บทอ่านจากบทความเกี่ยวกับธรรมล้ำลึก โดยนักบุญอัมโบรส พระสังฆราช
คำสอนว่าด้วยพิธีกรรมก่อนโปรดศีลล้างบาป
เราเคยให้คำสอนประจำวัน ว่าด้วยความประพฤติที่ถูกต้อง เมื่อเราอ่านจากประวัติของบรรดาอัยกา หรือจากหนังสือสุภาษิต การอ่านเหล่านี้ มุ่งหมายที่จะสอน และอบรมท่าน เพื่อจะให้ท่านคุ้นเคยกับวิถีทางแห่งบรรพบุรุษของเรา เข้ามาเดินในหนทางของพวกเขา ในความนอบน้อมเชื่อฟังต่อกฎบัญญัติของพระเป็นเจ้า
บัดนี้ ถึงเวลาที่เราต้องพูดถึงธรรมล้ำลึกต่าง ๆ ซึ่งแสดงความหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์ ถ้าเราคิดว่าเป็นการเหมาะสมที่จะสอนสิ่งเหล่านี้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป เขาก็จะถือว่าเราเป็นคนทรยศมากกว่าเป็นอาจารย์ ความสว่างเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน จะเกิดผลในผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ใดๆ มากกว่าในผู้ที่ได้รับคำสอนมาบ้างแล้ว
จงเปิดหูของท่าน จงชื่นชมในความหวานชื่นแห่งชีวิตนิรันดร์ อันเนื่องมาจากศึลศักดิ์สิทธิ์ เราอธิบายข้อนี้แก่ท่าน ในเมื่อเราประกอบพิธีแห่งธรรมล้ำลึก เมื่อเรากล่าวว่า “เอฟเฟตา ซึ่งแปลว่าจงเปิดเถิด” ทุกคนที่จะเข้ามารับศีลล้างบาป จะต้องเข้าใจ จะถูกถามอะไรและต้องจำไว้ด้วยว่า จะต้องตอบอะไร พิธีกรรมนี้พระคริสตเจ้าได้ทรงกระทำ เมื่อพระองค์ทรงรักษาคนหนวกใบ้ในพระวรสาร ซึ่งเราประกาศแก่ท่าน
หลังจากนี้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเผยออกรับท่าน ท่านเข้าไปในสถานศักดิ์สิทธิ์ซึ่งให้ชีวิตใหม่ จงระลึกถึงว่าเขาได้ถามอะไรท่าน และท่านได้ตอบอะไร ท่านได้ละทิ้งมารและกิจการของมัน ละทิ้งโลกและความสนุกสนานไร้สาระของมัน วาจาของท่านมิได้ถูกบันทึกไว้บนอนุสาวรีย์ของผู้ตาย แต่บันทึกไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีชีวิต
ที่นั่นท่านได้เห็นสังฆานุกร พระสงฆ์ จงอย่าพิเคราะห์ดูลักษณะภายนอกของท่าน แต่จงดูพระหรรษทานที่ท่านได้รับ เพื่อภารกิจของท่าน ท่านพูดต่อหน้าบรรดาทูตสวรรค์ ตามที่มีเขียนไว้ “ริมฝีปากของพระสงฆ์ปกป้องความรู้ มนุษย์แสวงหากฎปากของท่าน เหตุว่า ท่านเป็นทูตสวรรค์ของพระเจ้าผู้ทรงสรรพฤทธิ์” ไม่มีทางผิดหลง ไม่มีทางปฏิเสธ ท่านเป็นทูตสวรรค์ ผู้แจ้งข่าวอาณาจักรของพระคริสตเจ้า และชีวิตนิรันดร ท่านต้องพิเคราะห์ดูพระสงฆ์ มิใช่จากลักษณะภายนอก แต่จากตำแหน่งหน้าที่ของท่าน จงระลึกว่า พระสงฆ์ได้ยื่นอะไรให้ท่าน จงชั่งน้ำหนักแห่งคุณค่าของท่าน และจงรับรู้ฐานะตำแหน่งของท่าน
ท่านได้เข้าเผชิญหน้ากับศัตรูของท่าน เพราะท่านมุ่งหมายละทิ้งมันโดยซึ่งหน้า เมื่อท่านหันไปทางทิศตะวันออก เหตุว่า ผู้ที่ละทิ้งมารย่อมหันเข้าหาพระคริสตเจ้า และพิศเพ่งตรงไปยังพระองค์
ต่อจากฉบับที่แล้ว “ฉันเป็นใคร” และในฐานะคริสตชนในยุคโควิดนี้เราได้มีประสบการณ์ส่วนตัวกับพระในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการสวดภาวนาวอนขอความช่วยเหลือต่างๆ ทุกๆคำวอนขอเราได้เป็นโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของที่นั้นหรือไม่ จากวอนขอสู่การยืนมือออกไปยืนความสัมพันธ์ ให้ความสำคัญ ประจักษ์พยาน สาวกพระเยซูเจ้าที่แท้จริง
- Belonging – “ฉันเป็นส่วนหนึ่งของที่ไหน?”
สมัยก่อน ในวัยเด็กเรามีพี่น้องหลายคน หลังเลิกเรียนหรือวันหยุดเราวิ่งไปเล่นกับเพื่อนแถวบ้าน แต่ทุกวันนี้ครอบครัวมีลูกน้อยลง เด็กนั่งอยู่หน้าจอหลังเลิกเรียน เติบโตมากับเพื่อนในจอที่มากขึ้น แต่พบปะเพื่อนที่เป็นคนจริงๆ น้อยลง คนรุ่นนี้จึงถูกเรียกว่า Lonely Generation หรือ คนรุ่นที่แสนโดดเดี่ยว
โบสถ์เป็นคำตอบของคนรุ่นนี้ได้ เพราะโบสถ์เป็นครอบครัวของพระเจ้า ไม่ใช่แค่องค์กรศาสนา (เอเฟซัส 2:19) พระเยซูมอบหัวใจแห่งบัญญัติให้คริสเตียนยึดถือ คือ ให้รักกันและกัน (ยอห์น 13:34) นั่นทำให้โบสถ์เป็นชุมชนที่อบอุ่น และเป็นที่ต้องการของคนรุ่นใหม่
กุญแจสำหรับการทำงานกับคนรุ่นใหม่จึงเป็นการแสดงความเข้าใจ มีความรู้สึกร่วม เข้าไปมีส่วนในชีวิต ร่วมเฉลิมฉลองในความฝัน และร่วมในความทุกข์ยามโศกเศร้า ซึ่งนั่นเป็นการกลับสู่แก่นแท้ของโบสถ์ ที่ไม่ใช่เป็นแค่โรงมหรสพเพื่อรับชมการแสดง หรือเพียงรอบนมัสการตามกำหนดเวลา แต่เป็นครอบครัว
คนหนุ่มสาวคริสเตียนต้องการโบสถ์ที่เป็น “ครอบครัว” ที่ซึ่งพูดว่าเขาสามารถ “เป็นตัวจริง” และ “เป็นตัวเอง” ได้ เขาไม่ได้พูดถึงความเจ๋งหรือความเก๋ของโบสถ์ แต่ให้คุณค่ากับ “ความอบอุ่น” ว่านั่นคือสิ่งที่เจ๋งที่สุด
ซึ่งจากการสำรวจ 250 ผู้นำโบสถ์ในอเมริกาจากคณะต่างๆ ที่ดูแลโบสถ์ 100-10,000 คน ซึ่งมีอายุ 5 ปีจนถึงกว่า 100 ปี ถึงยุทธศาสตร์ในการรองรับกลุ่มคนในวัย 15-29 ปี สิ่งที่พบจากการสำรวจ คือ รูปแบบการนมัสการ ตัวอาคารที่ดี งบประมาณที่สูง หรือรูปแบบโปรแกรมที่บันเทิงใจ ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ แต่ปัจจัยหลัก คือ แก่นของการเป็นโบสถ์
ติดตามต่อฉบับหน้า “ฉันเป็นใคร>ฉันมีส่วนร่วมอย่างไร>สุดท้าย ฉันอยู่เพื่อสิ่งใด”…