บทอ่านจากบทเทศน์ โดยนักบุญมักซีโม แห่งตูริน พระสังฆราช
พระคริสตเจ้าทรงเป็นเวลากลางวัน
พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ พระองค์ได้ทรงเปิดประตูบาดาลและปลดปล่อยผู้ตายให้เป็นอิสระ พระองค์ได้ทรงบันดาลให้แผ่นดินใหม่ขึ้น โดยทางอวัยวะของพระศาสนจักร ซึ่งบัดนี้บังเกิดใหม่ด้วยศีลล้างบาป และบันดาลให้พระ ศาสนจักรเติบโตขึ้นด้วยบรรดาผู้ที่ถูกนำกลับมาสู่ชีวิตใหม่ พระจิตของพระองค์ได้ทรงเปิดประตูสวรรค์ ซึ่งคงเปิดอยู่คอยต้อนรับผู้ที่ขึ้นไปจากโลก เพราะการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระคริสตเจ้า โจรร้ายได้ขึ้นสวรรค์ ร่างกายของนักบุญเข้าสู่นครศักดิ์สิทธิ์ และผู้ตายได้กลับคืนเข้าสู่สังคมของผู้มีชีวิต สิ่งถูกสร้างทั้งมวลกำลังเคลื่อนไหวขึ้นสู่เบื้องบน ธาตุทั้งมวลยกตัวขึ้นสู่สิ่งที่สูงกว่า เราเห็นบาดาลกำลังส่งคืนผู้ตายขึ้นสู่สวรรค์ แผ่นดินส่งผู้ตายที่ถูกฝังไว้ไปสู่สวรรค์ และสวรรค์ถวายผู้มาใหม่แด่พระเป็นเจ้า ในความเคลื่อนไหวอันเดียวกัน พระทรมานของพระผู้ไถ่ยกมนุษย์ขึ้นจากเหวลึก ยกพวกเขาขึ้นจากแผ่นดิน และตั้งพวกเขาไว้ในที่สูง
พระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ การกลับคืนพระชนม์ชีพของพระองค์ นำชีวิตมาให้ผู้ตาย นำการอภัยโทษมาให้คนบาป และสิริรุ่งโรจน์แก่นักบุญ กษัตริย์ดาวิดได้ทรงเชื้อเชิญให้สิ่งสร้างทั้งหลาย ร่วมใจกันฉลองปัสกาว่า “นี่คือวันที่พระเจ้าทรงสถาปนาให้เป็นวันสำคัญ ให้เราชื่นชมยินดีกันเถิด”
แสงสว่างของพระคริสตเจ้า เป็นเวลากลางวันที่ไม่มีสิ้นสุด และไม่รู้จักกลางคืน พระคริสตเจ้าทรงเป็นเวลากลางวัน อัครสาวกกล่าวไว้ว่า “กลางคืนใกล้จะจบสิ้นแล้ว กลางวันอยู่แค่เอื้อม” อัครสาวกบอกว่า กลางคืนใกล้จะจบสิ้นและไม่มีกลางคืนอีกต่อไป หมายความว่า เราต้องเข้าใจว่าการเสด็จมาของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นความสว่างจะขับไล่ซาตานผู้เป็นความมืดให้กระเจิดกระเจิงไป ไม่ทิ้งร่องรอยของบาปไว้อีกต่อไป ความสว่างนิรันดร์ของพระองค์ ทรงทำลายเมฆมืดทึบของอดีต และหยุดยั้งความเจริญอันซ่อนเร้นของพยศชั่ว พระบุตรทรงเป็นกลางวัน กลางวันซึ่งพระบิดาได้ทรง แจ้งธรรมล้ำลึกเรื่องพระเทวภาพของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นกลางวันที่กษัตริย์ซาโลมอน ได้ทรงกล่าวไว้ว่า “เราได้บันดาลให้ความสว่างไม่รู้จักจบสิ้นเกิดขึ้นในท้องฟ้า” ในสวรรค์ไม่มีกลางคืนหลังจากเวลากลางวันฉันใด ก็ไม่มีบาปแผ่ร่มเงาปิดบังพระยุติธรรมของพระคริสตเจ้าฉันนั้น กลางวันในสวรรค์ฉายแสงสว่างอยู่เสมอและฉายแสงสุกใส เมฆไม่สามารถทำให้ท้องฟ้าในสวรรค์มืดครึ้มไปเช่นเดียวกับความสว่างของพระคริสตเจ้า รุ่งโรจน์อยู่ตลอดนิรันดร์ด้วยแสงสว่างแจ่มจรัส และจะไม่ดับลงเพราะความมืดของบาป ด้วยเหตุนี้ นักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารจึงกล่าวว่า “ความสว่างฉายแสงในที่มืด และความมืดไม่สามารถชนะความสว่างได้”
ฉะนั้น พี่น้องที่รัก เราทุกคนจงชื่นชมยินดีในวันฉลองศักดิ์สิทธิ์นี้ ขออย่าให้มีสักคน แม้สำนึกว่าตนมีบาปขาดการฉลองร่วมกับเรา ขออย่าได้มีใครอยู่นอกคำภาวนาส่วนรวมของเราเพราะบาปของเขา แม้เขาเป็นคนบาปก็ขอให้มีส่วนในการอภัยโทษ เพราะวันฉลองนี้เป็นวันพิเศษสุด ถ้าโจรยังได้รับพระหรรษทานเข้าสวรรค์แล้วคริสตชนจะถูกปฏิเสธไม่ได้รับการอภัยกระนั้นหรือ?
“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
พระบัญญัติพระศาสนจักร
ปกติช่วงปีดเทอมภาคฤดูร้อน นักเรียนส่วนหนึ่งเรียนพิเศษ เด็กและ
วัยรุ่นคาทอลิกมีโอกาสเรียนคำสอน
เกี่ยวกับข้อความเชื่อ พิธีกรรม(ศีลศักดิ์สิทธิ์) การภาวนา และพระบัญญัติ
นอกจากพระบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments) ยังมีพระบัญญัติ
พระศาสนจักร (Precepts of the Church) ซึ่งเป็นศีลธรรมของเรา
เราเคยท่องจำกันตั้งแต่เล็กว่า พระบัญญัติพระศาสนจักรมี4 ประการ
แต่ในหนังสือคำสอนพระศาสนจักรกาทอลิกเล่มปัจจุบัน
(ค.ศ. 1992) ภาค 3 เกี่ยวกับชีวิตในพระคริสตเจ้า (ย่อหน้า 2041-2043)
กล่าวว่ามี 5 ประการ อีกทั้งอ้างอิงประมวลกฎหมายพระศาสนจักรด้วย
สรุปได้ดังนี้
1. จงร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์และวันฉลอง
บังคับ และพักผ่อนจากงาน เราถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ระลึกถึงการกลับ
คืนชีพพระชนมชีพของพระเยซูดริสตเจ้า รวมทั้งวันฉลองตามพิธีกรรม
ที่สำคัญเพื่อให้เกียรติพระเยซู แม่พระ และบรรดานักบุญ ด้วยการไป
วัดในชุมชนคริสตชน และด้วยการพักผ่อนจากงานประจำและกิจกรรม
ต่างๆ (เทียบ กฎหมายพระศาสนจักร ม.1246-1248)
2. จงรับศีลอภัยบาปอย่างน้อยปีละครั้ง (เทียบ กฎหมายฯ ม.989)
3. จงรับศีลมหาสนิทอย่างน้อยปีละครั้งในกำหนดปัสกา ซึ่งเป็น
ต้นกำเนิดและศูนย์กลางของพิธีกรรมคริสตชน (เทียบ กฎหมายฯ ม.920)
เทศกาลปัสกาเริ่มวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ถึงวันสมโภชพระจิตเจ้า
4. อดอาหารและอดเนื้อตามที่พระศาสนจักรกำหนด ทำให้
จำแวลาแห่งการบำพ็ญพรตและการใช้โทษบาป ซึ่งเตรียมเราสู่วันฉลอง
คามพิธีกรรม และช่วยเราให้สามารถควบคุมสัญชาตญาณและมีใจอิสระ (เทียบ กฎหมายฯ ม.1249-1251)
5.จงช่วยเหลือจัดหาสิ่งที่จำเป็นแก่พระศาสนจักรตามความ
สามารถของแต่ละคน (เทียบ กฎหมายฯ ม.222)
นอกจากนี้ สภาพระสังฆราชคาทอลิกฯ สามารถกำหนดบัญญัติ
พระศาสนจักรข้ออื่นๆ ในเขตรับผิดชอบของตนเองได้ (เทียบ กฎหมายฯ
ม.455)
ในคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (ย่อหน้า 2044-2046) กล่าวต่อ
พระบัญญัติพระศาสนจักรว่า บรรดาผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปมีหน้าที่
ประกาศพระวรสาร (ข่าวดี และปฏิบัติตามพันธกิจของพระศาสนจักรใน
โลก (เทียบ การแพร่ธรรมของฆราวาส ข้อ 6
บรรคาคริสตชนมีส่วนสร้างพระศาสนจักรด้วยความเชื่อมั่น
สม่ำเสมอด้วยชีวิตศักดิ์สิทธิ์ของตน แห่งความยุติธรรม ความรัก ความ
อดทน และสันติสุข ตามเจตนาของพระคริสตเจ้า
ประเด็นหลังนี้ คือสิ่งที่เรามิได้เน้นในพระบัญญัติพระศาสนจักร
เดิมครับ
คัดลอก
อุดมสารรายสัปดาห์ประจำวันที่ 3-9 เมษายน ค.ศ.2000