาลาตินในวัด
    • กระจกสี / stained-glass
    • รูปนักบุญ / saint sculpture
  • บริการต่างๆ
    • ล้างบาปทารก / Baptisms
    • การถ่ายภาพ / Take pictures
    • แต่งงาน / wedding
  • ติดต่อสอบถาม/Contact us

2021-03-07 คำสอนและพิธีกรรมน่ารู้ ในช่วงการระบาดของไวรัส และโรคโควิด-19

แทนคิดสักนิด…สะกิดใจ

 

คำสอนและพิธีกรรมน่ารู้

ในช่วงการระบาดของไวรัส และโรคโควิด-19

โดย:คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช –

พี่น้องที่รัก มีคำถามจากพี่น้องคริสตชนและจากลูกศิษย์ของพ่อเองหลายท่านที่ถามเข้ามา เป็นต้น เรื่องพิธีกรรม คำสอนของพระศาสนจักรต่อการดำเนินชีวิตคริสตชนในสถานการณ์นี้ พ่อจึงขออนุญาตแบ่งปันคำตอบต่อคำถามของพี่น้องคริสตชนหลายๆ ท่านดังนี้ครับ

  1. คริสตชนจะได้รับการยกเว้นจากการเข้าร่วมพิธีมิสซาวันพระเจ้าหรือวันอาทิตย์ในกรณีใดบ้าง?    

ประการแรกพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์เป็นรากฐานและส่งเสริมกิจกรรมปฏิบัติทั้งหมดของคริสตชน เพราะเหตุนี้พระศาสนจักรจึงมีความประสงค์ให้คริสตชนได้เข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์และวันฉลองบังคับ เว้นแต่จะมีเหตุผลที่มีน้ำหนักพอเป็นข้อยกเว้นได้ (เช่น ความเจ็บป่วย การต้องดูแลเด็กทารก) หรือ ได้รับการยกเว้นจากผู้อภิบาลของตน (เทียบ คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกข้อ 2181) 

ประการที่สองเนื่องจากสถานการณ์การปัจจุบันเป็นช่วงการระบาดของไวรัส และโรคโควิด-19 บรรดาพระสังฆราช โดยร่วมมือกับทางบ้านเมือง เพื่อลดการระบาดของไวรัส และโรคโควิด-19 ซึ่งถือเป็นกิจการแห่งความรักต่อเพื่อนมนุษย์และชุมชนที่เราอาศัยอยู่ จึงได้ประกาศเรื่องการจัดมิสซาแบบปิด และงดการมาร่วมพิธีกรรมของสัตบุรุษ ในเบื้องต้นระหว่างวันที่ 21 มีนาคม-วันที่ 4 เมษายน 2020 การยกเว้นการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ของสัตบุรุษในระยะเวลานี้ จึงเป็นการที่สัตบุรุษได้รับการยกเว้นจากผู้อภิบาลของตน ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1245 ครับ

  1. เพื่อชดเชยที่ฉันขาดการร่วมมิสซาวันอาทิตย์ ฉันจะต้องทำอะไรบ้าง?    

ประการแรกการขาดมิสซาวันอาทิตย์ของพี่น้องในช่วงเวลาที่พระสังฆราชประการงดการมาร่วมพิธีกรรมของสัตบุรุษไม่ถือเป็นบาป เนื่องจากพี่น้องกระทำตามประกาศยกเว้นมิสซาวันอาทิตย์จากผู้อภิบาลของพี่น้ององ คือ พระสังฆราช ในสถานการณ์ระบาดของไวรัส และโรคโควิด-19         

ประการที่สองแม้การมีส่วนร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณไม่อาจมีได้ในวันอาทิตย์ พระศาสนจักรประสงค์ให้พี่น้องคริสตชนกระทำกิจกรรมศรัทธาอย่างอื่นแทน เช่น อาจอธิษฐานภาวนาเป็นการส่วนตัวหรือในครอบครัว (เทียบ คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 2183 และกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก มาตรา 1248 วรรค 2)

กิจกรรมศรัทธาที่ที่พี่น้องปฏิบัติเพื่อชดเชยการขาดมิสซาในวันพระเจ้าในช่วงการระบาดของไวรัส และโรคโควิด-19 ที่พี่น้องสามารถทำได้ เช่น

1.   ติดตามและร่วมจิตใจภาวนาในพิธีมิสซาผ่านทางสื่อออนไลน์ ด้วยท่าทีสำรวม และในบรรยากาศแห่งการภาวนา

2.   อ่านพระวาจาประจำวัน และรำพึงร่วมกัน โดยใช้เวลาพอสมควร

3.   ร่วมกันสวดสายประคำในครอบครัว หรือสวดสายประคำส่วนตัว อย่างน้อย 1 สาย

4.   ทำกิจศรัทธาอื่นๆ เช่น เดินรูป 14 ภาค นพวารแม่พระนิจจานุเคราะห์ ฯลฯ

สิ่งสำคัญในการปฏิบัติกิจกรรมศรัทธาชดเชยก็คือ หัวใจรักที่เรามีต่อพระเจ้าครับ เพราะความจำเป็นของการระบาดของโรคร้ายทำให้เราไม่สามารถไปร่วมมิสซาในวันอาทิตย์ได้ แต่เรายังสามารถทำกิจกรรมศรัทธาดังที่กล่าวข้างต้นชดเชยได้ เราจะทำกิจกรรมศรัทธาชดเชยนั้นอย่างดี โดยตั้งใจและตระหนักถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าในช่วงเวลานั้น ด้วยท่าทีแห่งความเชื่อ ความรัก และความวางใจในพระองค์

ดังนั้น แม้ในวันธรรมดาที่ไม่ใช่วันอาทิตย์ เราก็สามารถทำกิจศรัทธาเหล่านี้ได้ เป็นต้น ในช่วงที่ครอบครัวได้มาอยู่ร่วมกัน เราอาจจะสวดสายประคำในครอบครัวทุกๆ วัน มีการอ่านและรำพึงพระวาจาประจำวันในครอบครัว หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งเสริมความรัก ความศรัทธา ต่อพระเจ้า

  1. ได้ทราบมาว่าพระศาสนจักรประทานพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในสถานการณ์นี้ด้วย พระคุณการุณย์นี้โปรดให้กับใคร ต้องทำกิจการอะไร และมีเงื่อนไขอย่างไรในการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์?

สำนักงานวินิจฉัยคดีฝ่ายจิต (Penitenzieria Apostolica) โดยพระบัญชาของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ออกกฤษฎีกาเรื่องการประทานพระคุณการุณย์พิเศษแก่บรรดาผู้มีความเชื่อในสถานการณ์โรคระบาดปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2020 โดยมีผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ 4 กลุ่มด้วยกัน คือ

1.   คริสตชนคาทอลิกที่ป่วยด้วยโคโรน่าไวรัส ซึ่งถูกกักตัวไว้ตามคำสั่งของผู้มีอำนาจทางการแพทย์อยู่ในโรงพยาบาลหรือในบ้านของตน

2.   ผู้ให้บริการทางการแพทย์ บรรดาญาติพี่น้อง และทุกคนที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยโรคโคโรน่าไวรัส

3.   บรรดาคริสตชนคาทอลิกที่ปฏิบัติตามกิจกรรมและเงื่อนไขที่กฤษฎีกานี้กำหนด

4.   ผู้ใกล้จะสิ้นใจที่ไม่สามารถจะรับศีลเจิมคนไข้และศีลเสบียงได้

โดยเงื่อนไขที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติเหมือนกันคือมีความตั้งใจที่จะรับพระคุณการุณย์นี้
ส่วนรายละเอียดของการปฏิบัติและเงื่อนไขในการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ของแต่ละกลุ่มมีรายละเอียดดังนี้ ครับ

ก.     สำหรับคริสตชนในกลุ่มที่ 1 คือ คริสตชนคาทอลิกที่ป่วยด้วยโคโรน่าไวรัส ซึ่งถูกกักตัวไว้ตามคำสั่งของผู้มีอำนาจทางการแพทย์อยู่ในโรงพยาบาลหรือในบ้านของตน และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้ให้บริการทางการแพทย์ บรรดาญาติพี่น้อง และทุกคนที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยโรคโคโรน่าไวรัส มีกิจกรรมและเงื่อนไขในการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์เหมือนกัน ดังนี้

1.   มีจิตใจละทิ้งบาปทุกประการ

2.   ทำกิจศรัทธาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ ร่วมจิตใจกับพิธีบูชามิสซาที่ถ่ายทอดผ่านทางสื่อสารมวลชน การสวดสายประคำ การเดินรูป 14 ภาค หรือกิจศรัทธาอื่นๆ หรืออย่างน้อยสวดบท “ข้าพเจ้าเชื่อ” บท “ข้าแต่พระบิดา” และบทภาวนาบทหนึ่งวอนขอต่อพระนางพรหมจารีมารีย์ โดยถวายความเจ็บป่วยนี้ด้วยจิตแห่งความเชื่อในพระเจ้าและความรักต่อเพื่อนพี่น้อง

3.   ตั้งใจจะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ 3 ประการของการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ คือ

1.   การรับศีลอภัยบาป

2.   การรับศีลมหาสนิท และ

3. สวดภาวนาตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา ทันทีเมื่อจะทำได้

ข.     สำหรับกลุ่มที่ 3 บรรดาคริสตชนคาทอลิก มีกิจกรรมและเงื่อนไขในการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ ดังนี้

1.   มีจิตใจละทิ้งบาปทุกประการ

2.   ทำกิจศรัทธาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ ถวายการเฝ้าศีลมหาสนิท หรือการอ่านพระคัมภีร์อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง หรือสวดลูกประคำ หรือทำกิจศรัทธาเดินรูป 14 ภาค หรือสวดลูกประคำพระเมตตา
เพื่อวอนขอพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพให้โรคระบาดนี้หยุด ให้ผู้ป่วยได้รับความบรรเทาและผู้ที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเรียกไปหาพระองค์ได้รับความรอดพ้นนิรันดร

3.   ตั้งใจจะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ 3 ประการของการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ คือ 1. การรับศีลอภัยบาป 2. การรับศีลมหาสนิท และ 3. สวดภาวนาตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา ทันทีเมื่อจะทำได้

ค.     สำหรับกลุ่มที่ 4 คือ ผู้ใกล้จะสิ้นใจที่ไม่สามารถจะรับศีลเจิมคนไข้และศีลเสบียงได้ พระศาสนจักรยังอธิษฐานภาวนาสำหรับเขา โดยมอบเขาไว้กับพระเมตตากรุณาของพระเจ้าทุกคนและแต่ละคน อาศัยความสัมพันธ์ของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ และประทานพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์แก่เขาโดยมีกิจกรรมและเงื่อนไขในการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ ดังนี้

1.   มีจิตใจละทิ้งบาปทุกประการ

2.   เพียงแต่เคยสวดบทภาวนาเป็นประจำขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

3.   ในกรณีเช่นนี้ พระศาสนจักรปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งสามประการในการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์แทนผู้ป่วย

4.   ให้ใช้ไม้กางเขน จะมีรูปพระเยซูเจ้าตรึงกางเขนหรือไม่มีรูปพระเยซูเจ้าตรึงกางเขนก็ได้

ที่สุด เชิญชวนพี่น้องร่วมใจกันวอนขอพระเจ้า วอนขอพระนางพรหมจารีมารีย์ พระมารดาแห่งพระเมตตา และความรอดพ้นของคนไข้ และวอนขอนักบุญยอแซฟ พระภัสดาของพระนาง ซึ่งพระศาสนจักรดำเนินอยู่ในโลกนี้ภายใต้ความพิทักษ์รักษาของท่าน ได้ช่วยอ้อนวอนแทนให้มนุษยชาติได้รอดพ้นจากโรคร้ายนี้ พร้อมทั้งให้เราภาวนาเป็นพิเศษเพื่อผู้ป่วยด้วยโคโรน่าไวรัส และผู้ให้บริการทางการแพทย์ บรรดาญาติพี่น้อง และทุกคนที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยโรคโคโรน่าไวรัสด้วยครับ…

เกี่ยวกับวัดฯ

  • ประวัติอาสนวิหาร
  • แม่พระอัสสัมชัญ
  • บรรณฐาน
  • สถาปัตยกรรม
  • กระจกสี
  • ภาษาลาตินในวัด

บริการต่างๆ

  • ล้างบาปทารก / Baptisms
  • แต่งงาน / Wedding
  • การขออนุญาตถ่ายภาพ

สารวัดย้อนหลัง

  • บทสนทนาจากเจ้าอาวาส
  • คิดสักนิด...สะกิดใจ...
  • ปลัดแก่ ซอย40
  • ปี 2012

บุคลากร/องค์กรต่างๆในวัด

  • พระสงฆ์
  • สำนักงานวัด
  • สภาภิบาล
  • นักขับร้อง
  • สโมสรเยาวชน

ลิงค์คาทอลิก

  • สภาสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย
  • อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
  • หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลฯ
  • สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
Facebook-f Youtube