บทอ่านจากบทสนทนาเรื่องพระญาณสอดส่อง โดยนักบุญกาธารีนา ชาวซีเอนา พรหมจารี
สายสัมพันธ์แห่งความรัก
ข้าแต่พระเจ้าผู้อ่อนหวาน โปรดทอดพระเนตรประชากรของพระองค์ด้วยพระทัยกรุณา โดยเฉพาะพระวรกายของพระศาสนจักร พระนามของพระองค์ทรงรับพระเกียรติมงคล ในการยกโทษแก่ฝูงชน มากกว่าทรงยกโทษความผิดหนักต่อพระบรมเดชานุภาพให้ข้าพเจ้าคนเดียว ข้าพเจ้าไม่มีความบรรเทาใจที่มีชีวิตของพระองค์อยู่กับข้าพเจ้า ในเมื่อประชากรศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์กำลังอยู่ในความตาย เพราะข้าพเจ้าเห็นบาป กำลังปกคลุมชีวิตของพระศาสนจักร เจ้าสาวของพระองค์ บาปของข้าพเจ้า และบาปของคนอื่น ๆ
พระคุณพิเศษที่ข้าพเจ้ากราบวอนขอนี้ก็คือ ขอพระองค์ทรงพระกรุณายกโทษแก่สิ่งถูกสร้าง ซึ่งพระองค์ได้ทรงสร้างมาตามภาพลักษณ์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ทรงรู้สึกหวั่นไหวด้วยความรักจนถึงกับทรงสร้างเขา ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ แน่นอน มีแต่ความรักเท่านั้นสามารถให้ศักดิ์ศรีแก่สิ่งที่ถูกสร้างได้ ข้าพเจ้าทราบดีว่ามนุษย์ได้เสียศักดิ์ศรีที่พระองค์ประทานให้ เขาสมควรเสียศักดิ์ศรีนี้ เพราะเขาได้ทำบาป
พระองค์ทรงรู้สึกหวั่นไหวด้วยความรัก ทรงปรารถนาจะทำให้มนุษยชาติคืนดีกับพระองค์ พระองค์จึงได้ประทานพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ให้กับเราทั้งหลาย พระบุตรได้ทรงกลับเป็นคนกลาง และความยุติธรรมของเรา โดยทรงรับความอยุติธรรมและบาปของเรา อันเกิดจากการไม่นอบน้อมต่อน้ำพระทัยของพระองค์ ข้าแต่พระบิดาผู้สถิตสถาพร เพราะพระองค์ทรงพอพระทัยให้พระบุตรรับธรรมชาติมนุษย์ของเรา โอ ความรักอันสูงสุดพรรณนา พระบุตรของพระองค์เสด็จลงมาจากพระเทวภาพที่สูงสุดมาสู่ที่ต่ำสุดของธรรมชาติมนุษย์ มนุษย์คนใดหนอสามารถปิดหัวใจของตน และแข็งกระด้างต่อเหตุการณ์นี้
เรามนุษย์เป็นภาพลักษณ์ของพระ ส่วนพระองค์ทรงเป็นภาพลักษณ์ของเราโดยทรงยอมเป็นหนึ่งเดียวกับมนุษย์ พระองค์ได้ทรงซ่อนพระเทวภาพในเมฆ ในดินเหนียวของธรรมชาติมนุษย์ ด้วยความรักเท่านั้น พระองค์จึงทรงสามารถยกฐานะเนื้อหนังของอาดัมให้สูงขึ้นเพียงนี้ ด้วยความรักอันไม่มีขอบเขตนี้แหละ ข้าพเจ้าวอนขอด้วยสิ้นสุดจิตใจของข้าพเจ้า ขอพระองค์ทรงแผ่พระเมตตามายังสิ่งที่ถูกสร้างต่ำต้อยทั้งหลายของพระองค์
บทก่อ-รับ
2.พระนางมารีย์ เป็นพรหมจารีเสมอ (โดยสภาพระสังคายนาแห่งลาเตรัน ปี 649)
พระนางพรหมจารี เป็นตำแหน่งสำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งของพระแม่มารีย์ ในวัฒนธรรมยิว-คริสต์ พรหมจารีหมายถึงบุคคลหรือกลุ่มชนที่ถวายตัวแด่พระเจ้า และยืนหยัดสัตย์ซื่อต่อพระองค์ คนหนึ่งเป็นพรหมจรรย์หรือพรหมจารีต้องเป็นผู้รักษาความบริสุทธิ์ทางกายทั้งครบ เพื่อเป็นเครื่องหมายความสัตย์ซื่อ และการถวายตัวแด่พระเจ้าจริง การถวาย ตัวเป็นพรหมจารีเช่นนี้ทำให้พระนางมารีย์เป็นทั้งพรหมจารีและมารดา เพราะความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าเช่นนี้ ทำให้เกิด ความสมบูรณ์ทางวิญญาณ
พระคุณพิเศษที่พระแม่มารีย์ได้รับจากพระเจ้าเหนือมนุษย์ ใดๆ คือ การปฏิสนธินิรมล เทวดากาเบรียลยืนยันพระคุณนี้ โดยการทักทาย พระนางว่า วันทามารีย์ เปี่ยมด้วยหรรษทาน สันตะปาปาปีโอที่ 9 ทรงประกาศเป็นข้อความเชื่อในสมณสาสน์ Ineffabilis Deus เมื่อวัน
ทำไมชาวคาทอลิกจึงเชื่อว่าพระนางมารีย์ทรงเป็นพรหมจารีเสมอ
mary01การเป็นพรหมจารีมีสามลักษณะ คือ การเป็นพรหมจารีเมื่อปฏิสนธิ ตอนให้กำเนิด และการเป็นพรหมจารีเสมอตลอดกาล ชาวคาทอลิกเชื่อว่าพระแม่มารีย์ทรงเป็นพรหมจารีก่อนให้กำเนิดพระคริสตเจ้า ในขณะพระคริสตเจ้าทรงบังเกิด และหลังจากนั้นด้วย ในอีกแง่หนึ่งก็คือ พระนางทรงเป็นพรหมจารีเสมอ
มีข้อมูลชัดเจนจากพระคัมภีร์ เรื่องการเป็นพรหมจารีในขณะปฏิสนธิพระเยซูเจ้า ในการเล่าเรื่องการปฏิสนธินั้น ทั้งนักบุญมัทธิวและนักบุญลูกา ได้เล่าว่าพระเยซูเจ้าทรงปฏิสนธิ “ด้วยเดชะพระจิต” อย่างที่เราสวดกันในบทข้าพเจ้าเชื่อ และมิใช่โดยทางการมีสัมพันธ์กับมนุษย์ นักบุญมัทธิวกล่าวไว้ชัดเจนในเรื่องนี้ “พระมารดาของพระองค์หมั้นกับโยเซฟ แต่ก่อนที่ท่านทั้งสองจะครองชีวิตร่วมกัน ปรากฏว่าพระนางตั้งครรภ์แล้วเดชะพระจิตเจ้า” (มธ 1:18)
นักบุญลูกากล่าวย้ำเรื่องนี้ว่า ตั้งแต่พระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระนางมารีย์ บุตรในครรภ์ของพระนางทรงมีพระบิดาเจ้าสวรรค์พระองค์เดียวเท่านั้น ดังนั้น “พระองค์จึงได้รับนามว่าบุตรของพระเจ้า” ในการกล่าวถึงบรรพบุรุษของพระคริสตเจ้านั้น นักบุญลูกาบ่งชี้ว่า พระเยซูเจ้าถูกถือว่าเป็นบุตรของโยเซฟ “เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเริ่มเทศนาสั่งสอนนั้น มีพระชนมายุราวสามสิบพรรษา คนทั่วไปคิดว่า พระองค์ทรงเป็นบุตรของโยเซฟ” (ลก 3:23)
ดังนั้น พระวรสารต่างก็ยืนยันไว้ชัดเจนว่า พระเยซูเจ้าทรงปฎิสนธิโดยพระอานุภาพโดยตรงของพระเจ้าและถือว่าเป็นอัศจรรย์ที่อยู่นอกกระบวนการปกติ และพระนางมารีย์ยังคงเป็นพรหมจารี ดังที่ทูตสวรรค์กาเบรียลกล่าวยืนยันกับพระนางว่า “ไม่มีสิ่งใดที่พระเจ้าจะทรงกระทำไม่ได้” (ลก 1:37)
นักบุญมัทธิวยังอ้างถึงคำทำนายของประกาศกอิสยาห์ (อสย 7:14) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันถึงเรื่องการเป็นพรหมจารีในขณะปฏิสนธิและในขณะให้กำเนิด “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพื่อพระดำรัสขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ตรัสผ่านประกาศกจะเป็นจริงว่า “หญิงพรหมจารีจะตั้งครรภ์และจะคลอดบุตรชาย ซึ่งจะได้รับนามว่า อิมมานูเอล” (มธ 1:22-23) ไม่ว่านักวิชาการทางด้านพระคัมภีร์จะตีความเรื่องนี้อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือ ถ้อยความตอนนี้นักบุญมัทธิวต้องการบอกบรรดาผู้อ่านพระคัมภีร์ให้ทราบว่าพระนางมารีย์ยังคงเป็นพรหมจารีทั้งในขณะปฏิสนธิพระบุตรและขณะให้กำเนิดพระองค์
ในเรื่องพรหมจารีเสมอตอลดกาลของพระนางมารีย์นั้น ถึงแม้เอเสเคียล 44:2 บอกไว้ว่า “ประตูนี้ปิดอยู่เรื่อยไป อย่าให้เปิดและไม่ให้ใครเข้าไปทางนี้ เพราะพระยาห์เวห์พระเจ้าแห่งอิสราเอลได้เสด็จเข้าไปทางนี้ เพราะฉะนั้นจึงให้ปิดไว้” นักวิชาการและนักเทววิทยายุคกลางบางท่านตีความให้การสนับสนุนเรื่องพรหมจารีเสมอของ พระนางมารีย์ ธรรมประเพณีคริสตังยืนยันเรื่องนี้กับเรา ยิ่งกว่านั้นเราจึงพึงสังเกตว่า ไม่มีข้ออ้างจากพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึงพี่น้องชายหญิงของพระเยซูเจ้าโดยที่พระแม่มารีย์มีลูกคนอื่นๆ เนื่องจากว่าเป็นแค่ญาติพี่น้องหรือญาติสนิท
ธรรมประเพณีเรื่องความเป็นพรหมาจารีของพระนางมารีย์นั้นมีมาแต่ยุคแรกๆ นักบุญอิกญาซีโอแห่งอันทิโอก ตั้งแต่ศตวรรษแรกนั่นเอง (ท่านสิ้นใจที่กรุงโรม ค.ศ. 107) ในจดหมายของท่านถึงชาวสมีร์นา กล่าวไว้ว่า พระเยซูเจ้า “ทรงบังเกิดจากหญิงพรหมจารีผู้หนึ่งอย่างแท้จริง” ดังนั้นจึงยืนยันถึงการปฏิสนธิโดยที่ยังทรงเป็นพรหมจารีและให้กำเนิดโดยที่ยังทรงเป็นพรหมจารี นี้คือหลักฐานเด่นชัดจากธรรมประเพณีตั้งแต่ยุคแรก คำยืนยันของปิตาจารย์เรื่องพรหมจารีของพระนางมารีย์นั้นยังมั่นคงอยู่ตลอดมา และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของสัตบุรุษตั้งแต่สมัยแรกๆ เราสามารถสรุปความเชื่อนี้ได้จากคำกล่าวของนักบุญออกัสติน (ค.ศ. 354-430) “พระนางทรงปฏิสนธิโดยยังทรงเป็นพรหมจารี พระนางทรงให้กำเนิดโดยยังเป็นพรหมจารี จากนั้นไม่นานความเชื่อตามธรรมประเพณีเช่นนี้ของพระศาสนจักรก็เป็นที่ยอมรับโดยเอกฉันท์จากสภาสังคายนาแห่ง คัลเซดอน (ค.ศ. 451)
ถ้อยคำ “พรหมจารีเสมอ” ที่เกี่ยวกับพระนางมารีย์นั้นใช้กันโดยทั่วไปในพระศาสนจักรมาตั้งแต่ศตวรรษแรกๆ ในศตวรรษที่ 4 นักบุญเอปีฟานิอุส (ค.ศ. 315-403) ได้นำเสนอในบทข้าพเจ้าเชื่อแห่งนิเชตามสำนวนของตะวันออก สังคายนาวาติกันที่ 2 ยืนยันเรื่องนี้ในถ้อยคำในบทขอบพระคุณในมิสซาโรมัน “พระนางมารีย์ผู้ทรงศรีพรหมจารีเสมอพระชนนีของพระเจ้า และพระเยซูคริสตเจ้า” (พระ-ศาสนจักร 52) ถ้อยคำดังกล่าวนี้ใช้อยู่บทขอบพระคุณแบบที่ 1…